การเรียนมหาวิทยาลัย สิ่งที่เราต้องเจอคือ การจัดตารางเรียนเอง เป็นสิ่งที่ตอนเรียนมัธยมเราไม่ได้เจอ เพราะจะมีการจัดตารางเรียนตางรางสอนตามโรงเรียนจัดให้ แต่เมื่อเรียนมหาวิทยาลัย เราต้องเลือกลงวิชาเรียน เวลาเรียน เวลาพักต่าง ๆ เอง แต่การจัดตารางเรียนก็มีวิธีจัดอยู่นะ ใช่ว่าจะจัดแบบไหนก็ได้ เพราะถ้าหากจัดไม่ดีได้เหนื่อยยันสิ้นเทอมแน่นอนเลย การจัดตารางเรียนเริ่มจากไปดูก่อนว่าวิชาที่เราจะลงเรียนมีเวลาไหนบ้าง บางวิชาก็มีหลายเวลา บางวิชาก็มีแค่เวลาเดียวให้เลือก อีกอย่างต้องเลือกอาจารย์ที่เราอยากจะเรียนด้วย ถ้าหากว่าเราไม่เจาะจงว่าอยากเรียนกับอาจารย์คนไหนเป็นพิเศษก็ยิ่งง่ายต่อการจัดตาราง วิธีการจัดตารางเรียนที่มีประสิทธิภาพ1. เลือกเวลาเรียนช่วงเช้าหรือช่วงเย็นไปเลย คือการเลือกช่วงเวลาให้ชัดเจน ถ้าหากอยากพักเร็วให้เลือกเรียนช่วงเข้าไปเลยยาว ๆ แล้วไปเน้นพักช่วงเย็นแทน แบบนี้จะคล้าย ๆ กับการเรียนมัธยม ทำให้สมองเราไม่ต้องปรับตัวมากนัก และได้พักสมองในช่วงเย็น มีเวลาทำอะไรอีกมากมาย เหมาะสำหรับคนที่ชอบเดินตลาดช่วงเย็น ชอบเที่ยวกลางคืนเพราะมีเวลาแต่งตัว อยากพักผ่อนเร็ว ๆ คนที่ไม่มีปัญหากับการต้องตื่นเช้า และคนที่ต้องการทำงานเสริม เลือกเรียนช่วงเย็นไปเลย สำหรับใครที่ชอบการตื่นสายเป็นชีวิตจิตใจจะเหมาะสมมาก เพราะเราเลือกตื่นสายแล้วไปเรียนเอาในช่วงบ่ายเลย ทำให้เราได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และไม่ร้อนอีกต่างหาก เหมาะสำหรับคนรักการนอน คนนอนดึก คนเที่ยวสถานบันเทิงเป็นประจำไม่ต้องกลัวแฮงค์ไปเรียนในตอนเช้า แต่แบบนี้จะไม่สามารถทำงานเสริมได้นะ เลือกเอาเลยว่าเราชอบแบบไหน ส่วนตัวเราเองชอบที่จะเรียนช่วงบ่ายเพราะขี้เกียจตื่นเช้า2. เลือกวันที่ว่างไว้สักวัน ถ้าเลือกได้ให้เลือกวันหนึ่งที่เรียนน้อย ๆ โดยให้มีแค่ 1-2 วิชา หรือไม่มีสักวิชาเลย ให้เป็นวันหยุดเพิ่มอีก 1 วันเผื่อไว้สำหรับการจัดทริปเที่ยว การเรียนชดเชย การติวหนังสือ อาจจะเป็นวันพุธ (วันพักผ่อนกลางสัปดาห์) หรือวันศุกร์ (ติดกับเสาร์-อาทิตย์ เหมาะสำหรับคนอยากกลับบ้านนาน ๆ และเหมาะกับการจัดทริป) เพราะการเรียนมหาลัย อาจารย์บางวิชาจะนัดเรียนเสริมถ้าหากว่าเรียนไม่ทัน ซึ่งถ้าเราจัดตารางแบบนี้จะสามารถนำเวลาเรียนเสริมมาใช้กับวันว่างได้ด้วย ซึ่งจะดีกว่าการที่ต้องเอาเวลาเรียนเสริมไปยัดในวันที่เราเรียนหนักหรือเลิกดึกอยู่แล้ว จะยิ่งทำให้สมองล้าและไม่รับการเรียนรู้นั่นเองค่ะ3. เวลาพักระหว่างวันไม่ควรอยู่ในช่วง 1 ชั่วโมงครึ่งถึง 2 ชั่วโมง การพักระหว่างวัน การพัก 15-30 นาที เป็นเวลาที่ดีในการเปลี่ยนสถานที่และวิชาเรียน เพราะเป็นเวลาที่เราเรียนต่อกันเลย ทำให้สมองได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง ส่วนเวลา 1 ชั่วโมงเหมาะกับการทานอาหาร นั่งเล่น พักผ่อนชั่วครู่ แต่ถ้าหากพักในช่วง 1 ชั่วโมงครึ่งถึง 2 ชั่วโมง จะเป็นการพักที่ค่อนข้างนานทำให้เรา ง่วง และขี้เกียจ มากขึ้น บางคนไม่มีที่อยู่เพราะอยู่รอในมหาลัยก็เบื่อ เลือกที่จะกลับหอพัก สุดท้ายพอได้ลงเตียงแล้วก็ยากที่จะลุกขึ้นมาเรียนต่อ เพราะฉะนั้นการพักระหว่างวันไม่ควรนานจนเกินไป และที่สำคัญไม่ควรกลับหอในเวลาพักเป็นอันขาด ไม่อย่างนั้นขาดเรียนได้ง่ายเลยล่ะ4. เวลาเรียนวิชาแรกในช่วงเช้าไม่ควรเป็น 09:30 น. สิ่งนี้เป็นเรื่องที่แปลกแต่จริง เมื่อเราเรียนเวลาต่าง ๆ ที่เป็นเวลา 8 โมงตรง หรือ 9 โมงตรง เราจะสามารถเข้าเรียนได้ตรงเวลา แต่ถ้าหากเป็น 09:30 น. มักจะไปสายทุกครั้ง เนื่องจากการมีเศษของเวลา ทำให้เราขี้เกียจ และขอต่อเวลาในการตื่น การแต่งตัว การออกหอ และคาดคะเนเวลาการจราจรได้ยาก เพราะคนที่สายส่วนใหญ่ล้วนเจ้ามหาลัยกันเวลานี้ ทำให้มีทั้งปัญหารถติด และหาที่จอดรถไม่ได้ จึงเป็นสาเหตุในการเข้าเรียนสาย เวลา 09:30 น. จึงกลายเป็นเวลาต้องห้ามสำหรับคนที่เรียนเช้า เพราะแทนที่จะถึงห้องเรียนเวลา 09:30 น. กลายเป็นเวลาที่กำลังจะออกหอแทน5. เลือกวิชาหนัก ๆ ไว้ช่วงเช้า เคยสังเกตไหมว่าเวลาเรียนตั้งแต่ ประถม มัธยม วิชาหลัก ๆ มักจะอยู่ในช่วงเช้าเสมอ เพราะว่าเป็นช่วงเวลาที่สมองทำงานได้ดีค่ะ ช่วงบ่ายสมองเราล้าเพราะทำงานมาทั้งวัน ดังนั้นช่วงเช้าจึงเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่สมองเราจะมีประสิทธิภาพในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ได้ดี เหมาะสำหรับวิชา เลข วิทยาศาสตร์ วิชาที่ต้องใช้การท่องจำ และวิชาหลักค่ะ หวังว่าจะเป็นแนวทางการจัดตารางเรียนให้น้อง ๆ วัยมหาวิทยาลัยกันนะคะ เป็นการคอยสังเกตจากตัวเองและเพื่อน ๆ รอบข้างจนได้ข้อสรุปที่นำไปใช้ในชีวิตจริงได้ อยากให้ทุกคนใช้เวลาในช่วงการเรียนมหาลัยได้อย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนได้ เที่ยวได้ ทำงานได้ อย่าลืมลองนำไปใช้กันดูนะคะ ภาพประกอบภาพ 1 จาก pexels / ภาพ 2 , ภาพ 3 โดย Majiiwmewja