สวัสดีคร้าบบบบบบบบบบ เพื่อนพ้องน้องพี่ผู้เสียภาษีทุกคน เคยเป็นไหมครับ? ถึงเวลายื่นภาษีทีไร งงทุกทีว่าจะคำนวณยังไงดี ตัวเลขก็เยอะ กฎหมายก็ดูซับซ้อน แต่ไม่ต้องห่วง! วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ มาเรียนรู้การคำนวณภาษี 2567 แบบง่าย ๆ สไตล์จับมือทำ อ่านจบปุ๊บไปลองทำเองได้เลย เพียง "5 ขั้นตอน! สอนคํานวณภาษี 2567 แบบง่าย ๆ ฉบับจับมือคำนวณ" ติตตามอ่านได้เล้ยยยยย 1. รู้จัก "รายได้สุทธิ" ก่อนสิ่งอื่นใด รายได้สุทธิ คือ รายได้ที่เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ออกไปแล้ว ซึ่งเป็นฐานสำหรับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับผม โดยมีสูตร คือ รายได้สุทธิ = รายได้ทั้งหมด - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน คำอธิบายคำศัพท์นะครับ เอาแบบง่าย ๆ คือ รายได้ทั้งหมด ก็คือ รวมทุกอย่างที่เราได้รับ เช่น เงินเดือน, โบนัส, รายได้จากธุรกิจ ค่าใช้จ่าย จะหักตามประเภทของรายได้ (เช่น เงินเดือนหักได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท) ค่าลดหย่อน อันนี้เยอะเลย เช่น ลดหย่อนส่วนตัว (60,000 บาท), ลดหย่อนคู่สมรส, บุตร, ประกันชีวิต, ดอกเบี้ยบ้าน ย้ำ! แต่ละคนลดหย่อนไม่เหมือนกันนะ มาดูตัวอย่างกันนะ คุณสมศรี มีรายได้ทั้งปี 500,000 บาท เธอหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท และค่าลดหย่อนอีก 150,000 บาท ดังนั้น คุณสมศรีจะรายได้สุทธิ = 500,000 - 100,000 - 150,000 = 250,000 บาท ครับผม ง่ายใช่ป่ะ 2. ใช้อัตราภาษีขั้นบันได พอได้ "รายได้สุทธิ" แล้ว ก็มาดูตารางอัตราภาษีกัน ข้อมูลปี 2567 เขายังใช้ระบบเดิม คือ ขั้นบันได แบบนี้ครับ 3. จับตัวเลขมาใส่ขั้นบันได คิดไปทีละขั้น สมมุตินะครับว่าเรามีรายได้สุทธิ 250,000 บาท ก็แบ่งคำนวณตามนี้: ช่วง 0 - 150,000 บาท: ยกเว้นภาษี ช่วง 150,001 - 250,000 บาท: คิด 5% = 5,000 บาท รวมภาษีที่ต้องจ่ายนะครับ คือ 5,000 บาท ทีนี้นะครับ ถ้ารายได้มากกว่านี้ จะยากขึ้น โดยมีขั้นตอนดังนี้ ภาษี = (เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีสะสมสูงสุดของขั้นก่อนหน้า โดยเริ่มจากคำนวณ "เงินได้สุทธิ" ก่อน จากนั้นนำไปเทียบกับ อัตราภาษีแบบขั้นบันได ตามนี้นะครับ ตัวอย่างที่ 1: คุณสมศรี (เงินเดือน 30,000 บาท/เดือน) คำนวณเงินได้สุทธิ: รายได้ทั้งปี = 30,000 x 12 = 360,000 บาท หักค่าใช้จ่าย = 100,000 บาท หักค่าลดหย่อนส่วนตัว = 60,000 บาท หักค่าลดหย่อนประกันสังคม = 9,000 บาท เงินได้สุทธิ = 360,000 - 100,000 - 60,000 - 9,000 = 191,000 บาท คำนวณภาษี: 191,000 บาท อยู่ในช่วง 150,001 - 300,000 บาท ภาษี = (191,000 - 150,000) x 5% + 0 ภาษี = 41,000 x 5% = 2,050 บาท ตัวอย่างที่ 2: คุณสมบัติ (เงินเดือน 50,000 บาท/เดือน) คำนวณเงินได้สุทธิ: รายได้ทั้งปี = 50,000 x 12 = 600,000 บาท หักค่าใช้จ่าย = 100,000 บาท หักค่าลดหย่อนส่วนตัว = 60,000 บาท หักค่าลดหย่อนประกันสังคม = 9,000 บาท เงินได้สุทธิ = 600,000 - 100,000 - 60,000 - 9,000 = 431,000 บาท คำนวณภาษี: 431,000 บาท อยู่ในช่วง 300,001 - 500,000 บาท ภาษี = (431,000 - 300,000) x 10% + 7,500 ภาษี = 131,000 x 10% + 7,500 = 13,100 + 7,500 = 20,600 บาท ตัวอย่างที่ 3: คุณดิเรก (เงินเดือน 100,000 บาท/เดือน) คำนวณเงินได้สุทธิ: รายได้ทั้งปี = 100,000 x 12 = 1,200,000 บาท หักค่าใช้จ่าย = 100,000 บาท หักค่าลดหย่อนส่วนตัว = 60,000 บาท หักค่าลดหย่อนประกันสังคม = 9,000 บาท เงินได้สุทธิ = 1,200,000 - 100,000 - 60,000 - 9,000 = 1,031,000 บาท คำนวณภาษี: 1,031,000 บาท อยู่ในช่วง 750,001 - 1,000,000 บาท ภาษี = (1,031,000 - 750,000) x 20% + 115,000 ภาษี = 281,000 x 20% + 115,000 = 56,200 + 115,000 = 171,200 บาท สรุปภาษีที่ต้องจ่าย คุณสมศรี: 2,050 บาท คุณสมบัติ: 20,600 บาท คุณดิเรก: 171,200 บาท 4. เช็กว่ามีอะไรช่วยลดภาษีเพิ่มได้อีกไหม นอกจากนี้นะครับผม ท่านผู้อ่านอย่าลืมลองเช็กสิทธิ์ลดหย่อนอื่น ๆ เช่น ประกันชีวิต/สุขภาพ: ลดได้สูงสุด 25,000 บาท ดอกเบี้ยบ้าน: ลดได้สูงสุด 100,000 บาท กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือ SSF: ลดได้ตามกฎของกรมสรรพากร ถ้าลดหย่อนได้เพิ่มก็จะช่วยให้ภาษีที่ต้องจ่ายน้อยลงนะครับ 5. เปรียบเทียบกับภาษีที่โดนหัก ณ ที่จ่าย ท้ายสุดนะครับ ถ้าทำงานประจำ ทุกเดือนเราจะโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายอยู่แล้ว ลองเอายอดภาษีที่เราคำนวณมาเปรียบเทียบ ถ้าหักเกิน: ขอคืนภาษีได้ ถ้าหักขาด: ต้องจ่ายเพิ่ม ตรวจสอบดูนะครับ ว่าเราขอคืนได้ไหม ถ้าขอคืนได้สามารถดำเนินการได้เลยครับ เห็นได้เลยใช่ไหมละครับ การคำนวณภาษีไม่ยากอย่างที่คิด แค่เริ่มจากการเก็บข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนให้ครบ ถ้าอยากให้ชัวร์ ลองใช้โปรแกรมออนไลน์ของกรมสรรพากร (e-Filing) เพื่อช่วยคำนวณและยื่นได้เลยปีนี้เพื่อน ๆ ไม่ต้องกลัวเรื่องภาษีอีกแล้ว ลองคำนวณเองดูสิ เดี๋ยวจะรู้ว่าไม่ยากอย่างที่คิด! ที่มาภาพ ภาพหน้าปก ภาพโดย FlyFin Inc จาก Pixabay ภาพที่ 1 ภาพโดย Steve Buissinne จาก Pixabay ภาพที่ 2 ภาพโดย Steve Buissinne จาก Pixabay ภาพที่ 3 ภาพโดย ผู้เขียน ภาพที่ 4 ภาพโดย ผู้เขียน ภาพที่ 5 ภาพโดย Steve Buissinne จาก Pixabay ภาพที่ 6 ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !