ภาพปกโดย : Wilaialk1. ใช้ YouTube เพื่อดึงดูดความสนใจก่อนเข้าเนื้อหาการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ครูจะต้องดึงดูดความสนใจของนักเรียนให้เกิดความสนใจและอยากมีส่วนร่วมในเรื่องที่จะเรียน เนื้อหาการเรียนในหลายเรื่องสามารถเพิ่มวีดีโอที่เหมาะสมในการเรียนการสอนเพื่อลดความเบื่อหน่ายของนักเรียนได้เป็นอย่างดี การค้นหาวีดีโอจาก YouTube เพื่อสร้างบรรยายกาศและการเรียนให้สนุกสนานนั้นเป็นเรื่องง่ายเพราะใน YouTube มีวีดีโอหลากหลายให้เรียนรู้และสามารถเข้าใช้งานได้ฟรี แต่การแสดงวีดีโอนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อหา การค้นหาวีดีโอใน YouTube ไม่ใช่เรื่องยากเพียงแค่ใส่คีย์เวิร์ดที่ต้องการก็สามารถหาวีดีโอได้ง่าย ๆ โดยคัดเลือกวีดีโอที่เหมาะสมกับหัวข้อที่ครูจะดำเนินการสอน นอกจากวีดีโอจะช่วยสร้างความสนุกสนานและดึงดูดความสนใจของผู้เรียนแล้ว ครูยังสามารถตั้งคำถามหรือสร้างกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวีดีโอเพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้และประโยชน์จากวีดีโอมากขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น หากจะสอนเรื่อง การตลาด ค้นหาวีดีโอที่ดึงดูดความสนใจเกี่ยวกับการขาย อาจหาตัวอย่างวีดีโอที่นำมาใช้ดึงดูดความสนใจในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เช่น วีดีโอจาก โครงการสานรัก เรื่อง สับปะรด เป็นต้น จากนั้นตั้งคำถามให้นักเรียนเกิดการคิดวิเคราะห์และนำไปสู่การเข้าเนื้อหาวิชาเรียน ยกตัวอย่างคำถาม ดังนี้1. เด็กผู้หญิงในวีดีโอทำอะไร2. เด็กผู้หญิงเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร3. เด็กผู้หญิงไปเรียนรู้วิธีการขายจากที่ไหน4. ถ้าเราเป็นเด็กในวีดีโอ เรามีวิธีการเรียนรู้การขายจากที่ไหนได้บ้าง 2. ใช้ YouTube เป็นสื่อการสอนในเนื้อหา YouTube เป็นสื่อที่มีความเคลื่อนไหวที่นอกเหนือจากการบรรยายธรรมดา ดังนั้นการนำ YouTube มาเป็นสื่อในการสอนจะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่ได้ศึกษามากยิ่งขึ้น ครูสามารถเลือกวีดีโอที่มีผู้คนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้บน YouTube มาใช้เป็นสื่อการสอนได้ฟรี การนำ YouTube มาเป็นสื่อการสอนในชั้นเรียน ถือได้ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนการสอนได้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะ YouTube เป็นสื่อที่ช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจ และมีความสนใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นสื่อที่มีการเคลื่อนไหว มีเสียง ทำให้นักเรียนเห็นสถานการณ์จริง เสียงจริง นอกจากจะเป็นสื่อที่มีความสำคัญในชั้นเรียนแล้ว ครูยังสามารถตั้งคำถามหรือหัวข้อ เพื่อให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองได้ทุกเวลาและทุกสถานที่อีกด้วย วีดีโอจาก YouTube เป็นสื่อการสอนนี้สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนครูของโรงเรียน ยกตัวอย่างเช่น ให้ครูกลุ่มสาระอื่นมาสอนในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ก็สามารถใช้วีดีโอจากช่องรายการต่างๆ ใน YouTube ประกอบการสอน ใช้เป็นสื่อสร้างความรู้ให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี YouTube มีช่องรายการมาตรฐานทางการศึกษามากมายที่สามารถนำวีดีโอมาใช้เป็นสื่อการสอนในเนื้อหาทุกกลุ่มสาระฯ เช่น TruePlookpanya Channel, DLIT PLC พัฒนาวิชาชีพครู, DLIT Classroom ห้องเรียน DLIT, DLIT Resources คลังสื่อการสอน เป็นต้น ช่องรายการตัวอย่างดังต่อไปนี้ มีความง่ายดายในการค้นหาสื่อการสอนในเนื้อหามาก เพราะว่าสร้างเพลย์ลิสต์จัดกลุ่มวีดีโอ แยกกลุ่มสาระฯ แยกชั้นเรียน เป็นระเบียบสะดวก และใช้เวลาน้อยมากในการค้นหาสื่อประกอบการสอน เช่น ช่อง DLIT Classroom ตามลิงค์ https://qrgo.page.link/fEik7 รูปภาพโดย : Wilailak นอกจากนี้ยังมีการรวมลิงค์ YouTube ฝังไว้ในเว็บไซต์สะดวกต่อการค้นหา แยกเป็นชั้นเรียน กลุ่มสาระฯ พร้อมมีใบงานประกอบการสอน เช่น ทรูปลูกปัญญา ตามลิงค์นี้ https://qrgo.page.link/S7EZA รูปภาพโดย : Wilailak 3. ให้นักเรียน ใช้ YouTube เป็นเครื่องมือนำเสนอหรืออภิปรายชิ้นงาน การเรียนการสอนบางเนื้อหามีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนสร้างผลงานและนำเสนอผลงาน เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ครูสามารถให้นักเรียนจัดทำผลงาน แล้วใช้โทรศัพท์มือถืออัดวีดีโอการนำเสนอผลงานอัพโหลดลง YouTube จากนั้นเผยแพร่ผลงานของผู้เรียน นำเสนอผลงานผ่านทาง YouTube และแบ่งปันให้เพื่อนสามารถเข้าไปดูผลงานได้ง่าย ๆ โดยการแชร์ลิงค์สู่กลุ่มเรียนที่ครูได้สร้างขึ้นแต่ละกลุ่ม เช่น Google Classroom , Facebook เป็นต้น ยกตัวอย่าง เช่น การสอนวิชาศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ที่เป็นการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อประหยัดเวลาการนำเสนอ ให้นักเรียนอัดวีดีโอการนำเสนอผลงานของตนเองลง YouTube แล้วครูจัดทำเพจบน Facebook เพื่อรวบรวมผลงานของนักเรียนออกเผยแพร่ รูปภาพโดย : Wilailak 4. ครูสามารถเผยแพร่เนื้อหาความรู้ลง YouTube โดยการสร้าง Channel ครูทุกคนสามารถถ่ายทอดความรู้ของตนเองโดยถ่ายวีดีโอลง YouTube เพื่อให้นักเรียนได้รับโอกาสการเรียนได้ทั่วถึงกัน ไม่ใช่แค่เพียงเด็กในชั้นเรียนที่ได้รับความรู้แต่เป็นเด็กไทยทุกคนที่มาเรียนรู้เพิ่มเติมจากวีดีโอที่บันทึกไว้ลง YouTube ครูสามารถบันทึกบทเรียนหรือบรรยากาศในชั้นเรียนขณะทำการสอนแล้วให้ YouTube เป็นพื้นที่จัดเก็บวีดีโอและแบ่งปันกิจกรรมในชั้นเรียนที่บันทึกไว้แก่ผู้ที่สนใจเนื้อหาที่สอน นอกจากนั้นนักเรียนที่เรียนเนื้อหานั้นผ่านไปก็สามารถกลับมาย้อนดูการเรียนการสอนในอนาคตได้ หากนักเรียนคนใดขาดเรียนครูก็สามารถส่งลิงค์วีดีโอใน YouTube ไปให้นักเรียนที่พลาดชั้นเรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ครูได้สอน หรือนักเรียนต้องการทบทวนความรู้ก่อนสอบ YouTube ก็สามารถช่วยให้นักเรียนเข้าทบทวนบทเรียนได้ง่ายดาย การเผยแพร่เนื้อหาความรู้โดยการสร้าง Channel ของตนเองมีวิธีง่าย ๆ ดังนี้ 1. ทำการสร้าง Account YouTube (ถ้าหากใช้ Gmail อยู่สามารถใช้ Account เดียวกับ Google เพื่อ Login ได้เลย) 2. ครูสร้างสื่อไฟล์วีดีโอของตนเอง นามสกุล ดังนี้ .Windows Media Video(.avi) /3GP(cell phones)/AVI(windows)/MOV(mac)/.MP4 (ipod/psp)/.MPEG/.FLV (adobeflash).SWF (shockwave flash)/.MKV (h.264) 3. เตรียมวีดีโอให้พร้อม อัพโหลดวีดีโอ 4. สร้าง Playlist เพื่อจัดกลุ่มวีดีโอ 5. ตกแต่ง Channel ของตนเอง 6. นำลิงค์ YouTube ฝังในเว็บไซต์ บล็อก เพจโรงเรียน หรือโพสลง Facebook เป็นต้น ยกตัวอย่าง เช่น ช่องรายการครูนกเล็ก ที่นำเนื้อหาที่สอนมาประกอบกับเพลงจนเข้าจังหวะเกิดความสนุกสนาน นักเรียนที่ได้เรียนรู้ไม่ใช่แค่ในห้องเรียนแต่สามารถเป็นเด็กไทยทั่วประเทศ ดูตัวอย่างช่องที่ลิงค์ https://www.youtube.com/user/selflearningthai รูปภาพโดย : Wilailak 5. ใช้ YouTube เป็นสื่อช่วยสรุปเนื้อหาท้ายบทเรียน การสอนในแต่ละท้ายหน่วยการเรียนรู้ ครูสามารถนำวีดีโอสั้น ๆ จาก YouTube ตามเนื้อหา เปิดให้นักเรียนดูสรุปความรู้ในภาพรวม ให้นักเรียนถอดความรู้จากวีดีโอเพื่อทบทวนความรู้ที่ได้เรียนรู้มาทั้งหมดในหน่วยการเรียนรู้นั้น ๆ หรือครูอาจหาหนังสั้นที่สอดคล้องกับเนื้อหาตั้งคำถามให้มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่างวีดีโอกับเนื้อหาวิชา เพื่อส่งเสริมทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ฝึกนักเรียนให้เกิดทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ หรือเป็นวีดีโอสรุปความรู้เป็นแนวข้อสอบ O-net นักเรียนจะได้มีความเข้าใจในบทเรียนนั้นมากขึ้นโดยความยาวของวีดีโอไม่เกิน 5 นาที เพราะความสนใจของผู้เรียนจะอยู่ไม่เกิน 5 นาที ต่อ 1 วีดีโอ การใช้วีดีโอจาก YouTube สรุปเนื้อหาให้นักเรียนสามารถทำให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้นเพราะวีดีโอจะมีภาพ มีเสียง มีความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ยกตัวอย่าง เช่น การสอนหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต ในกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อจบท้ายหน่วยการเรียนรู้ สามารถนำวีดีโอจาก YouTube สรุปแนวข้อสอบ O-net เพราะในแต่ละข้อเมื่อเฉลยแล้วจะมีสรุปเนื้อหาแบบกระชับเข้าใจง่าย