รีเซต

นักวิจัยเผยเส้นทางอพยพ 'นกนางแอ่นปักกิ่ง' พบบินไป-กลับปีละเกือบ 30,000 กม.

นักวิจัยเผยเส้นทางอพยพ 'นกนางแอ่นปักกิ่ง' พบบินไป-กลับปีละเกือบ 30,000 กม.
Xinhua
7 กรกฎาคม 2565 ( 10:43 )
61
นักวิจัยเผยเส้นทางอพยพ 'นกนางแอ่นปักกิ่ง' พบบินไป-กลับปีละเกือบ 30,000 กม.

ปักกิ่ง, 6 ก.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิจัยชาวจีนและต่างชาติเปิดเผยเส้นทางการอพยพและชีวภูมิอากาศวิทยาหรือการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล (phenology) ของนกนางแอ่นปักกิ่ง (Beijing swift) เป็นครั้งแรกผ่านทางวารสารมูฟเมนต์ อีโคโลจี (Movement Ecology)

 

อนึ่ง นกนางแอ่นปักกิ่งเป็นนกที่ทำรังแบบโพรง และมักทำรังอยู่ในรูและรอยแยกของสิ่งก่อสร้างเก่าๆบรรดานักวิจัยจากจีน สวีเดน สหราชอาณาจักร และเบลเยียม ได้ติดตั้งเครื่องระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์แบบแสง (light-level geolocator) ไว้กับนกนางแอ่นปักกิ่งจำนวน 66 ตัว ตั้งแต่ปี 2014-2018 เพื่อบันทึกระดับความเข้มของแสง (light intensity) ตลอดการเดินทางอพยพ และติดตามตำแหน่งของพวกมันตามการเปลี่ยนแปลงระหว่างวันข้อมูลระดับความเข้มของแสงที่ได้จากนกนางแอ่นปักกิ่งจำนวน 25 ตัว บ่งชี้ว่าพวกมันเริ่มบินออกจากปักกิ่ง มุ่งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม จากนั้นบินไปถึงแอฟริกาตอนกลางในช่วงต้นเดือนกันยายน ก่อนจะค่อยๆ เคลื่อนตัวไปทางใต้ จนท้ายที่สุดมาถึงที่ราบสูงแอฟริกาใต้ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนหลังจากที่พวกมันใช้ชีวิตช่วงฤดูหนาวบนที่ราบสูงแอฟริกาใต้เป็นเวลาประมาณ 100 วันแล้ว พวกมันก็เริ่มบินขึ้นไปทางตอนเหนืออย่างรวดเร็วในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ และบินออกจากแอฟริกาช่วงต้นเดือนเมษายน ก่อนกลับมาถึงปักกิ่งช่วงปลายเดือนเมษายนผลวิจัยพบว่านกนางแอ่นปักกิ่งเดินทางไป-กลับเกือบ 30,000 กิโลเมตรในแต่ละปี โดยบินผ่านกว่า 37 ประเทศในทวีปเอเชียและแอฟริกา โดยเส้นทางบินดังกล่าวบ่งชี้ว่าพวกมันมักบินตามเส้นทางการอพยพอย่างเถรตรงและเคลื่อนตัวรวดเร็วขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิคณะนักวิจัยยังสรุปว่าปริมาณหยาดน้ำฟ้ารายปีในพื้นที่ผสมพันธุ์และใช้ชีวิตช่วงฤดูหนาวของนกนางแอ่นปักกิ่งนั้นต่ำกว่าปริมาณหยาดน้ำฟ้ารายปีในพื้นที่ผสมพันธุ์และใช้ชีวิตช่วงฤดูหนาวของนกนางแอ่นทั่วไปที่อาศัยกระจายอยู่ทั่วยุโรปอย่างเห็นได้ชัด และนกนางแอ่นปักกิ่งสามารถปรับตัวให้เข้ากับที่อยู่อาศัยกึ่งแห้งแล้งและเขตภูมิอากาศแห้งแล้งได้ดีทั้งนี้ ทีมวิจัยตั้งเป้าหมายประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนม (genome sequencing) เพื่อทำการศึกษาพันธุศาสตร์ในการอพยพของนกนางแอ่นปักกิ่งในอนาคต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง