รีเซต

กาชาดปัตตานีเปิดโครงการ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้เยาวชนในถิ่นทุรกันดาร

กาชาดปัตตานีเปิดโครงการ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้เยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
มติชน
5 เมษายน 2564 ( 15:52 )
72
กาชาดปัตตานีเปิดโครงการ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้เยาวชนในถิ่นทุรกันดาร

เหล่ากาชาดปัตตานีเปิดโครงการ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้เยาวชนในถิ่นทุรกันดาร จังหวัดปัตตานีพร้อมมอบถุงยังชีพเพื่อการศึกษา

 

เมื่อวันที่ 5 เมษายน ที่หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี นายราชิต สุดพุ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี มอบหมายให้ ว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวต้อนรับ นายวิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด พร้อมเป็นประธานเปิดโครงการ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้เด็กนักเรียนและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร จังหวัดปัตตานี

 


 

โดยมี นางสุขะนิตย์ สุดพุ่ม นายกเหล่ากาชาดจังหวัดปัตตานี กล่าวรายงานว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงมีความห่วงใจนักเรียนและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร โดยทรงมีพระราชดำริ “โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้เด็กนักเรียนและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร” ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ในพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร ได้มีความรู้เพิ่มเติมจากการเรียนในห้องเรียนจนสามารถอ่านออก เขียนได้ ตามเกณฑ์ และสมวัย

 

สำหรับกิจกรรมในวันนี้ ประธานในพิธี พร้อมแขกผู้มีเกียรติ เยี่ยมชมบูธของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 6 โรงเรียน และบูธของ กศน. 1 บูธ มอบชุดยังชีพ เพื่อการศึกษา แก่นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 219 ชุดโดยในถุงยังชีพเพื่อการศึกษาประกอบด้วย 1.กระเป๋าใส่ดินสอ 2.หน้ากากอนามัยสภากาชาดไทย 2 ชิ้น 3.แบบฝึกระบายสี 1 เล่ม 4.แบบคัดลายมืออักษรไทย 1 เล่ม/ดินสอ/ปากกาและ ยางลบ 5.แบบสะกดรูปคำ

 


 

โดยมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการและได้รับมอบถึงยังชีพเพื่อการศึกษา ประกอบด้วย 1.โรงเรียน ตชด.พีระยานุเคราะห์ 2.โรงเรียนชุมชนบ้านบางเก่า 3.โรงเรียนบ้านเจาะบาแน 4.โรงเรียนธรรมพิทยาคาร 5.โรงเรียนบากงพิทยา 6.โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา

 


 

จากนั้น นายกฤษฎา บุญราช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สภากาชาดไทย พบปะผู้ร่วมโครงการฯ ผ่านระบบทางไกลซูม โดยแนะนำการบริหารจัดการโครงการดังกล่าวจากที่ทำงานสภากาชาดไทย กรุงเทพ ด้วยว่าขอให้นายกเหล่ากาชาดจังหวัดได้ประสานกับโรงเรียนต่างๆในจังหวัดว่ามีปัญหาเด็กนักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนภาษาไทยหรือไม่และต้องการให้เหล่ากาชาดสนุบสนุนอะไรบ้างเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว หลังจากนั้นให้นายกเหล่ากาชาดนำเรื่องปัญหาและความต้องการของโรงเรียนไปหารือกรรมการกาชาดจังหวัดหรือสมาชิกอาสาเครือข่ายสภากาชาดไทยในพื้นที่ตลอดจนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อหาวิธีการช่วยเหลือโรงเรียนเหล่านั้นต่อไป

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง