เรื่อง : ชานาพิ้งในการออมเงินนั้น จุดเริ่มต้นของการวางแผนทางการเงินที่ดี อย่างที่เคยกล่าวไปในบทความก่อนหน้า ออมเงิน 101 : รู้จักกับ Cash Flow Management หลักการพื้นฐานในการสร้างความมั่นคงทางการเงิน แต่ยังมีหนึ่งขั้นตอนที่หลายคนมักจะมองข้ามไป เป็นขั้นตอนสำคัญที่เรียกได้ว่าสำคัญเป็นอันดับ 2 รองจากการจัดการกระแสเงินเลย นั่นก็คือWealth Protectionภาพประกอบจาก pexelWealth Protection แปลเป็นภาษาไทยก็คือ “การปกป้องความมั่งคั่ง” หรือให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ “การปกป้องเงินของเราไว้” นั่นเอง บันไดสู่ความมั่งคั่ง ไม่ใช่เพียงแค่การก้มหน้าหาเงินและสะสมเพียงอย่างเดียว สิ่งสำคัญคือต้องปกป้องเงินให้อยู่กับตัวให้นานที่สุดด้วยเคยไหม ? เมื่อเราเริ่มเก็บเงินได้มาซักระยะหนึ่ง (เงินสำรองฉุกเฉินที่ดี ควรมีประมาณ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน) มีเงินก้อนไว้หมุนในเรื่องต่างๆ จนเกิดสภาพคล่องทางการเงินแล้ว แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เช่น มือถือจอแตก หมาป่วย รถโดนชน ไส้ติ่งอักเสบ ฯลฯ เป็นเหตุให้เราจำเป็นต้องนำเงินเก็บของเรานั้นมาใช้จ่ายกับเหตุการณ์ครั้งนั้น บางเหตุการณ์ก็ดีหน่อยตรงที่ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก แต่บางเหตุการณ์อาจจะเป็นการนำเงินเก็บทั้งหมดที่มีของเราไปใช้จนหมดเลยก็เป็นได้ทุกเหตุการณ์เป็น “ความเสี่ยงทางการเงิน” ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ จึงทำได้เพียงแค่ป้องกันไว้เท่านั้น การทำประกัน ในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการปกป้องเงินของเราไว้ เป็นการผลักความเสี่ยงไปให้ผู้อื่นรับผิดชอบแทนเรา แต่น่าเสียดายที่หลายคนมักมองข้ามการจัดการความเสี่ยงด้านนี้ไป เพราะคิดว่าเป็นการสิ้นเปลือง หากไม่เกิดขึ้นเท่ากับเสียเงินไปโดยใช่เหตุ แต่อยากให้คิดเสมอว่า ไม่เกิดยังดีเสียกว่า เกิดแล้วแต่จัดการไม่ได้ภาพประกอบจาก pixabayหลักการง่าย ๆ ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง คือจะต้องคิดว่า ความเสี่ยงอะไรที่สามารถเกิดขึ้นกับเราได้มากที่สุด ซึ่งในช่วงชีวิตของแต่ละคนย่อมมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน โดยในที่นี้จะขอแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้1. ความเสี่ยงด้านทรัพย์สิน โดยเฉพาะทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง เช่น รถยนต์ ที่อยู่อาศัย มีโอกาสเสียหายจากเหตุการณ์ที่ไม่คากคิดเช่น ถูกโจรกรรม อัคคีภัย วาตภัย ฯลฯ ทรัพย์สินเหล่านี้หากเสียหายแล้ว หนีไม่พ้นที่จะใช้เงินจำนวนมากในการซ่อมแซม หรือซื้อใหม่ การทำประกันทรัพย์สิน หรือใช้ทรัพย์สินอย่างระมัดระวังจึงจะปกป้องเงินของเราได้2. ความเสี่ยงด้านสุขภาพ ค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย โรคร้ายแรง เงินชดเชยรายได้กรณีเจ็บป่วยไม่สามารถทำงานได้ ความเสี่ยงนี้เป็นความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงที่สุด การทำประกันสุขภาพจึงเหมือนเป็นการผ่อนปรนค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพลงได้มาก แต่ทางที่ดีที่สุด คือการรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอนั่นเอง3. ความเสี่ยงด้านชีวิต ทั้งการเสียชีวิตตามปกติ เสียชีวิตจากโรคร้าย หรือแม้แต่อุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน ภาระหนี้สิน การเลี้ยงดูพ่อแม่ เลี้ยงดูบุตร หรือภาระต่างๆที่มี จะถูกลงต่อไปยังคนในครอบครัว จะต้องมารับภาระทั้งหมดของเราแทน การทำประกันชีวิต หรือประกันอุบัติเหตุเหล่านี้ จึงเป็นการผลักภาระไปให้คนอื่นจัดการแทนคนในครอบครัว เพื่อให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่สามารถใช้ชีวิตต่อไปได้โดยลดภาระลง4. ความเสี่ยงยามเกษียณ เป็นความเสี่ยงระยะยาว ความเสี่ยงนี้มีวิธีการบริหารจัดการที่ยาวนาน หากรู้ตัวเร็วย่อมเป็นผลดี เนื่องจากจะมีระยะเวลาในการวางแผนได้รอบคอบและรัดกุมมากกว่า หากปราศจากการวางแผนเกษียณที่ดีแล้ว เงินเก็บที่สะสมมาทั้งชีวิตอาจหมดได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ปัจจุบันมีวิธีการป้องกันความเสี่ยงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การทำประกันบำนาญ การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่าหลังจากที่เกษียณอายุการทำงานแล้วจะมีเงินใช้ไปจนกว่าจะเสียชีวิต(ศึกษาการวางแผนเกษียณได้ ในบทความ : ออมเงิน 101 : 3 ขั้นตอน วางแผนเกษียณด้วยตนเองง่าย ๆ สำหรับทุกคน)ภาพประกอบจาก freepikแต่ละคนล้วนมีความเสี่ยงในระดับที่ต่างกัน ในช่วงอายุและการใช้ชีวิต ยกตัวอย่างการวางแผนจัดการความเสี่ยง ที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางการเงินของเรา อันดับแรกต้องวิเคราะห์ก่อนว่าตนเองมีรูปแบบการทำงาน หรือการใช้ชีวิตแบบไหน เช่น นาย A อายุ 25 ปี ทำงานที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่มีความมั่นคง บริษัทมีสวัสดิการเป็นประกันสุขภาพ อยู่หอพัก ขับรถจักรยานยนต์ไปทำงานทุกวัน เป็นต้นดังนั้นจะเห็นได้ว่า ความเสี่ยงของนาย A นั้น ในเรื่องของสุขภาพ ได้มีประกันสุขภาพซึ่งเป็นสวัสดิการของบริษัทจัดการให้แล้ว ความเสี่ยงใหญ่ที่สำคัญของเขา จึงเป็นเรื่องของอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์มากกว่า ดังนั้นนาย A จึงไม่ควรมองข้าม การทำประกันอุบัติเหตุ และประกันรถจักรยานยนต์ เอาไว้ กรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ในขณะที่ประกันชีวิต เป็นเรื่องที่สำคัญรองลงมา อาจจะขยับขยายหลังจากที่ฐานะทางการเงินได้เพิ่มมากขึ้นแล้วทั้งหมดที่นี้ความเสี่ยง ที่จะลดทอนความมั่งคั่งของเราได้ทุกวัน ดังนั้นอย่าลืมถามตัวเองว่า ทุกวันนี้เรามีแผนที่จะปกป้องเงินของเราได้ดีมากพอหรือยัง หากยังควรเริ่มต้นวางแผนทางการเงินได้แล้ว เพื่อชีวิตที่มั่งคั่งและสบายใจในภายภาคหน้านั่นเอง