รีเซต

ไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศ ได้รับผลกระทบจากอากาศรุนแรงช่วง 20 ปีที่แล้ว

ไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศ ได้รับผลกระทบจากอากาศรุนแรงช่วง 20 ปีที่แล้ว
TNN ช่อง16
24 ตุลาคม 2564 ( 20:18 )
61
ไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศ ได้รับผลกระทบจากอากาศรุนแรงช่วง 20 ปีที่แล้ว

วันนี้ (24 ต.ค.64) ในขณะที่ เหล่าผู้นำโลกเตรียมพบปะกันที่เมืองกลาสโกว์ของสกอตแลนด์ในการประชุม COP 26 ในวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายนนี้ เพื่อหารือถึงมาตรการจัดการต่อปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงและผลกระทบนั้น  

ดัชนีความเสี่ยงด้านภูมิอากาศโลก 2021 ของกลุ่มนักวิจัย Germanwatch องค์กรไม่แสวงหากำไรของเยอรมนี ระบุว่า พายุมีความรุนแรงมากขึ้น ได้กระหน่ำผู้คน และเศรษฐกิจอย่างหนัก สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งมี 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศรุนแรงสุดขั้ว

โดยเฉพาะเปอร์โตริโก และเมียนมา ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศเลวร้ายมากที่สุด ตั้งแต่ปี 2000 ถึง 2019 ตามมาด้วยเฮติ ฟิลิปปินส์ โมซัมบิก บาฮามาส บังกลาเทศ ปากีสถาน ไทย และเนปาล

ขณะที่ โมซัมบิก และซิมบับเว ติดอันดับประเทศที่เผชิญสภาพอากาศรุนแรงสุดขั้วเมื่อปี 2019 จากพายุไซโคลนอิดาอี ที่ก่อตัวทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรอินเดีย

Germanwatch ระบุว่า พายุและผลกระทบจากพายุ เช่น ลมกระโชกแรง ฝนตกหนัก น้ำท่วม และดินถล่ม เป็นสาเหตุหลักที่สร้างความเสียหายเมื่อปี 2019 นอกจากนี้ 6 ใน 10 ประเทศยังเผชิญพายุไซโคลนพัดกระหน่ำอย่างหนัก

ด้าน บาฮามาส ประเทศหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน ติด 1 ใน 10 เนื่องจากได้รับความเสียหายอย่างมากจากเฮอริเคนดอเรียน ส่วนสหรัฐฯ ไม่ติด 1 ใน 10 เพราะเกิดปัญหาทางข้อมูล

อย่างไรก็ตาม Germanwatch รายงานว่า จากการวิจัยเมื่อไม่นานนี้ พบว่า จำนวนพายุไซโคลนที่มีความรุนแรงจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น และเมื่อปี 2020 เป็นหนึ่งในสามปีที่มีความร้อนมากที่สุด และอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 1.2 องศาเซลเซียส สูงกว่าช่วงก่อนอุตสาหกรรม

ภาพจาก Reuters

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง