ทับทิมเป็นไม้พุ่ม สูงไม่เกิน 3 เมตร ปลายกิ่งอ่อนห้อยลู่ลงปลายกิ่งเล็ก มักกลายเป็นหนามแหลม ๆ ใบเป็นชนิดใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกันรูปขอบขนานแกมรูปหอกกลับ กว้าง 0.5-2.5 ซม. ยาว 1-9 ซม. โคนใบสอบแคบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบจะกว้าง ปลายสุดจะมนหรืออาจหยักเว้าเข้าเล็กน้อย เนื้อใบเนียน ค่อนข้างบางและเป็นมัน ดอกโต สีแดงออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือ รวมกันเป็นกระจุกไม่เกิน 5 ดอก ตามปลายกิ่ง กลีบรองกลีบดอกหนา โคนกลีบผนึกติดกันเป็นหลอด ยาว 2-3 ซม. ปลายหลอดจักเป็นฟันเลื่อย 5-9 ซี่และปลายหยักจะโค้งออก กลีบดอกมีจำนวนเท่า ๆ กับกลีบรองกลีบดอก เนื้อกลีบบาง ย่น ยาว ยื่นพ้นหลอดกลีบรองกลีบดอกออกมาและจะหลุดร่วงเร็วมาก เกสรผู้มีมากมายติดอยู่ในฐานดอก ผลกลม โต วัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 ซม.ผิวนอกแข็งเป็นมัน ยังคงปรากฏมีจุกกลีบรองกลีบดอกติดอยู่ที่ปลายผล ผลแก่จะแตกอ้าออก เผยให้เห็นเมล็ดที่มีเนื้อเยื่อใส ๆ สีขาวอมชมพู ภายในมากมาย นอกจากประโยชน์ตามความเชื่อของจีนที่ชอบเด็ดยอดทับทิมติดตัวไปงานศพเพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายเข้าตัว หรือเอาน้ำแช่ใบทับทิมล้างหน้า หรือพรมหลังจากกลับจากงานศพแล้ว ในแง่คุณประโยชน์ทางยา ก็สามารถนำยอด เปลือกผลแห้ง และเปลือกลำต้น หรือเปลือกราก มาใช้ทำยาได้ด้วยสรรพคุณและวิธีใช้ 1. แก้ท้องเสีย : เด็ดยอดทับทิม 7 ยอด และมาผสมกับน้ำปูนใส ต้มพอประมาณน้ำอุ่น ๆ แล้วยกลง พอเย็นลงให้กินจะแก้อาการท้องเสียได้ 2. แก้อาการท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค) : ใช้เปลือกผลแห้งประมาณครึ่งผล ต้มกับน้ำปูนใสใช้ดื่ม 3. แก้บิด (ปวดเบ่งและมีมูกหรืออาจมีเลือดด้วย) : ใช้เปลือกผลแห้งประมาณครั้งละกำมือ (3-5 กรัม) ต้มกับน้ำรับประทานวันละ 2 ครั้ง 4. ถ่ายพยาธิลำไส้ (พยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือน) : ใช้เปลือกลำต้นหรือเปลือกรากสดประมาณกำมือใหญ่ๆ (10-15 กรัม) ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารเช้าแล้วรับประทานยาถ่ายตามประโยชน์และคุณค่าทางสมุนไพร ทับทิมในตำราแพทย์สมัยโบราณ ในผลทับทิมมีวิตามินมากมายหลายชนิด รวมทั้งแมกนีเซียมและแคลเซียม ซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบฟอกโลหิต และ ระบบการหมุนเวียนในร่างกาย ในตำราแพทย์โบราณของเปอร์เซีย (ซึ่งถือว่าเป็นต้นตำรับของวิชาแพทย์ตะวันตกในปัจจุบัน) ระบุว่าทับทิมมีประโยชน์ดังต่อไปนี้ - การฟื้นฟูสู่สภาพเดิมของหัวใจและตับ - การฟอกไตและท่อปัสสาวะ - สมรรถนะในการส่งเสริมการย่อย - ขจัดไขมันส่วนเกิน - เป็นยาบำรุงกำลัง - ช่วยป้องกันการแพ้ท้อง - ช่วยปรับฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือน - ปรับปรุงระบบการฟอกและหมุนเวียนโลหิต - การฟื้นฟูจากโรคเบาหวาน - สมรรถนะในการกลั้นเสมหะ - ต่อต้านการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและเพิ่มพลัง - ป้องกันโรคขี้หลงขี้ลืมในผู้สูงอายุ - ทำให้ผิวหน้าสวย ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขขอบคุณรูปภาพจาก pexels.com รูปปก / รูปประกอบที่ 1 / รูปประกอบที่ 2 / รูปประกอบที่ 3