รีเซต

หมอชวน 7 กลุ่มเสี่ยงรับวัคซีนหวัดใหญ่ฟรี! ลดการสับสนอาการโควิด-19 ได้

หมอชวน 7 กลุ่มเสี่ยงรับวัคซีนหวัดใหญ่ฟรี! ลดการสับสนอาการโควิด-19 ได้
มติชน
16 พฤษภาคม 2563 ( 16:21 )
130
1
หมอชวน 7 กลุ่มเสี่ยงรับวัคซีนหวัดใหญ่ฟรี! ลดการสับสนอาการโควิด-19 ได้

 หมอชวน 7 กลุ่มเสี่ยงรับวัคซีนหวัดใหญ่ฟรี! ลดการสับสนอาการโควิด-19 ได้

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ที่ กระทรวงสาธารณสุข นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์โรคระบาดในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง ซึ่งมีความจำเป็นในการป้องกันโดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19

นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า โรคที่มักจะมากับฤดูฝน ได้แก่ 1.โรคไข้เลือดออก ทำให้หลายคนอาจจะสับสนกับโรคโควิด-19 แต่สามารถแยกได้จากลักษณะที่ชัดเจนง่ายที่สุด คือ โรคไข้เลือดออกจะมีอาการไข้หลักเป็นหลัก ในขณะที่โควิด-19 จะมีอาการทั้งไข้และอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก แต่ที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อไม่ให้มีจำนวนผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องเข้าโรงพยาบาล(รพ.)เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น สธ.ขอเรียกร้องไปยังประชาชนช่วยกันป้องกันโรคไข้เลือดออกเต็มที่ เช่น การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การป้องกันยุงกัด ด้วยมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมก็จะช่วยให้มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกต่ำที่สุด

“ปีนี้เป็นปีที่จะต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือจริงๆ ถ้าเกิดมีอาการโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยบางคนก็จะมีอาการช็อก มักจะเกิดขึ้นในวันที่เริ่มมีอาการไข้ลง โดยจะมีไข้สูงประมาณวันที่ 2-7 วันแรก และช่วงที่มีอาการไข้ลดผู้ป่วยอาจจะมีอาการช็อก หรือว่ามีน้ำไหลออกจากหลอดเลือด ซึ่งโดยทั่วไปถ้าได้รับการรักษาอย่างดี ประคับประคองดีก็มักจะหายได้แล้วก็กลับมามีสุขภาพที่ดี” นพ.ธนรักษ์ กล่าว

นพ.ธนรักษ์ กล่าวต่อว่า โรคไข้หวัดใหญ่ ที่มีอาการป่วยคล้ายคลึงกัน จึงนั้นอยากเชิญชวนให้กลุ่มที่สามารถได้รับวัคซีนฟรี รีบไปรับวัคซีนโดยด่วน ได้แก่ 1.หญิงมีครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 2.เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี 3.ผู้มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจ หอบหืด ไตวาย หลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยมะเร็ง ที่อยู่ระหว่างการให้เคมีบำบัด และเบาหวาน 4.ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป 5.ผู้พิการทางสมอง ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 6.ผู้ที่ป่วยโรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HV ที่มีอาการ) และ 7.ผู้มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

“การให้วัคซีนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)จะอยู่บนพื้นฐานของใครมาก่อนได้รับวัคซีนก่อน หมดแล้วก็หมดเลย เพราะว่าเราสามารถจัดหาวัคซีนได้เพียงประมาณ 4 ล้านเข็ม สำหรับคนประมาณ 4 ล้านคน อยากจะเชิญชวนให้กลุ่มผู้ที่สามารถมีสิทธิได้รับวัคซีนฟรีไปรับวัคซีน และอีกกลุ่มที่สามารถรับวัคซีนได้ฟรี คือกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ โดยวัคซีนเริ่มที่จะส่งไปตามโรงพยาบาลต่างๆ การได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และไม่ได้ป้องกันโรคโควิด-19 แต่การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่จะทำให้ระบบบริการสาธารณสุข สามารถที่จะดำเนินการอย่างราบรื่นต่อไป แล้วก็ไม่สับสนในเรื่องของกลุ่มเสี่ยงบางกลุ่มนะครับที่เกิดมีอาการของไข้หวัดใหญ่ขึ้นมาแล้วจะต้องทุ่มเททรัพยากรไปตรงนั้น” นพ.ธนรักษ์ กล่าว

นพ.ธนรักษ์ กล่าวต่อว่า มีข่าวลือว่าการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น ขอชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง สามารถรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และป้องกันความรุนแรงของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้