ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ได้ให้บทเรียนกับมนุษย์ทั่วโลกไว้หลายอย่าง แต่ก็ได้ทลายข้อจำกัดไปพร้อมกัน จากเดิมที่ต้องเอาพาร์ติชันมากั้นโต๊ะทำงานเพื่อจะได้จดจ่อกับงานตรงหน้า ตอนนี้เราอยู่บ้านเพื่อจะได้ตั้งใจทำงานในห้องของเราอย่างเงียบๆโดยไม่มีใครมารบกวน จากที่ต้องรอหัวหน้าเซ็นต์เอกสารเป็นวันๆ ทุกวันนี้ e-signature และการส่งไฟล์ออนไลน์ช่วยให้เราแปะลายเซ้นต์แล้วส่งเอกสารให้คนอื่นพร้อมๆกันได้แทบจะทันทีที่เขาส่งไฟล์มา แต่เบื้องหลังการทำงานอันแสนสบายนี้ คุณรู้หรือเปล่าว่ากำลังช่วยลดค่าใช้จ่ายของตัวเองและมลพิษที่ปล่อยสู่โลกที่เรารักไปพร้อมๆกันเมื่อเรา Work from Home การเดินทางที่ต้องไปออฟฟิศทุกวันก็หายไป ไม่ใช่แค่ประหยัดค่าเดินทางที่เฉลี่ยอยู่ที่ 179,000 บาทต่อปีหากใช้รถส่วนตัว นอกจากนี้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่รถปล่อยออกมาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.18kg CO2/km สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล ด้วยระยะเดินทางเฉลี่ยที่ 22.53 km และเวลาเดินทางเฉลี่ยที่ 54.62 นาที หากเราประมาณว่ารถ 1 คันมีผู้โดยสาร 4 คนเดินทางด้วยกัน หมายความว่าแต่ละคนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ที่คนละ 1.01 kg CO2/วัน จินตนาการนะครับว่าประชากรกรุงเทพ 5,701,394 คน 60% ของคนเหล่านี้ใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือ 3,420,836 คนที่เลือกใช้รถยนต์ส่วนตัวทุกวัน เมื่อเราใช้เงื่อนไขเดียวกันกับตัวอย่างข้างบน แค่วันเดียวกรุงเทพก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 3,375,144 kg CO2/วัน หรือคิดเป็น 1.2319 MTon CO2/วัน แล้วมันมากขนาดไหน มันมากขนาดที่น้ำตาลถุง 1 กิโลกรัมที่เราไปซื้อตามร้านสะดวกซื้อ จำนวน 1,140,648 ถุง จะปล่อย CO2 ออกมาได้ นอกจากคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงแล้ว คุณภาพอากาศก็ดีขึ้นด้วย เพราะเขม่าควันจากรถก็ลดน้อยลงเช่นกันเมื่อเราทำ Remote work การใช้กระดาษก็ลดลง คนไทยใช้กระดาษเฉลี่ยปีละ 3.9 ล้านตัน หรือ คนละประมาณ 60 กิโลกรัมต่อปี ลองคิดดูว่าเราไปทำงานออฟฟิศจาก 5 วัน เหลือ 1 วันแล้วที่เหลือไม่ใช้กระดาษเลย เป็นไปได้ที่จำนวนใช้กระดาษเฉลี่ยจะเหลือแค่ 12 กิโลกรัมต่อปี และช่วยลดเวลาในการส่งเอกสารแบบเดิมมาเป็นการส่งออนไลน์ที่รวดเร็วมากขึ้น แก้ไขได้สะดวกขึ้น และติดตามได้สะดวกขึ้น ยกตัวอย่างฟีเจอร์ Track Changes ใน Microsoft word ที่เมื่อเราเปิดแล้วก็สามารถดูได้ว่าเอกสารถูกแก้ไขไปอย่างไร ใครแก้ไปบ้าง แล้วเราอยากเสนอความเห็นให้ปรับปรุงส่วนไหนของเอกสารก็ทำได้สะดวก จาก Work Hard, Work Physical ก็กลายเป็น Work smart, Work Paperless แค่เปลี่ยนรูปแบบการทำงานมาถึงจุดนี้แล้ว Work from Home ก็ฟังดูจะรักษ์โลกแต่เราต้องแลกไปกับอะไรบ้าง ตอนที่ทำงานในออฟฟิศ เราใช้ไฟฟ้าภายในออฟฟิศเป็นหลัก เครื่องปรับอากาศสำหรับประเทศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อเราต้องยกค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาที่บ้าน ภาระค่าไฟฟ้าก็เพิ่มสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสเหมาะให้เรากลับมาให้ความสำคัญกับบ้านที่ตอนนี้เป็นมากกว่าที่อยู่อาศัยแต่กลายเป็นทั้งที่ทำงานและพักผ่อนไปพร้อมๆกันรู้สึกมั้ยครับว่าค่าไฟที่บ้านเพิ่มขึ้นมากเมื่อเปลี่ยนมา Work from home ข้อมูลจาก MEA กล่าวว่าในปี 2019 บ้านพักและที่อยู่อาศัยมีผู้ใช้ไฟฟ้าจาก 3,341,727 ราย ในปี 2019 เพิ่มเป็น 3,654,363 รายในปี 2020 หรือเพิ่มมา 9.36% ในปีเดียวสำหรับครัวเรือนแล้วสาเหตุหลักที่ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมีสาเหตุใหญ่ๆ 2 ประการ หากไม่นับการปรับขึ้นของค่า FT ที่สูงขึ้นพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้นเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดหรือเสื่อมสภาพจนเกิดไฟรั่วหากเป็นกรณีนี้นอกจากเราจะจ่ายค่าไฟส่วนเกินโดยไม่รู้ตัวแล้ว ยังทำให้เกิดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินด้วย แต่เราจะรู้ความเสี่ยงตรงนั้นได้ยังไง Smart home จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ"You can't manage what you can't measure" คำพูดของปีเตอร์ ดรักเกอร์ ที่ปรึกษาด้านการจัดการ และเป็นผู้บรรยายด้าน "นักนิเวศสังคม" เป็นแรงบันดาลใจให้ผมกลับมาให้ความสำคัญกับระบบ Smart home รวมถึงนวัตกรรมต่างๆที่ทำให้บ้านประหยัดพลังงาน ทุกครั้งที่ผมกลับบ้านค่าไฟจะสูงขึ้นเสมอ ผมมักตั้งคำถามว่าตัวเองเป็นคนใช้ไฟเปลืองโดยสนใจแค่ว่าก็เปิดคอมทั้งวัน ค่าไฟจะขึ้นก็ไม่แปลก จนกระทั่งผมกลับมาหอพักที่กรุงเทพ และพบว่าค่าไฟของผมที่หารกับรูมเมท 4 คน ไม่เคยเกินคนละ 300 บาทต่อเดือนเลย ทั้งที่เราทุกคนเปิดคอมทั้งวันทั้งคืนเหมือนกัน เมื่อลองวัดการใช้ไฟที่บ้านดูจึงพบว่าความแตกต่างอยู่ที่ทุกคนในบ้านชอบเปิดแอร์ แลนะเมื่อผมมาอยู่ที่บ้าน กิจกรรมในบ้านก็เพิ่มขึ้น แอร์ก็เลยเปิดนานขึ้น เมื่อรู้ดังนั้นเราจึงพยายามทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น เช่น ไปเที่ยวร้านคาเฟ่แทนการคุยเล่นในบ้าน เป็นต้น จะเห็นว่าเราไม่มีทางแก้ปัญหาได้ถูกจุดเลยถ้าไม่ลองวัดค่าเพื่อหาสาเหตุของปัญหาเสียก่อนSmart home ไม่ได้แค่วัดการใช้พลังงานแต่ยังช่วยจัดการบ้านและอำนวยความสะดวกตลอดเวลาไม่ว่าเราจะอยู่บ้านหรือไม่ เรากลับบ้านมาเหนื่อยๆก็การได้แอร์เย็นๆพร้อมกับดูซีรีย์ที่ค้างไว้เพื่อผ่อนคลายโดย Smart home สามารถเตรียมแอร์เย็นๆให้คุณก่อนถึงบ้านครึ่งชั่วโมงและปิดลงกลางดึกในช่วงที่คุณไม่พร้อมสำหรับควบคุมบ้านทั้งหลัง แล้วมันรักษ์โลกขึ้นรึเปล่า มีงานวิจัย "Environmental saving potentials of a smart home system from a life cycle perspective: How green is the smart home?" ที่ชี้แจงว่าการประหยัดพลังงานสุทธิจะเริ่มเกิดก็ต่อเมื่อเราประหยัดพลังงานได้จากเดิม 6% ขึ้นไป ซึ่งจะเห็นได้ว่ายิ่งเราประหยัดพลังงานจากเดิมได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้มากเท่านั้น คิดดูว่าหากเราประหยัดได้ถึง 20% ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี เท่ากับบ้านเราลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 4000 kg CO2 เลยซึ่งถือว่าเยอะมากๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นกับตัวเราที่จะให้ความสำคัญกับการประหยัดไฟและหมั่นตรวจสอบแก้ไขพฤติกรรมหรืออุปกรณ์ต่างๆในบ้านหลังจากมีระบบ Smart home แล้วอย่างไรด้วย สุดท้ายผมก็สนับสนุน Hybrid work ในการทำงานในปัจจุบัน นอกจากจะช่วยปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้วยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของพนักงานและบริษัทไปพร้อมกันด้วย ทว่าการจะรักษาประสิทธิภาพการทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้ถือเป็นความท้าทายกับทั้งพนักงานและบริษัทต้องเผชิญ วัฒนธรรมองค์กรจะเข้ามามีบทบาทตรงนี้สูงมากและทำให้บริษัทต่างๆเริ่มหันมามองย้อนว่าแท้จริงแล้วคนในบริษัทของตนมีพฤติกรรมแบบไหน เราจะสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาขณะที่ทำงานที่บ้านรวมถึงมองว่าการมาออฟฟิศทุกครั้งมีความหมายได้อย่างไร สิ่งนี้เป็นประเด็นที่เป็นกำแพงอันใหม่สำหรับทุกองค์กรในการทำงานในอนาคตที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แต่องค์กรที่เข้าใจมันจะเลือกทางออกที่เหมาะสมกับพวกเขาออกมาได้อย่างแน่นอนอ้างอิงรูปภาพ 1 โดย Ian Harbor จาก Unsplash.comรูปภาพ 2 โดย การไฟฟ้านครหลวงรูปภาพ 3 และ ภาพประกอบหน้าปก โดย John Tekeridis จาก pexels.comรูปภาพ 4 โดย Mikey Harris, จาก Unsplash.com7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร