ภาษาไพทอน เป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย Guido Van Rossum โปรแกรมเมอร์ชาวดัตซ์ ในช่วงปี 1990 โดยมีจุดเด่น คือ ความง่ายต่อการเรียนรู้ เนื่องจากมีโครงสร้างคำสั่งที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย มีความใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ จึงเป็นภาษาในการเขียนโปรแกรมยุคใหม่ที่ถูกแนะนำให้ใช้เป็นภาษาแรกสำหรับการเรียนเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ภาษาไพทอนยังถูกนำไปต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ในการเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับงานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) การพัฒนาโปรแกรมสำหรับสมองกลฝังตัว (Embedded system) เพื่อใช้ในงานด้าน IoT และการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) อีกด้วย เมื่อเราตกลงปลงใจแล้วว่าจะเริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน เราก็คงต้องเริ่มจากการมองหาเครื่องมือสำหรับการเขียนโปรแกรม หรือ IDE (Integrated Development Environment) สักอันที่ใช้งานได้ง่ายๆ มาติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ของเรากันก่อนนะครับ มาดูกันว่า IDE ที่นักพัฒนานิยมใช้ มีอะไรกันบ้าง....เครื่องมือสำหรับฝึกเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนPython IDLE เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับฝึกเขียนโปรแกรมของ Python.org ซึ่งจะทำงานแบบเชลล์ (Shell)โดยรับคำสั่งได้ครั้งละ 1 บรรทัด แต่ถ้าผู้ใช้ต้องการเขียนโปรแกรมมากกว่า 1 บรรทัด สามารถทำได้โดยเลือกเมนู File > New File เพื่อสร้างเอกสาร .py ในการเก็บคำสั่ง และเลือกเมนู Run > Run Module เพื่อทดสอบการทำงานPyCharm เป็น IDE สำหรับการเขียนโปรแกรมภาษา Python สำหรับมืออาชีพที่มีเครื่องมือต่างๆ อย่างครบครัน พัฒนาโดย JetBrains แบ่งออกเป็น 2 เวอร์ชัน คือ Professional [มีค่าใช้จ่าย] และ Community [ฟรี] MU Editor เป็นเครื่องมืออย่างง่ายสำหรับการฝึกเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน แต่โดดเด่นในเรื่องการพัฒนาโปรแกรมด้วย MicroPython สำหรับสมองกลฝังตัว (Embedded system) อย่างเช่น BBC micro:bit, Raspberry Pi หรือบอร์ด ESP8266/ESP32Replit เป็นเครื่องมือสำหรับการเขียนโปรแกรมแบบออนไลน์ซึ่งทำงานผ่านเว็บเบราเซอร์ รวมทั้งยังมีแอปบน iPad หรือ Smartphone และสามารถรองรับการเขียนคำสั่งได้มากกว่า 50 ภาษา แถมยังสามารถใช้ Ghostwriter ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์ในการช่วยเขียนโค้ดตามคำสั่งได้อีกด้วยVisual Studio Code เป็นเครื่องมือสำหรับเขียนโปรแกรมที่รองรับคำสั่งได้หลากหลายภาษา ซึ่งถูกพัฒนาโดยไมโครซอฟต์ มีความสามารถในการทำ Auto Complete ซึ่งช่วยให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็ว มีความสามารถในการทำ Version Control ร่วมกับ Git แบบ Built-in นอกจากนี้ยังมี Extension ให้ดาวน์โหลดเพิ่มเติมอีกมากมาย เริ่มต้นเขียนโปรแกรมด้วย Replitเอาละ! คราวนี้ก็มาเลือกเครื่องมือสำหรับการเขียนโปรแกรมกันดีกว่า ในเบื้องต้นเพื่อความง่ายและสะดวกต่อการเรียนรู้ ผู้เขียนจะขอเลือกใช้ Replit (อ่านว่า รี-พลิท) เป็นเครื่องมือในการสาธิตการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน เนื่องจากสามารถใช้งานได้ทันทีผ่านเว็บเบราว์เซอร์โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมลงบนเครื่องของผู้ใช้ รวมทั้งยังสามารถใช้แอปบน iPad และ Smartphone เพื่อฝึกเขียนโปรแกรมได้อีกด้วยเราสามารถสมัครเพื่อใช้ Replit ได้ที่เว็บไซต์ https://replit.com/เมื่อเปิดเว็บไซต์แล้วให้คลิกที่ ปุ่ม Sign Up กรอก Username, Email และ Password ที่ต้องการแล้วกดปุ่ม + Create Account หรือคลิกเลือกการล็อกอินด้วยบัญชีผู้ใช้ Google, Facebook หรือ AppleIDระบุระดับความสามารถในการเขียนโปรแกรมของเรา อาจเลือกเป็น Not at all หรือ Beginner สำหรับผู้เริ่มต้นเรียนเขียนโปรแกรม หลังจากนั้นระบบจะถามว่าต้องการเริ่มต้นใช้งานด้วย Tutorial หรือไม่ เลือกเป็น No, I got this. เมื่อสมัครสมาชิกเพื่อเปิดบัญชีผู้ใช้งานเรียบร้อยแล้ว เราก็พร้อมที่จะสร้างไฟล์สำหรับการฝึกเขียนโปรแกรมแล้วครับคลิกที่ My Repls เพื่อเข้าสู่พื้นที่จัดเก็บไฟล์คลิกที่ ปุ่ม + Create your first Repl เพื่อสร้างไฟล์ใหม่เลือก Template เป็น Pythonตั้งชื่อไฟล์เป็น MyFirstStepWithPythonคลิกที่ + Create Replทดลองสร้างคำสั่ง print("Hello World") และกด ปุ่ม Run แนวปฏิบัติที่ดีในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน การใช้เครื่องหมาย # ในการสร้าง Comment เพื่อการอธิบายเกี่ยวกับคำสั่งและโปรแกรมการแบ่งพื้นที่ในการเขียนโปรแกรมออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและการแก้ไขโปรแกรม โดยเราจะแบ่งพื้นที่ในการเขียนโปรแกรมออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ส่วนหัว (Header) เป็นส่วนที่โปรแกรมเมอร์ใช้ในการเขียนวัตถุประสงค์หรือคำอธิบายการทำงานของโปรแกรม รวมทั้งการ Import โมดูลต่างๆ เข้ามาใช้งานในโปรแกรมส่วนสำหรับประกาศฟังก์ชัน (Function Definition) เป็นส่วนของการสร้างฟังก์ชันซึ่งจะถูกเรียกใช้ในโปรแกรมส่วนการทำงานหลัก (Main Program) เป็นส่วนของอัลกอริทึมหลักที่ควบคุมการทำงานของโปรแกรม ภาษาไพทอนให้ความสำคัญกับการจัดย่อหน้า (Indentation) เพื่อกำหนดขอบเขตของคำสั่งต่างๆ การตั้งชื่อตัวแปรในภาษาไพทอนตัวอักษรตัวแรกต้องเป็นภาษาอังกฤษ หรือ _ ตามด้วยตัวอักษรหรือตัวเลขใดๆ เช่น full_name, Pi, s1_score หรือ _name เป็นต้นชื่อตัวแปรห้ามมีช่องว่าง จุดทศนิยม หรือสัญลักษณ์พิเศษ เช่น !, @, #, $, %, ^, &, *, (, ), -, +, =, , |, ~การตั้งชื่อตัวแปรด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กมีความแตกต่างกัน (Case-Sensitive) เช่น Fullname กับ fullname ถือว่าเป็นตัวแปรคนละตัวกันห้ามใช้คำสงวนในการตั้งชื่อตัวแปร เช่น and, def, finally, in or while, as, del, for, is, pass, with, assert, elif, from, lambda, raise, yield, break, else, global, none, return, class, except, if, nonlocal, true, continue, false, import, not และ tryควรตั้งชื่อตัวแปรให้สื่อความหมาย และมีความยาวไม่เกิน 255 ตัวอักษร ชนิดของข้อมูลพื้นฐานที่ควรรู้จักในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน ประกอบด้วยstring คือ ข้อมูลประเภทข้อความ เช่น "ก", "สวัสดีครับ" เป็นต้นint คือ ข้อมูลประเภทจำนวนเต็ม เช่น 10, -34, 200 เป็นต้นfloat คือ ข้อมูลประเภทจำนวนทศนิยม เช่น 3.14, -5.75 เป็นต้นboolean คือ ข้อมูลประเภท True หรือ Falseโดยตัวแปรต่างๆ นั้น จะถูกใช้เพื่อการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการประมวลผลข้อมูลในโปรแกรมของเรา ตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลของสมาชิกในชมรม เพื่อจะนำไปใช้ในโปรแกรม เราก็จะทำได้โดยการตัวแปรต่างๆ เพื่อเก็บรายละเอียดของสมาชิก เหมือนกับในรูปภาพด้านล่างนี้ครับ มาถึงตอนนี้ ผมก็จะขอให้ผู้อ่านลองใช้ Replit เพื่อพิมพ์คำสั่งตามบรรทัดที่ 1 - 11 ซึ่งอยู่ทางขวามือของรูปภาพข้างบนได้เลยนะครับ โดยจะขอให้สังเกตเกี่ยวกับวิธีการตั้งชื่อตัวแปร และ การกำหนดค่าต่างๆ ลงไปจัดเก็บในตัวแปรแต่ละตัวด้วยนะครับ จะเห็นได้ว่าตัวแปรประเภท string ได้แก่ name, date_of_birth, gender และ occupationตัวแปรประเภท integer ได้แก่ salaryตัวแปรประเภท float ได้แก่ weight และ heightตัวแปรประเภท boolean ได้แก่ status_of_membershipมาถึงตอนนี้ ทุกท่านก็คงสามารถตั้งชื่อและสร้างตัวแปรเพื่อการจัดเก็บข้อมูลลงในโปรแกรมได้เรียบร้อยแล้วนะครับในตอนถัดไป เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับการนำตัวแปรไปใช้งาน โดยการใช้ตัวดำเนินการต่างๆ กันนะครับก่อนจากกันในวันนี้ ขอให้ผู้อ่านสร้าง Folder ชื่อ Python Programming ขึ้นมาที่ My Repls เพื่อใช้เก็บไฟล์ของโครงการต่างๆ จากการฝึกเขียนโปรแกรมไว้ด้วยนะครับโดยการสร้าง Folder ทำได้ดังนี้เลือก เมนู My Repls จาก Side Menu ด้านซ้ายมือคลิกที่ ปุ่ม New Folder และตั้งชื่อโฟลเดอร์ว่า Python Programming แล้วกด ปุ่ม Create Folderคลิก ... ที่อยู่มุมบนขวาของโครงการชื่อ MyFirstStepWithPython แล้วเลือก คำสั่ง Moveดับเบิลคลิกที่โฟลเดอร์ชื่อ Python Programming และกด ปุ่ม Move Repl การเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน ตอนที่ 1 ก็ขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับพบกันใหม่ตอนหน้าในเรื่อง "ตัวแปรและตัวดำเนินการ" นะครับ เครดิตรูปภาพภาพปก ออกแบบโดยผู้เขียนจาก canva , ภาพโปรแกรมเมอร์ โดย Nainizul , ภาพโลโก้ โดย pythonภาพที่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,13 จาก Screenshot ภาพหน้าจอของผู้เขียนภาพที่ 12 จากเอกสารประกอบการสอนในรายวิชา การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน โดยผู้เขียนเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !