คิดว่าใคร ๆ ก็ชอบกินขนมกันทั้งนั้นใช่ไหมคะไม่ว่าจะเป็นขนมไทยขนมเทศขนมปังขนมขบเคี้ยวหรือแม้แต่ขนมจีนน้ำยาไม่ว่าขนมอะไรก็อร่อยกันทั้งนั้นใช่ไหมคะ ? แต่รู้หรือเปล่าว่าขนมไม่ได้เพึ่งจะมีมาในสมัยนี้นะคะขนมมีตั้งแต่สมัยโบราณหลายพันปีมาแล้ว เราจะมาเล่าเรื่องของขนมให้ได้รู้กันว่า ขนม ก็มีเรื่องที่น่าสนใจเหมือนกันนะในบทความนี้เป็นบทความที่เขียนขึ้นจากเนื้อหาพอดแคสต์ของผู้เขียนที่อยากนำมาแชร์ต่อเป็นความรู้ให้แก่เพื่อน ๆ ชาวทรูไอดีกัน โดยจะพูดถึงประเด็นหลักๆที่น่าสนใจสองประเด็นคือที่มาของคำว่า ขนมประวัติความเป็นมาของขนมในประเทศไทย 1.ที่มาของคำว่าขนม ขนมตั้งแต่ในสมัยโบราณของไทย จะทำอย่างง่าย ๆ ส่วนใหญ่จะทำมาจาก ข้าวที่นำมาตำปนกันจนป่นเป็นแป้งผสมกับกะทิและน้ำตาลได้เป็นขนม และในสมัยต่อมาก็จะมีการใส่นู่นใส่นี่เพิ่มเติมไปบ้าง รับสูตรจากต่างประเทศบ้าง คิดเองบ้างจนได้เป็นขนมมากมายหลายสูตรอย่างที่เราเห็นกันทุกวันในปัจจุบันนี้ค่ะ เรามาเริ่มหาที่มาต้นตอของคำว่าขนมไปพร้อมกันเลยดีกว่ามีผู้เชี่ยวชาญในหลายศาสตร์หลายสายได้ให้ความเห็นกันเอาไว้ว่า ถึงที่มาของคำว่าขนมก็มีหลายข้อด้วยกันเลยนะคะ ข้อสันนิษฐานแรก ข้าวนมFacebook : Kha:w-nom.mp3เป็นข้อสันนิษฐานของกลุ่มนักคหกรรมศาสตร์ (นักคหกรรมศาสตร์ก็เป็นผู้ที่ศึกษาในศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ก็เป็นผู้ที่ศึกษารวมหลายศาสตร์นี้ไว้ด้วยกัน) เขาบอกว่าคำว่า ขนม อาจมีที่มาจากคำว่า ข้าวนม หรือ ข้าวเคล้านม ซึ่งคำนี้จะได้รับอิทธิพลมาจากทางอินเดียเครดิตภาพ : pixabayเป็นเรื่องราวพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าในตอนที่พระพุทธเจ้ากำลังจะตรัสรู้ที่มีพระนางสุชาดาที่นำข้าวมธุปายาสมาถวายแก่พระพุทธเจ้าหลังจากที่ได้ทรงเสวยก็ทรงตรัสรู้ ซึ่งตัวข้าวมธุปายาสนี้เองที่เป็นที่มาของคำว่า ข้าวนม เพราะข้าวมธุปายาสทำมาจากข้าวที่นำไปหุงและผสมกับนม ข้อสันนิษฐานนี้ก็ได้รับการโต้แย้งเหมือนกันนะคะเพราะว่าในไทยสมัยก่อนแทบไม่ได้มีการใช้นมในการประกอบอาหารเลย ส่วนใหญ่มักจะใช้กะทิหรือว่ามะพร้าวกันมากกว่า แต่ว่าก็ยังมีความเป็นไปได้อยู่ค่ะ เพราะว่าการที่เราใช้กะทิหรือใช้มะพร้าวในการประกอบอาหารอื่นก็เป็นการประยุกต์สูตร ให้เหมาะสมกับวัตถุดิบที่หาง่ายในประเทศเราตัวกะทิหรือมะพร้าวก็คือนมของมะพร้าวนั่นเองค่ะ ข้อสันนิษฐานที่สอง ข้าวหนม , เข้าหนมFacebook : Kha:w-nom.mp3พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ(ท่านเป็นพระญาติในราชวงศ์จักกรี ในตอนนั้นเองทรงดำรงตำแหน่งสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5) เค้าได้ให้ข้อสันนิษฐานเอาไว้ว่าคำว่า ขนม อาจเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า เข้าหนม จากภาษาถิ่นเหนือก็ได้ในสมัยก่อนเค้าจะเรียก ข้าว ว่า เข้า ช่วงเวลาผ่านไปก็มีการเปลี่ยนเสียงเพี้ยนเสียงจากเข้า เป็น ข้าวส่วนคำว่า หนม ในภาษาเหนือหมายความว่ารสหวานค่ะ ถ้าแปลตรงตัวก็คือข้าวที่มีรสหวานนั่นเอง ข้อสันนิษฐานที่สาม หนม Facebook : Kha:w-nom.mp3เป็นข้อสันนิษฐานว่าคำว่าขนมอาจจะมาจากคำว่า หนม ใน ภาษาเขมร หรือ ภาษาลาว คำว่าหนมในภาษาเขมร หมายถึงอาหารที่ทำจากแป้งพอเรามาย้อนดูแล้วก็จะเห็นว่าขนมในสมัยก่อนมักจะทำจากแป้งมานวดทั้งนั้น นอกจากนี้ก็ยังมีคำว่าหนมในภาษาลาว ซึ่งในภาษาลาว หนม เป็นกริยาแปลว่าการนวด ก็จะมีนวดแป้งนวดดินซึ่งเรียกว่าหนมแป้งหนมดินก็คือเป็น อาหารทานเล่นของเขาเช่นกัน ข้อสันนิษฐานที่สี่ คนอมFacebook : Kha:w-nom.mp3ข้อสันนิษฐานนี้อาจมีความเป็นไปได้น้อยกว่าข้อสันนิษฐานแรก ๆ คำว่าคนอมในภาษามอญชนิดหนึ่งลองทายกันดูสิคะว่าเป็นอาหารอะไรพอจะนึกออกไหมคะ ก็คือ คนอมจินหรือว่าขนมจีนที่เรารู้จักกันนั่นเองนี่แหละค่ะขนมจีนเป็นอาหารจากสัญชาติมอญซึ่งเข้ามาพร้อมกับชาวมอญที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย เราก็เรียกเปลี่ยนเสียงมาจา คนอมจีนจนกลายเป็นขนมจีน ในปัจจุบันได้อ่านข้อสันนิษฐานที่เราหามาแล้วก็อาจจะมึน ๆ เพราะว่ามีหลายข้อสันนิษฐานกันเลยทีเดียวจากการหาที่มาของคำว่าขนมเพียงคำเดียว แต่ยังไงก็ตามไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์จากคำว่าอะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับที่ขนมในตอนนี้ได้กลายเป็นอาหารสำคัญที่อยู่คู่กับคนไทยมาหลายยุคหลายสมัยตั้งแต่สมัยโบราณแล้วค่ะ ไม่ว่าจะเป็น สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์และในปัจจุบันต่อไปเราจะมาเล่าถึงประวัติของขนม ที่มีมาในประเทศไทยให้ฟังกันนะคะซึ่งก็จะอ้างอิงจากหลักฐานและบันทึกต่างๆลองมาอ่านกันดูค่ะ2.ประวัติศาสตร์ความปังของขนมในไทยขนม ใน สมัยสุโขทัยมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าขนมเป็นที่นิยมและมีความสำคัญต่อเรานะคะ มีหลักฐานยืนยันคือศิลาจารึกโบราณและ ไตรภูมิพระร่วงค่ะซึ่งทั้งสองนี้เกิดในสมัยช่วงเดียวกันก็คือสมัยพระยาลิไท** ขนมชนิดแรก ๆ ในประเทศไทย !!- ศิลาจารึกโบราณ : ได้บันทึกไว้ถึง ประเพณีสี่ถ้วยค่ะ ซึ่งเป็นประเพณีที่ไหว้ผีบรรพบุรุษในพิธีแต่งงานในสมัยพระยาลิไทนะคะ โดยจะใช้ขนมทั้งหมด 4 อย่าง 1.ขนมไข่กบ,เม็ดแมงลักน้ำกะทิ 2.ขนมนกปล่อย,ลอดช่องน้ำกะทิ 3.ขนมมะลิลอย4.ขนมอ้ายตื้อ,ข้าวเหนียวดำน้ำกะทิ -วรรณคดีชื่อดังอย่างไตรภูมิพระร่วง : ก็ได้บันทึกเอาไว้ถึงขนมชนิดหนึ่งนั่นก็คือขนมต้ม โดยเป็นเนื้อหาช่วง ดินแดนมนุษย์ มนุษภูมิค่ะซึ่งจะพูดถึงเรื่องราวในดินแดนมโลกมนุษย์ เรื่องราวของกษัตริย์องค์หนึ่งชื่อพระยาศรีธรรมาโศกราชท่านเป็นพระราชาที่มีบุญมากแล้วก็มีอิทธิพลกับทางพระพุทธศาสนานะคะ เรื่องราวของเขาจริงๆแล้วก็จะยาวมากแต่เราจะสรุปมาสั้น ๆ ถึงตอนที่เกี่ยวข้องค่ะ พระยาศรีธรรมโศกราชเป็นพระราชาที่มีสนมอยู่หลายพระองค์ แต่จะมีสนมคนหนึ่งที่เขารักเป็นพิเศษสนมองค์นั้นชื่อว่าพระนางพระนางอสันธิมิตรา เหตุผลที่พระราชารักสนมองค์นั้น กว่าองค์อื่น ๆ ก็เป็นเพราะนางเป็นผู้ที่มีบุญกว่าใคร เนื่องจากในสมัยอดีตชาตินางอสันธิมิตราเคยเป็นเทวดาซึ่งก็ได้ถวายของต่าง ๆ อำนวยความสะดวกให้กับพระพุทธเจ้าผลบุญในชาติที่เป็นเทวดาก็จึงส่งผลให้ปัจจุบันนางเป็นผู้มีบุญสูง ในเมื่อพระราชามีสนมหลายพระองค์ แต่ว่ารักแค่องค์เดียวก็เกิดความอิจฉาริษยาในหมู่สนมขึ้นทำให้มีการติฉินนินทาพูดว่าถึงพระราชาและไม่นานนักค่ะข่าวนี้ก็ได้ยินไปถึงหูพระราชาก็ทรงกลุ้มอกกลุ้มใจ ทีแรกคิดว่าจะทำยังไงดีให้คนอื่นเข้าใจ ว่าทำไมเขาถึงรักสนมคนนี้มากกว่าคนอื่น จึงจัดให้มีการเสี่ยงทายขึ้นมาโดยสั่งให้ข้าทาสบริวารทำขนมขึ้นมาชนิดหนึ่งมาใช้เสี่ยงทายซึ่งก็คือ ขนมต้ม จำนวน 16,000 ลูกค่ะ จากนั้นก็เลือกที่จะยัดพระธํามรงค์ (แหวน)ไว้ในขนมต้มเพียงลูกเดียว หลังจากนั้นก็เรียกรวมพระราชสนมทุกพระองค์มาเพื่อเสี่ยงทายโดยเขาบอกว่าให้ช่วยกันหยิบขนมต้มไปคนละลูกสองลูกแล้วเหลือไว้ให้ 1 ลูกเป็นของนางอสันธิมิตรา จากนั้นให้ทุกคนแกะขนมต้มออกใครที่ได้แหวนของพระราชาจะถือว่าเป็นผู้ที่มีบุญ ทุกคนก็ทำท่าการเสี่ยงทายแล้วก็แกะขนมต้มออกปรากฏว่าไม่มีใครได้พระธํามรงค์เลยค่ะมีเพียงขนมต้มของนางอสันธิมิตราที่มีพระธํามรงค์หรือว่าแหวนอยู่ในนั้นทุกคนก็ตื่นตกใจ ก็ยอมรับว่า เข้าใจว่า นางผู้ที่มีบุญจริง ๆ ก็เป็นการคู่ควรแล้วสำหรับการที่จะเป็นที่รักของพระราชาในสมัยก่อนความเชื่อเรื่องพระพุทธศาสนาและก็บาปบุญคุณโทษนะคะมีอิทธิพลต่อคนในสมัยก่อนมาก ๆ ค่ะก็เลยไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทุกคนจะยอมรับเรื่องของการมีบุญขนม ใน สมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยอยุธยาขนมก็ได้รับความนิยมแล้วก็มาแรงไม่แพ้กันกับในสมัยสุโขทัย เห็นได้จากบันทึกประวัติศาสตร์และจดหมายเหตุจากชาวต่างชาติที่ได้กล่าวถึงเรื่องราวของขนมเอาไว้เครดิตภาพ : Flickr จดหมายเหตุบางฉบับก็กล่าวถึงย่านป่าขนมซึ่งหมายถึงตลาดที่ขายแต่ขนมค่ะ บางฉบับก็ยังกล่าวถึงบ้านหม้อซึ่งในบ้านหม้อก็จะมีการปั้นหม้อปั้นกระทะสำหรับทำขนมเบื้องขนมครกและเตาสำหรับทำขนมต่าง ๆ นะคะ นั้นก็หมายความว่าขนมเหล่านั้นจึงเป็นที่นิยมพอสมควรถึงได้มีการผลิตอุปกรณ์สำหรับทำขนมเหล่านั้นมาขายในตลาด นอกจากนี้มีบางฉบับที่กล่าวถึง ขนมชะมด ขนมกงเกวียน(ขนมกง) ขนมครก ขนมเบื้อง และ ลอดช่อง ด้วยค่ะ ยังมียุคทองสุดปังของขนมไทยในอยุธยาอีกด้วยซึ่งก็คือในช่วงของสมัยพระนารายณ์ หลายคนอาจจะเคยได้ยินหรือว่าเคยเห็นจากละครบุพเพสันนิวาสแล้ว จะมีหญิงสาวคนหนึ่งค่ะชื่อว่า มารีย์ กีมาร์ หรือ ท้าวทองกีบม้า เป็นสาวเชื้อสายโปรตุเกสลูกครึ่งญี่ปุ่นภรรยาของคอนสแตนตินฟอลคอน ซึ่งเธอมีฝีมือทำขนมเป็นเลิศค่ะจนได้รับตำแหน่งให้เป็นต้นเครื่องขนมหวาน เธอเองก็เป็นผู้ที่ริเริ่มแล้วก็นำ ขนมตั้งต่างๆจากโปรตุเกสแล้วก็คิดสูตรมาเผยแพร่ในไทยค่ะซึ่งขนมต่างๆของเธอก็เป็นที่ฮอตฮิตแล้วก็เป็นที่นิยมและยังใช้กันมาอยู่จนถึงปัจจุบันอย่างเช่นขนมทองหยิบทองยอดฝอยทอง หม้อข้าวหม้อแดงนี่เอง ขนม ใน สมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็มีการพูดถึงขนมเอาไว้เหมือนกันเราจะยกตัวอย่างให้ฟังกันนะคะอย่างเช่นในวรรณคดีกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในรัชกาลที่ 2 ค่ะคิดว่าหลายคนก็ต้องเคยท่องเคยผ่านหูผ่านตากันมันบ้างแล้วในสมัยมัธยมนะคะซึ่งในตัวกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้ก็จะเป็นบทกลอนที่กล่าวชมอาหารคาวหวานซึ่งเป็นฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีก็ได้กล่าวชมเอาไว้มากมายว่าฝีมือเป็นเลิศมีอาหารและขนมหลายชนิด นอกจากนี้ก็ยังมีตำราอีกเล่มหนึ่งค่ะชื่อตำราว่า แม่ครัวหัวป่าก์ อาจจะเคยได้ยินหรือไม่เคยได้ยินมานะคะซึ่งตำราเล่มนี้เป็นตำราบันทึกการทำอาหาร ขนม วิธีปฏิบัติตัวของหญิงสาวเคล็ดลับการทำอาหารไปจนถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์และแหล่งวัตถุดิบต่างๆซึ่งเป็นผลงานของคุณหญิงเปี่ยม ภาสกรวงศ์และจนปัจจุบันนี้ก็อาจจะหาอ่านได้ยากแล้วนะคะเพราะว่าเป็นหลักฐานโบราณที่เก่าแก่แล้วก็เป็นบันทึกตำราอาหารเล่มแรก ๆ ของไทยเลยค่ะจากที่เล่าไปทั้งหมดนะคะจะเห็นได้ว่าขนมเป็นที่นิยมมาตลอดเลย มีทั้งที่เราคิดขึ้นเองบ้างหรือรับจากต่างประเทศมาบ้าง แสดงให้เห็นว่าขนมได้ผูกติดกับวิถีชีวิตการกิน ประเพณีวัฒนธรรมตำนาน รวมไปถึงความเชื่อต่างๆของคนไทยอย่างแนบแน่นและไม่สามารถแยกออกได้แล้วค่ะทั้งในอดีตและปัจจุบันเลยไม่ว่าขนมจะมีที่มาจากคำว่าอะข้าวนมเข้าหนม ข้าวหนม แล้วก็หนม หรือ คนอม อาจจะไม่สำคัญเท่าที่การที่ตอนนี้ขนมได้กลายเป็นอาหารสำคัญอย่างหนึ่งของคนไทยไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเครดิตภาพปก Facebook Youtube : ข้าวหนม .mp3Facebook : Kha:w-nom.mp3Instagram : khawnom.mp3เครดิตภาพจากผลงานเพจของผู้เขียน thitha. Kha:w-nom.mp3