สังคีตกวีไทย 1)พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมพระองค์ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ เป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดามรกฎ ประสูติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ 2425 พระองค์ทรงสนพระทัยในดนตรีไทยมากถึงกับมีวงปี่พาทย์วงหนึ่งที่เรียกกันว่า วงพระองค์เพ็ญ และทรงพระนิพนธ์เพลงลาวดวงเดือนซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน สำหรับเพลงดาวดวงเดือนนี้พระองค์ทรงพระนิพนธ์โดยต้องการให้มีสำเนียงลาว เนื่องจากโบสถ์ทำนองและลีลาเพลงลาวดำเนินทราย ดังนั้นเมื่อคราวที่เสด็จตรวจราชการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างที่ประทับแรมอยู่ตามทางจึงทรงพระนิพนธ์เพลงลาวดำเนินเกวียน แต่ผู้ฟังไม่นิยมเรียกลาวดำเนินเกวียนจึงเรียกลาวดวงเดือนแทน 2)พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)มีพระนามเดิมว่า แปลภาษาศัพท์ เกิดเมื่อราวพ.ศ 2403 เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเรขาและหนังนิ่ม ท่านมีความสามารถและเชี่ยวชาญในด้านดนตรีทุกด้านทั้ง ดีด สี ตี เป่า แต่ถนัดที่สุดคือ ปี่ระนาดเอก เคยเดินทางไปที่ประเทศอังกฤษและได้รับคำชมเชยจากพระนางเจ้าวิกตอเรียพระบรมราชินีแห่งประเทศอังกฤษ ท่านแต่งเพลงที่ไพเราะและเป็นอมตะ เช่น เพลงพม่าห้าท่อน3ชั้น เขมรราชบุรี3ชั้น ธรณีร้องไห้3ชั้น ราคามันรันทด3ชั้น พราหมณ์เข้าโบสถ์3ชั้น ถอนสมอ เผา แขกเชิญเจ้า2ชั้น ลาวคำหอม ลาวดำเนินทราย2ชั้น3)พระประดิษฐ์ไพเราะ(มี ดุริยางกูร หรือครูมีแขก)บ้านเดิมอยู่ที่สุเหร่า เนื้อวัดอรุณราชวราราม ไม่ทราบวันเกิดที่แน่ชัด อยู่ในสมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 5 พระประดิษฐ์ไพเราะเป็นครูดนตรีมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 3 จนถึงรัชกาลที่ 4 ท่านเป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐ์ไพเราะเมื่อพ.ศ 2396 และต่อมาในปีเดียวกันก็ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระประดิษฐ์ไพเราะ ท่านเป็นต้นตำรับในการแต่งเพลงประเภทลูกล้อลูกขัด เช่น เพลงทยอยนอก ทยอยเขมร เชิดจีน จนได้รับสมญานามว่าเจ้าแห่งเพลงทยอย ท่านเป็นต้นตำรับการเดียวเครื่องดนตรีต่างๆท่านประดิษฐ์เป็นทางเดียวเช่นพญาโศก สารถี แขกมอญ ท่านเป็นผู้มีความสังเกตสนใจในสิ่งต่างๆที่ได้ยินได้ฟังสามารถนำมาคิดสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อย่างไพเราะ ขอบคุณภาพจาก pexels และ pixabay : ภาพปก / ภาพที่1 / ภาพที่2 / ภาพที่3