สวัสดีท่านผู้อ่าน ผมจะมาแชร์ประสบการณ์ตรงของผมเกี่ยวกับการสัมภาษณ์งาน ซึ่งก็เป็นเทคนิค ที่ผมนำมาใช้กับตัวเองแล้วได้ผลที่ดีในการสัมภาษณ์งานครับ แต่เส้นทางการสัมภาษณ์งานที่ผ่านมาก็ไม่ได้ง่ายนะครับ มีเหตุผลอื่นบ้างเข้ามาแทรกหรือบางครั้งเพราะผมเองก็ไม่มีความพร้อมเพียงพอ ทำให้พลาดงานบางแห่งไป ก็ได้แต่เอาประสบการณ์มาเล่าให้กันฟังผมมีประสบการณ์ทำงานมาหลายปีอยู่ครับ เคยสัมภาษณ์งานมามากมายหลายที่ บางครั้งก็ทำงานที่เดิมดีๆอยู่ แต่อยากเข้าสัมภาษณ์ที่ใหม่เฉยๆ เพราะอยากรู้ทิศทางว่า องค์กรอื่นเข้าต้องการคนแบบไหน เพื่อให้ตัวเองไม่ตกเทรนด์ เป็นอย่างนี้จริงๆ ไม่พูดเล่น แต่เนื้อหาในบทนี้ ผมจะแนะนำในส่วนของผู้ผ่านงานที่อื่นมาแล้ว แล้วเปลี่ยนงานใหม่ ไม่ใช่เด็กจบใหม่ เพราะเด็กจบใหม่นั้น การที่บริษัทจะรับเข้าทำงานมีปัจจัยหลายๆอย่างค่อนข้างเยอะครับ บางครั้งก็รับง่าย บางครั้งว่าเราไม่มีประสบการณ์ บางครั้งทำตามคำแนะนำ ตามผู้รู้บอกแล้ว ก็ยังตกงานอยู่ดี แต่หากน้องๆ จบใหม่เข้ามาอ่าน ผมว่าบางอย่างก็นำไปประยุกต์ใช้ได้ครับ ผมเป็นพนักงานบริษัทเอกชน เคยเป็นทั้งผู้สัมภาษณ์รับคนเข้าทำงาน และก็เคยเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์อยู่บ่อย การเปลี่ยนย้ายงานเกิดขึ้นกับเราได้เสมอ หากมีเหตุให้เปลี่ยน ผมว่าหากเราได้ศึกษาเทคนิคต่างๆ จากหลายๆแหล่ง หรือเอาคำแนะนำของผมไปลองทบทวน ปรับใช้ เพื่อสักวันหนึ่งเราอาจมีความคิดจะเปลี่ยนงาน ลองอ่านดูนะครับสิ่งที่แต่ละองค์กรต้องการและคาดหวังกับผู้สมัครที่มีประสบการณ์มาแล้วต้องการ คนมีความรู้ในงานที่เคยทำและจะทำคาดหวัง ให้ผู้สมัคร มีวุฒิภาวะเพราะคนที่ผ่านเงินมาแล้วก็เป็นผู้ใหญ่ขึ้น วุฒิภาวะ การควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ ที่เด็ดเดี่ยวมั่นใจ แก้สถานการณ์เฉพาะหน้าได้ครับคาดหวังว่า เราจะมีทักษะอื่นๆ เป็นของแถมมาด้วย อาจจะพูดภาษาได้ หรือเก่งการใช้โปรแกรม หรือการนำเสนองานคาดหวังว่าจากประสบการณ์ของเรา ที่ผ่านงานมาหลายที่ จะมีของดีให้กับเขาบ้าง เช่นเปรียบเทียบได้ หากที่เก่ามีของดีกว่า ที่ใหม่เขาก็อยากรู้คาดหวังว่าเราจะเรียนรู้งานเร็ว มาถึงทำงานได้เลย เพราะเขาก็ขาดคนจริงเปิดรับสมัครคำแนะนำเทคนิคการสัมภาษณ์มารยาทขั้นพื้นฐานคือสิ่งแรกสุด ผมว่าสิ่งนี้ เป็นการคัดกรองคนเลย บางที่สัมภาษณ์อาจจริงจังเรื่องนี้มาก เพราะตำแหน่งเรา สัมพันธ์กับลูกค้า บางองค์กรอาจไม่ได้จริงจัง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะลืมพื้นฐานทางสังคมไป เช่นการให้เกียรติและความเคารพซึ่งกันและกัน การไม่พูดแทรก และการรับฟังในซึ่งที่คนอื่นพูดการแต่งตัวที่สมวัย สมหน้าที่ ถูกกาลเทศะ แน่นอนว่าถ้าอ่านคำแนะนำจากที่อื่นเขาจะบอกว่าต้องสะอาด เรียบร้อย ดูดี เป็น First Impression แต่ที่ผมจะแนะนำ คือให้ถูกกาลเทศะ ถูกที่ถูกเวลา เพราะแต่ละองค์แต่ละงาน อาจต้องการคนไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นพนักงานขาย หรือหน้าที่ติดต่อสัมพันธ์ คุณควรเป๊ะเลย บางที่ต้องการคนทำงานสายลุย การแต่งตัวต้องทะมัดทะแมง บางที่อาจต้องการการแต่งตัวที่เก๋ไก๋ มีสไตล์ เช่น วงการนักออกแบบ เพราะเขาอยากเห็น ไอเดียของคุณควรรู้พื้นฐานองค์กรและงานที่สมัครเข้ามา อย่างน้อย 70% เลย อีก 30% เก็บไว้เป็นคำถามท้ายสัมภาษณ์ อันนี้อาจเป็นหลักการที่ผมถือมาตลอด ต้องรู้พื้นฐานว่าบริษัทที่เราไปสัมภาษณ์ อะไรคือสินค้าและบริการอย่างไร ควรรู้ด้วยซ้ำว่าผลิตได้อย่างไร และงานที่เราไปทำที่แผนกก็ควรรู้ครับ เดี๋ยวนี้ความรู้สามารถหาได้ในอินเทอร์เน็ต หาไม่เจอเป็นภาษาไทย ก็หาเป็นภาษาอังกฤษ รู้เขารู้เราดีกว่าแน่นอน คอนเฟิร์มการแนะนำตัว ไม่ควรพูดในเชิงอวด แน่นอนคนเรามีความเก่งหลายระดับ หลายด้านไม่เหมือนกัน บางครั้งคนที่สัมภาษณ์เราอาจเก่งน้อยกว่าเรา หรืออาจเก่งมากกว่าเราหลายเท่าแต่วางตัวปกติ เราไม่ควรพูดอะไรทำนองเชิง ถ้าให้ผมแนะนำ เกี่ยวกับเรื่องการศึกษาก่อนเลย หากเขาไม่ถาม เราไม่จำเป็น ต้องบอกว่า จบจากที่ไหนมา หรือเราสมัครในตำแหน่งวุฒิ ปริญญาตรี อาจไม่ต้องพูดถึง ปริญญาโทหรือเอก ผมว่าเราสามารถบอกได้ปกติในฐานะที่เราภูมิใจ บอกแบบเนียนๆ ยกเว้นในกรณี ที่เราพยายามแทรกบทสนทนาประมาณนี้เข้าไปรายละเอียดงานเก่าต้องแน่น บทบาทและหน้าที่ บทบาทคือสิ่งที่เราได้รับมอบหมาย การตัดสินใจ ตำแหน่ง ส่วนหน้าที่ คืองานที่เราทำจริง ผมเคยมีประสบการณ์นะครับ เขาถามผมว่า ทำอะไรมาบ้าง ผมบอกว่าเป็นหัวหน้าแผก ควบคุมดูแลการทำงาน คอยรับคำปรึกษาเวลางานมีปัญหา แต่คนสัมภาษณ์ถามย้ำว่า งาน Routine ที่ผมต้องทำประจำวันทำอะไรบ้าง ผมตอบไม่ค่อยได้เท่าไหร่ เพราะเรียบเรียงไม่ดี ผมแนะนำให้เรา เตรียมคำตอบไว้เผื่อเลยครับ ไม่พูดเรื่องงานที่เคยทำเกินจริง เพราะจะโดนลองของ อันนี้แล้วแต่บางที่ที่สัมภาษณ์นะ ผมค่อนข้างจะระวังคำพูดในเรื่องนี้มาก ต้องทำการบ้านอย่างดี ผมยกตัวอย่างการพูดเกินจริงที่ผมเห็นในรายการโทรทัศน์หนึ่ง ผู้ร่วมรายการบอกว่าตัวเองพูดได้ 7 ภาษา พอดีที่พิธีกรพูดภาษาฝรั่งเศษได้เลยสนทนาด้วย ปรากฏว่า ผู้ร่วมรายการไม่สามารถตอบได้ ตรงนี้สำคัญ เพราะถ้าหากเราพลาดความน่าเชื่อถือของเราจะลดลงด้วยการตอบคำถามว่าทำไมออกจากที่เก่า ควรพูดความจริง ด้วยจริงใจ เหตุผลอาจเพราะใกล้บ้าน อยากก้าวหน้า เงินเดือนไม่พอ ผมว่าตอบได้ แต่ก็ควรเลี่ยงที่จะพูดถึงหัวหน้าเก่า เพื่อนร่วมงานเก่า หรือองค์ก่อนเก่าของเราในเชิงเสียหาย เพราะบางปัญหามีเหมือนกันเกือบทุกองค์กร เรามักไม่ถูกใจหัวหน้าเราทั้งหมดเป็นธรรมดา *อีกเรื่องเลยที่ผมเคยตอบไป คือ ผมตอบว่าที่เก่าทำงานไม่เป็นระบบ ผมได้ยินคนสำพลาดหัวเราะเบาๆ ว่าที่นี้ก็เหมือนกันการต่อรองเงินเดือน มักจะเป็นคำถามแรกในใบสมัคร และเป็นคำถามสุดท้ายว่า คุณอยากได้ที่เท่าไร ก่อนอื่นเราต้องประเมินว่าการที่เราจะได้อะไรจากเขา เราเองสามารถให้เขาได้เท่าไหร่ ถ้าเราให้เขามากกว่าเขาให้เราได้ ทุกที่ตาจะเป็นประกายอยากได้เราเลย แต่บางครั้งก็อาจมีปัจจัยหลายๆอย่างในการต่อรอง เทคนิคการต่อรองของผม ผมจะบอกตัวเลข2 ตัวเลข ที่เราคาดหวังว่าจะได้ ให้เหตุผลไปว่าเราอยากได้เท่านี้เพราะอะไร อีกตัวเลขคือ Minimum ถ้าน้อยกว่านั้นเราอาจแย่ ที่ผมมีประสบการณ์ บางบริษัท ก็ให้ตัวเลขที่เรา คาดหวัง เพื่อให้เรามีความสุขก่อนจะไปเจองานเครียด บางบริษัทก็ให้ เท่า minimum ที่เราบอก บางที่ ก็ว่าต้องสูงไปขอไม่รับ ผมอยากให้เราตั้งตัวเลขดีๆ ครับ เพราะหากเราได้รับน้อยกว่าที่เราคาดหวังมากเกินไป คงไม่มีความสุขควรมีการซักถามผู้สัมภาษณ์ ไม่มากไปไม่น้อยไปแต่ควรมี เพราะเขามักจะถามเราตอนปิดท้ายเสมอ ว่ามีอะไรสงสัยไหม เราควรมี เพื่อสอบถามรายละเอียดที่ยังไม่ครบถ้วนและเป็นการแสดงให้รู้ด้วยว่าเราสนใจฟังเขาอยู่ตลอด เรื่องสำคัญก็คือรายละเอียดของงานครับ หรือให้ดี ผมจะบอกผู้สัมภาษณ์ว่า ผมอยากได้คำแนะนำ ว่าควรศึกษาหรือทบทวนอะไรเพิ่มก่อนเริ่มงานไหม (ผมทำเหมือนว่าได้งานแล้ว) โดยสรุปผมว่าบทความนี้คงพอจะเป็นแนวทางได้บ้าง ผู้อ่านต้องวิเคราะห์นะครับ ว่าผมพูดถูกไหม เพราะมันเป็นเทคนิค และนำไปปรับใช้ ให้เป็นตัวของตัวเอง เรื่องการสัมภาษณ์ไม่มีสูตรตายตัวครับ เราใช้คน สัมภาษณ์คน มันเกิดความ ประทับใจ ไม่ประทับใจ ชอบเหมือนกัน คิดสวนทางกัน บุคลิก ใจคนสามารถเอนอียงได้ บางครั้งถูกใจใช่เลย ก็มี สำหรับใครที่เข้ามาอ่านบทความนี้เพื่อเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ผมขออวยพรให้ประสบความสำเร็จนะครับ เครดิตภาพภาพหน้าปกใช้ภาพประกอบ : Lwcy / Pixabay และตกแต่งโดย ผู้เขียน / Canvaภาพที่ 1: tunaolger / Pixabayภาพที่ 2: StartupStockPhotos / Pixabayภาพที่ 3: RAEng_Publications / Pixabayภาพที่ 4: petkation / Pixabayภาพที่ 5: 089photoshootings / Pixabayเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !