สรุปให้! 9 จุดเด่นของขงเบ้ง กุนซือผู้พลิกแผ่นดิน จากตำนาน "สามก๊ก"ต้องบอกว่าผู้เขียนคือคนหนึ่งที่มีโอกาสดูหนังสามก๊กฉบับนักบริหาร ที่มีศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน เป็นผู้วิเคราะห์และวิจารณ์เนื้อหาของแต่ละตอนค่ะ โดยมีโอกาสได้ดูหลายรอบมากในหลายๆ ตอน ก็พบว่า มีบทเรียนหลายอย่างที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาตัวเองได้ค่ะ โดยในบทความนี้ผู้เขียนอยากส่งต่อข้อมูลที่ได้ตกผลึกมาด้วยการคิดได้ด้วยตัวเอง จากการวิเคราะห์ตัวละครที่เด่นในสามก๊ก นั่นคือ อาจารย์ขงเบ้งในสามก๊ก "อาจารย์ขงเบ้ง" คือกุนซือผู้พลิกแผ่นดินที่เล่าปี่ตามหาจนเจอค่ะ หลังจากสู้รบมาหลายศึกแต่ก็ยังไม่สามารถปราบทรราชและขึ้นเป็นฮ่องเต้ได้ จนเมื่อมาเจออาจารย์ขงเบ้งสถานการณ์ก็พลิกจากมืดเป็นสว่างและเป็นไปตามที่เล่าปี่ตั้งใจไว้ค่ะ เพราะอาจารย์ขงเบ้งเป็นกุนซือที่แตกต่างจากกุนซือของก๊กอื่นตรงที่อาจารย์ขงเบ้งมีลักษณะที่พิเศษ ขนาดวันสุดท้ายก่อนตายยังคิดกลวิธีให้กองทัพของเล่าปี่ทำหุ่นขี้ผึ้งของตัวเองหลอกฝ่ายตรงข้าม จนสามารถเคลื่อนทัพกลับมาถึงบ้านเกิดเมืองนอนได้อย่างปลอดภัยค่ะ ซึ่งอาจารย์ขงเบ้งเป็นคนที่เราสามารถเอาแบบอย่างได้ในหลายๆ เรื่อง ดังต่อไปนี้ค่ะ1. มีความเป็นมินิมอล ถ้าคุณผู้อ่านสังเกตดูดีๆ นั้น ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ห้องทำงาน การแต่งกาย อุปกรณ์ต่างๆ ในการทำงานและในชีวิตประจำวันของอาจารย์ขงเบ้งนั้นจะมีข้าวของที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ เท่านั้นค่ะ จึงพบว่าอาจารย์ขงเบ้งเป็นคนค่อนข้างคล่องแคล่วว่องไว คล่องตัวในการทำงานและใช้ทรัพยากรน้อยแต่ได้ผลลัพธ์เกินคาดค่ะ2. มีทักษะการเชื่อมโยงข้อมูล ข้อนี้สามารถเห็นได้ชัดมากตรงที่อาจารย์ขงเบ้งเป็นคนที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันออกมาเป็นกลยุทธๆ หนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์หนึ่งจนชนะฝ่ายตรงข้ามได้แบบชาญฉลาดค่ะ ยกตัวอย่างเช่น มีตอนหนึ่งที่อาจารย์ขงเบ้งต้องรวบรวมธนูให้ได้หลายแสนดอกภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งถ้าจะใช้แรงงานทหารที่มีอยู่ยังไงก็ไม่สามารถสร้างธนูขึ้นมาให้ทันตามเวลาที่กำหนด แต่เชื่อไหมคะว่าอาจารย์ขงเบ้งเชื่อมโยงข้อมูลด้านสภาพดินฟ้าอากาศมาเป็นหัวใจของการได้ลูกธนูมาแบบง่ายดายเกินกว่าที่ต้องการด้วยซ้ำค่ะโดยอาจารย์ขงเบ้งอาศัยช่วงหมอกลงตอนเช้า จากนั้นให้ทหารทำหุ่นฟางเป็นรูปคนใส่ลงไปในเรือ โดยเรือนี้มีทหารพายไปแค่ลำละ 2 คนเท่านั้น จากนั้นพอเช้ามืดอาจารย์ขงเบ้งบอกให้ทหารที่ได้รับมองหมายงานพายเรือออกไปให้เข้าใกล้พื้นที่ของฝ่ายตรงข้ามให้มากที่สุด แค่ทหารฝ่ายตรงข้ามเห็นลางๆ ว่ามีข้าศึกจะโจมก็พากันยิงธนูกระหน่ำเลยค่ะ แต่ลูกธนูก็ไปติดอยู่กับหุ่นฟาง และนั่นคือกลยุทธของอาจารย์ขงเบ้งเพื่อรวบรวมลูกธนูมาใช้เป็นอาวุธแบบใช้กำลังคนน้อยมาก คือถ้าเอาแนวคิดนี้คิดเป็นเงินในสมัยนี้น่าจะหลายแสนบาท สมมติว่า 500,000 บาทแล้วกันนะคะ แต่เชื่อไหมคะว่าค่ะค่าทรัพยากรในลงมือทำเพียง 10,000 บาท แต่ค่าคิดว่าจะทำยังไง 490,000 บาทค่ะ😁👍3. มีทักษะการอ่าน อาจารย์ขงเบ้งคือตัวอย่างของคนอ่านหนังสือค่ะ ขนาดตอนเล่าปี่ตามไปที่บ้าน เด็กในบ้านของอาจารย์ขงเบ้งยังบอกเล่าปี่ว่าอาจารย์ขงเบ้งนอนพักผ่อนเพราะเหนื่อยจากการศึกษาตำราต่างๆ ทักษะการอ่านทำให้อาจารย์เข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่สนใจพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นได้ง่ายๆ ค่ะ เพราะทำได้ทุกที่ ขนาดว่ามาอยู่กับเล่าปี่แล้วอาจารย์ขงเบ้งยังไม่หยุดพัฒนาตัวเองด้วยการอ่านค่ะ4. ศึกษาและเรียนรู้หลากหลายสาขา นอกจากอาจารย์ขงเบ้งจะเรียนรู้เกี่ยวกับตำราพิชัยสงครามแล้ว อาจารย์ขงเบ้งยังมีความสามารถด้านการพยากรณ์อากาศ การเจรจาต่อรอง ด้านจิตวิทยาและอื่นๆ อีกหลายสาขาค่ะ5. มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต อาจารย์ขงเบ้งคือคนมีอาชีพเป็นนักเรียนตลอดชีวิตค่ะ เพราะนอกจากจะเรียนรู้ในตำราต่างๆ แล้ว อาจารย์ขงเบ้งยังเรียนรู้จากสถานการณ์จริงด้วยค่ะ เพราะตลอดช่วงชีวิตที่มาอยู่กับเล่าปี่อาจารย์ขงเบ้งคือตัวหลักที่คิดกลอุบายต่างๆ จากสถานการณ์จริงเยอะมากค่ะ6. มีทักษะการคิดเป็นคิดได้ด้วยตัวเอง ต้องบอกว่าอาจารย์ขงเบ้งเป็นคนที่มีทักษะนี้ชัดเจนมากค่ะ เพราะสามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้มาได้อย่างง่ายได้ และประยุกต์ใช้ข้อมูลนั้นด้วยการคิดต่อยอดด้วยตัวเองทั้งหมดค่ะ แถมยังสามารถคัดกรองได้ด้วยว่าความคิดไหนใช้ได้ความคิดไหนใช้ไม่ได้หากมีบางคนเสนอแนวคิดบางอย่างมาค่ะ7. ทัดทานคนอื่นเพียงแค่ครั้งเดียว นี่คือคุณสมบัติที่ผู้เขียนชอบเลียนแบบอาจารย์ขงเบ้งค่ะ การทัดทานคือการตักเตือนหรือจะพูดว่าชี้แนะก็ได้ค่ะ อาจารย์ขงเบ้งมองว่าคนที่คิดได้คิดเป็นนั้นการทัดทานเพียงแค่ครั้งเดียวเกินพอแล้ว การพูดย้ำบ่อยถือเป็นการเสียเวลา และการทัดทานเพียงแค่ครั้งเดียวสามารถคัดคนออกได้ว่าใครคิดเป็นไหมด้วยค่ะ ซึ่งมีครั้งหนึ่งอาจารย์ขงเบ้งทัดทานเล่าปี่แต่เล่าปี่ไม่เชื่อ พอออกไปทำสงครามก็พ่ายแพ้ศึกมาและสูญเสียกำลังคนไปจำนวนมากค่ะ8. มีทักษะการฟังที่ดี อาจารย์ขงเบ้งไม่ใช่คนที่ฟังอย่างเดียวค่ะ แต่อาจารย์ขงเบ้งฟังอย่างตั้งใจและวิเคราะห์ข้อมูลที่ตัวเองได้ยินมาในตอนนั้นด้วย และสามารถประมวลผลได้ทันทีว่าข้อมูลไหนเป็นประโยชน์ข้อมูลไหนเป็นขยะค่ะ9. เป็นคนมีความรับผิดชอบสูง ขนาดอาจารย์ขงเบ้งเจ็บป่วยในช่วงบั่นปลายของชีวิตยังทำหน้าที่ของตัวเองในการคิดกลอุบายต่างๆ ที่ต้องใช้เพื่อทำให้ชนะศึกสงครามเลยค่ะ สมัยหนุ่มทุกงานอาจารย์ขงเบ้งทำอย่างเต็มที่ ไม่ว่าศึกยากศึกง่ายอาจารย์ขงเบ้งไม่เคยขาดตกบกพร่องค่ะ ซึ่งข้อนี้เป็นคุณสมบัติที่ผู้เขียนพยายามเลียนแบบอาจารย์ขงเบ้งค่ะ😁และนั่นคือความคิดที่ผู้เขียนตกผลึกออกมาจากที่ได้ดูสามก๊กมาหลายรอบค่ะ และอาจารย์ขงเบ้งคือบุคคลต้นแบบที่ผู้เขียนพยายามพัฒนาตัวเองให้มีคุณสมบัติดีๆ หลายอย่างตาม😁 เช่น ทักษะการอ่าน จนตอนหลังมาพบว่าตัวเองอ่านหนังสือทุกวันค่ะ ทักษะการเชื่อมโยงข้อมูลคืออีกหนึ่งทักษะที่ผู้เขียนนำมาฝึกตัวเองแทบจะทุกสถานการณ์ค่ะ และสุดท้ายก็การเรียนรู้ตลอดชีวิตคือหลักคิดที่ผู้เขียนยึดเอามาเป็นตัวตนของตัวเองไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วค่ะ จึงหวังว่าเนื้อหาในบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านและทำให้มองเห็นภาพ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทักษะที่จำเป็นต้องมีและทักษะที่ควรนำมาพัฒนาตัวเองค่ะเครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปก โดย Dziana Hasanbekava จาก Pexelsภาพประกอบเนื้อหา: ภาพที่ 1 โดย Anna Nekrashevich จาก Pexels, ภาพที่ 2 โดย ผู้เขียน, ภาพที่ 3 และภาพที่ 4 โดย Andrea Piacquadio จาก Pexelsออกแบบภาพหน้าปกใน Canvaบทความอื่นที่น่าสนใจ🔟 วิธีฝึกตัวเองให้เป็นคนมีระเบียบวินัย ทำอะไรเป็นแบบแผนมากขึ้นสรุปหนังสือแนวจิตวิทยาพัฒนาตัวเอง "เข็มทิศการสร้างชีวิต" โดยสมคิด ลวางกูร7️⃣ วิธีมีทักษะการโฟกัส ฝึกตัวเองให้สนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานขึ้น เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !