Cr.ภาพถ่ายปกจากศมส.คำว่าอุทกศาสตร์ไทยอาจจะฟังดูไม่คุ้นเคย แต่ถ้าพูดถึงแผนที่ทางทะเลสำหรับการเดินเรือ ก็พอนึกออก งานอุทกศาสตร์เป็นภารกิจสำคัญอย่างหนึ่งของทหารเรือ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้เล่าเรื่องราวประวัติของการทำงานทางด้านนี้ของทหารเรือไทยในอดีต ในยุคที่ยังไม่มีวิทยาการทันสมัยอย่างในปัจจุบัน ด้วยความสามารถของพวกเขา ได้สร้างผลงานเป็นประโยชน์ต่อการเดินเรือ การทหาร และการประมงไว้อย่างมากมายCr.ภาพถ่ายจากศมส.แผนที่การเดินเรือสมัยก่อนเขียนด้วยมือ มีเครื่องเขียนแผนที่ซึ่งเป็นสมบัติส่วนตัวของ น.อ.ฟริตซ์ ทอมเซ็น เจ้ากรมอุทกศาสตร์คนแรก เขาได้เขียนแผนที่เดินเรือเมื่อพ.ศ 2464 แผนที่ที่เขียนได้แก่ แผนที่อ่าวสยาม เกาะกูด-แหลมเทียน โต๊ะเขียนแผนที่ Cr.ภาพถ่ายจากศมส.แผนที่ Cr.ภาพถ่ายจากศมส.อุปกรณ์การสร้างแผนที่ Cr.ภาพถ่ายจากศมส.กรมอุทกศาสตร์ มีหน้าที่ผลิตแผนที่ให้กับกองทัพเรือโดยตรง และยังมีแผนที่เดินเรือทั่วไปสำหรับจำหน่ายให้กับเอกชน นอกจากนี้งานอุทกศาสตร์ยังครอบคลุมไปถึงงานอุตุนิยมวิทยา งานสมุทรศาสตร์ งานเครื่องหมายทางเรือในรายละเอียดของงาน มีเรื่องของการวิเคราะห์คลื่น มีเครื่องตรวจกระแสน้ำ เครื่องวัดแดดวัดดาว เครื่องวัดอุณหภูมิของน้ำทะเล และมีเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเครื่องจักรทำนายน้ำ เครื่องนี้ผลิตจากประเทศอังกฤษ ใช้ทำข้อมูลระดับน้ำสำหรับทำหนังสือมาตราน้ำ ซึ่งแสดงตารางน้ำขึ้น-น้ำลงของน่านน้ำไทยเครื่องจักรทำนายน้ำ Cr.ภาพถ่ายจากศมส.ในงานสำรวจทางทะเลได้แบ่งสังกัดหมวดเรืออุทกศาสตร์เป็น 2 หมู่เรือได้แก่ หมู่เรือสำรวจ มีเรือ 4 ลำได้แก่ เรือหลวงจันทร เรือหลวงศุกร์ เรือหลวงพฤหัสบดี และเรือสำรวจใกล้ฝั่งขนาดเล็กอีก 1 ลำคือเรือ อศ. 3 และหมู่เรือที่ใช้ในงานเครื่องหมายทางเรือ มี 1 ลำคือ เรือหลวงสุริยะหน่วยอุทกศาสตร์มีตามต่างจังหวัดหลายแห่ง ซึ่งจะอยู่ริมทะเล เราจะมองเห็นเป็นประภาคาร มีทั้งที่ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา ชลบุรี พังงา หน่วยงานเหล่านี้จะมีหน้าที่ประจำคือการออกประกาศชาวเรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆอุปกรณ์ในงานอุทกศาสตร์ Cr.ภาพถ่ายจากศมส.การเข้าชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ไม่เพียงแต่เนื้อหาสาระ แต่การได้เห็นอุปกรณ์รูปร่างต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่มากมาย ได้ดึงสายตาสร้างความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เราคาดไม่ถึงว่าในงานแต่ละอย่างของทหารเรือในสมัยก่อน จะต้องใช้อุปกรณ์มากมายถึงขนาดนี้ กว่าจะได้เป็นแผนที่สักหนึ่งแผ่น หรือประกาศในแต่ละเรื่อง ล้วนต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างซับซ้อนมาก่อนทั้งสิ้น ทำให้เรารู้ว่าทหารเรือของเราก็เป็นหน่วยงานที่เก่งกาจ ไม่แพ้ใครมาตั้งแต่อดีตสถานที่ตั้ง : หอประวัติอุทกศาสตร์ไทย อาคารกองบังคับการกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ เลขที่ 222 ถนนริมทางรถไฟเก่า แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ : 02 475 2249 เวลาเปิด-ปิด : วันเวลาราชการ 8.30 น.- 16.30 น. ไม่เก็บค่าเข้าชม (ทำหนังสือขออนุญาตก่อนเข้าชม)การเดินทาง : หอประวัติอุทกศาสตร์ไทย อยู่ในบริเวณกรมอุทกศาสตร์ ถนนริมทางรถไฟเก่า เขตบางนา แต่เดิมพื้นที่นี้เป็นกรมสรรพาวุธ การเดินทางควรใช้แท็กซี่หรือรถส่วนตัว เพราะกรมอุทกศาสตร์มีพื้นที่กว้างขวางมากขอขอบคุณฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/35