ขอบคุณภาพจาก:Pixabay.com สวัสดีค่ะคุณผู้อ่าน ในสภาวะการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19ทำให้หลายคนต้องหยุดอยู่บ้านหรือบางบริษัทก็มีมาตรการให้พนักงานwork from home หรือทำงานอยู่บ้านนั่นเองค่ะ เพื่อลดความเสี่ยงและอัตราในการติดเชื้อและในการดำรงชีวิตให้ห่างไกลจากโควิดก็ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโรคและกรมควบคุมโรคเพื่อห่างไกลและปลอดภัยจากไวรัสโควิด19ในขณะเดียวกันสถานการณ์แบบนี้ก็ทำให้หลายคนติดตามข่าวสารกันมากเพื่อที่จะระมัดระวังและเตรียมพร้อมรับมือ ขอบคุณภาพจาก:Pixabay.com การติดตามข่าวสารเป็นเรื่องที่ดีค่ะแต่การเสพข่าวมากเกินไปโดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย อาจจะทำเกิดความวิตกกังวลมากเกินไปจนนำไปสู่การเป็น"โรคแพนิค"โดยที่คุณไม่รู้ตัว ดังนั้นไอจังก็ขอแนะนำ"วิธีการดูแลใจให้ห่างไกลแพนิคในวิกฤติโควิด19"เพื่อให้ทุกคนได้ปรับใช้กันค่ะ โรคแพนิคคืออะไร?แล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร? ขอบคุณภาพจาก:Pixabay.com สำหรับโรคแพนิคก็คือโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งอยู่ในกลุ่มของโรควิตกกังวล โรคนี้มีหลายคนเป็นกันมากแต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยรู้ตัว โดยโรคแพนิคเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองทำให้ระบบประสาทอัติโนมัติทำงานผิดปกติ ซึ่งโรคนี้ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่เป็นทางการ แต่บางคนอาจเรียกโรคนี้ว่า "โรคตื่นตระหนก" หรือ"โรคประสาทลงหัวใจ"ค่ะ โรคนี้เกิดจากการมีการที่มีความวิตกมากเกินไปโดยเฉพาะยุคนี้ที่เป็นยุคโซเชียลมีเดียที่ข่าวสารไปไวการเสพสื่อมากเกินไปที่ทำให้เกิดความตื่นตระหนกก็ทำให้คนในสังคมเป็นแพนิคโดยไม่รู้ตัวนั่นเองค่ะ ขอบคุณภาพจาก:Pixabay.com แนวทางดูแลใจให้ห่างไกลแพนิคในวิกฤติโควิด19 เราได้ทำความรู้จักกับโรคแพนิคไปแล้วนะคะว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและเป็นอย่างไรโดยสรุปแล้ว ทีนี้ก็มาดูแนวทางในการดูแลสุขภาพจิตให้ห่างไกลจากแพนิคในภาวะการระบาดของโควิด19 ซึ่งมีดังนี้ 1. เสพข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติ ขอบคุณภาพจาก:Pixabay.com เมื่อคุณอยู่บ้านตลอดก็ย่อมมีโอกาสได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโควิด19ทั้งข่าวในไทยและในต่างประเทศ ในการเสพข่าวสารก็ควรมีสติโดยเฉพาะจากช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กเพราะช่องทางนี้บางทีก็มีทั้งแหล่งข่าวที่ทั้งเชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้ ข่าวสารบางอย่างอาจจะเป็นเฟคนิวส์หรือข่าวปลอมนั่นเองที่มีการป่วนให้ผู้คนเกิดความตื่นตระหนก ในการเสพสื่อไม่ว่าจะเป็นช่องทางทีวีหรือทางโซเชียลมีเดียก็ควรมีสติและมีวิจารณญานในการเสพสื่อด้วยนะคะ นอกจากนี้ก็ควรเสพข่าวเท่าที่จำเป็นเพราะการที่คุณเสพข่าวมากเกินไปรู้สึกวิตกกังวล ตื่นตระหนกและเป็นโรคแพนิคได้โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นในการรับข่าวสารควรรับเท่าที่จำเป็นเพื่อเป็นแนวทางในการรับมือและปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม ขอบคุณภาพจาก:Pixabay.com 2. หมั่นดูแลสุขภาพจิตตัวเอง ขอบคุณภาพจาก:Pixabay.com ตรวจเช็คสังเกตสภาพจิตใจตัวเองอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากในภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสแบบนี้ จะทำให้เกิดอารมณ์ในด้านลบไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ความวิตกกังวล ถ้าหากมีอารมณ์ด้านลบแบบนี้ก็ควรที่จะหาสาเหตุทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นและพูดคุยปรึกษากับผู้ที่ไว้ใจได้ เพื่อจะนำไปสู่แนวทางแก้ไขที่จะคลี่คลายปัญหาไปได้ ขอบคุณภาพจาก:Pixabay.com 3. ห่างจากโซเชียลมีเดีย ทำงานอดิเรกที่ดีต่อใจ คุณลองห่างจากโซเชียลมีเดียบ้าง เพราะสังคมโลกออนไลน์ไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิตควรถอยห่างออกมาแล้วทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และให้ประโยชน์ต่อตัวคุณเอง ถือเป็นเวลาทองในการที่จะได้พัฒนาตัวเองอีกด้วย อาจจะเป็นงานอดิเรกที่คุณชื่นชอบแต่งานอดิเรกนั้นต้องไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเช่น ฝึกภาษา ทำอาหาร อ่านหนังสือเป็นต้นนอกจากจะทำให้คุณพัฒนาตัวเองได้แล้วเมื่อปัญหาโรคระบาดคลี่คลายลงไปทำงานได้ปกติ คุณก็จะมีทักษะที่มีศักยภาพดีขึ้นอีกด้วย ขอบคุณภาพจาก:Pixabay.com 4. ดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรง ขอบคุณภาพจาก:Pixabay.com สำหรับใครที่มีปณิธานอยากที่จะสุขภาพดีคุณก็สามารถที่จะลงมือทำได้เลยเพราะสุขภาพดีเป็นพื้นฐานของร่างกายที่มีผลต่อการรับหรือแพร่เชื้อช่วยลดความเสี่ยงความรุนแรงจากเชื้อไวรัสนี้ได้ สุขภาพดีเริ่มที่ตัวคุณเองโดยการ กินอาหารที่มีประโยชน์ นอนพักผลให้เพียงพอ เป็นต้น และที่สำคัญพฤตกรรมการกินก็ควรที่จะปรับให้เป็นเวลาและกินอาหารที่มีประโยชน์ให้คุณค่าทางโภชนาการที่ดีกับร่างกาย นอกจากนี้ก็ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง 5. ส่งความปราถนาดีกำลังใจบุคลากรทางการแพทย์และเกื้อกูลคนในสังคม ขอบคุณภาพจาก:Pixabay.com สำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ถือเป็นนักรบชุดกาวน์ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาคนไข้ที่ติดเชื้อโควิด ดังนั้นการให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์หรือการส่งความปราถนาดีด้วยการส่งของที่ขาดแคลนไปช่วยเหลือโรงพยาบาล น้ำใจที่ไม่เคยขาดหายไปจากสังคมไทย นอกจากนี้การช่วยเหลือเกื้อกูลคนในสังคมด้วยกันก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น การเย็บหน้ากากอนามัยแจกผู้มีกำลังทรัพย์ในการซื้อน้อย การทำข้าวกล่องแจกฟรี เป็นต้น ขอบคุณภาพจาก:Pixabay.com 6. แชร์ข่าวสารที่เป็นข้อมูลในแง่บวกและมีคุณภาพ ขอบคุณภาพจาก:Pixabay.com คิดก่อนโพสต์หรือแชร์ข่าวสารควรมาจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ โดยเฉพาะข้อมูลทางการแพทย์เพราะหากไม่ถูกต้องก็ถือว่าเราส่งต่อข้อมูลผิดๆ ควรแชร์ข้อมูลที่มาจแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงานที่เชื่อถือได้เท่านั้น สิ่งที่โพสต์หรือแชร์ไปควรเป็นประโยชน์ต่อคนในสังคม 7. ไม่บูลลี่และควรให้กำลังใจที่ผู้ติดเชื้อ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19เป็นสิ่งที่รวดเร็วเกินคาดและหลีกเลี่ยงไม่ได้ เชื้อไวรัสชนิดนี้ก็แพร่กระจายในละอองอากาศดังนั้นทุกคนมีโอกาสสัมผัสหรือรับเชื้อได้โดยที่ไม่ตั้งใจ และคงไม่มีใครอยากติดเชื้อไวรัสแบบนี้ ควรสื่อสารด้วยความเห็นอกเห็นใจและให้กำลังใจ ไม่ควรที่จะแสดงท่าทีรังเกียจหรือบูลลี่ ขอบคุณภาพจาก:Pixabay.com จบไปแล้วนะคะกับแนวทางในการดูแลใจห่างแพนิคในช่วงวิกฤติโควิด19 อย่างไรก็ตามนะคะในช่วงสถานการณ์แบบนี้ก็ขอให้ทุกคนมีสติและผ่านปัญหาในภาวะแบบนี้ไปได้ด้วยดี นอกจากนี้ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโควิดด้วยการปฏิบัติตามองค์การอนามัยโลกและกรมควบคุมโลกด้วยนะคะ จะได้ปลอดภัยจากโควิด19 ไอจังขอเป็นกำลังใจให้กับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์รวมถึงผู้ป่วยและคนไทยทุกคนให้ผ่านภาวะวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยดีนะคะ ขอบคุณภาพจาก:Pixabay.com เรื่องโดย:ไอจัง อ้างอิงข้อมูลโรคแพนิคจาก: mahidol.ac.th ภาพจาก:Pixabay.com