รู้หรือไม่ว่า น้องแมวที่มีสุขภาพดีสามารถอยู่กับเราได้มากถึง 20 ปี เคล็ดลับในการดูแลทูลหัวสุดที่รักของทาสแมวนั้น จริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องยากเลยถ้าหากเราให้ความใส่ใจในสุขอนามัยของน้องๆอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอาหารการกิน ที่พักอาศัย ของใช้ การทำวัคซีน และการตรวจสุขภาพเป็นประจำ (ซึ่งหลายๆคนอาจจะมองข้ามในส่วนนี้ไป)วันนี้ GENWHYYOUTH จะมาแนะนำ 5 โรคติดต่อ (สำคัญ) ของน้องแมว ที่สามารถป้องกันได้แต่เนิ่นๆโดยการฉีดวัคซีน 1. โรคไข้หัดแมว หรือ โรคลำไส้อักเสบติดต่อในแมวชื่อย่อ: FP: Feline Panleukopenia Virus / Feline Distemperชื่อทางวิทยาศาสตร์: Feline Panleukopenia Virusโรคไข้หัดแมวเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มพาร์โวไวรัส (Parvovirus) ข้อสังเกตุเกิดขึ้นได้กับลูกแมวทุกช่วงวัย แต่ส่วนมากจะพบได้ในลูกแมว (อายุน้อยกว่า 1 ปี)เชื้อสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงเชื้อสามารถดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน เชื้อจะถูกขับออกโดยอุจาระติดต่อได้จากแมวสู่แมว แหล่งเชื้อโรค คือ สิ่งของที่ปนเปื้อนอุจาระของแมวที่ป่วย ลูกแมวเกิดใหม่ติดเชื้อ อาจเสียชีวิตภายใน 1 อาทิตย์อัตราการเสียชีวิตสูงถึง 75%อาการ (ที่พบได้บ่อยครั้ง)ซึม มีไข้ ตัวสั่นเบื่ออาหาร มีสภาวะขาดน้ำอาเจียนหรือท้องเสียแท้งการรักษารักษาตามอาการให้ยาปฏิชีวนะการป้องกันทำวัคซีน2. โรคหวัดแมว หรือ โรคระบบทางเดินหายใจในแมวชื่อย่อ: Cat Flu / FRD: Feline Respiratory Disease / URIs: Upper Respiratory Infectionsชื่อทางวิทยาศาสตร์: Feline Respiratory Diseaseโรคหวัดแมวสามารถเกิดได้จากเชื้อไวรัสหลากหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่โรคนี้มักเกิดจาก ไวรัสสำคัญ 2 ชนิด คือ ไวรัสเฮอร์ปี (FHV: Feline Herpes Virus) และ ไวรัสแคลิซี (FCV: Feline Calici Virus)ข้อสังเกตุมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจระบาดสูงในอัตรา 40 - 50%แมวที่ติดเชื้อ (อัตรา 80%) เป็นพาหะอัตราการเสียชีวิต (ในลูกแมว) สูงถึง 75%แหล่งเชื้อโรค คือ น้ำมูก น้ำตา และน้ำลายติดต่อได้ผ่านการหายใจและกิจกรรมระหว่างแมว (เช่น การแต่งขนให้กัน)อาการ (ที่พบได้บ่อยครั้ง)มีน้ำมูก น้ำตาใสๆ (ซึ่งต่อมาจะข้นเหนียว มีหนอง)ซึม จาม มีไข้ เบื่ออาหาร ขนหยาบเยื่อตาและเยื่อจมูกอักเสบมีน้ำลายเยอะ มีแผลหลุมในปาก (ด้านหลังของปาก หรือ เพดานอ่อน)แท้งการรักษารักษาตามอาการให้ยาปฏิชีวนะให้ยาลดน้ำมูกให้ยากระตุ้นความอยากอาหารการป้องกันทำวัคซีนดูแลสุขอนามัย ความสะอาดควรแยกเลี้ยงลูกแมวจนกว่าจะทำวัคซีนแล้ว (อย่างน้อย 3 อาทิตย์)3. โรคมะเร็งเม็ดเลือดในแมวชื่อย่อ: FeLvชื่อทางวิทยาศาสตร์: Feline Leukemia Virusโรคมะเร็งเม็ดเลือดในแมวเกิดจาก “เรโทรไวรัส (Retrovirus)" ซึ่งอยู่ในกลุ่มเชื้อไวรัสแบบเดียวกับ “เอชไอวี (HIV)” แต่ไม่สามารถแพร่สู่มนุษย์ได้ข้อสังเกตุส่งผลโดยตรงกับระบบภูมิคุ้มกันและไขกระดูกเชื้อเป็นบ่อเกิดของมะเร็งหลากหลายรูปแบบเชื้อติดต่อทางน้ำลาย (อาจได้รับเชื้อทาง ตา จมูก และปาก)เชื้อยังสามารถติดต่อผ่านทางรก น้ำนม และการให้เลือดมักเกิดกับลูกแมว แมวที่อายุยังน้อย หรือแมวที่ไม่แข็งแรงแมวบางตัวอาจไม่แสดงอาการแมวบางตัวสามารถหายจากโรคได้เองอาการ (ที่พบได้บ่อยครั้ง)ร่างกายสุดโทรม ป่วยง่าย ป่วยเรื้อรังมีอาการโลหิตจางเม็ดเลือดขาวลดลงเกล็ดเลือดผิดปกติการรักษารักษาตามอาการ (ทำได้เพียงแค่ยืดอายุ)ให้ยาปฏิชีวนะ (เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน)การป้องกันทำวัคซีนเลี้ยงแมวระบบปิด4. โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อ ชื่อย่อ: FIPชื่อทางวิทยาศาสตร์: Feline Infectious Peritonitisโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อมาจากการติดเชื้อ “โคโรน่าไวรัสในแมว (FCoV: Feline Coronavirus)”ข้อสังเกตุเชื้อติดต่อทางน้ำลาย (อาจได้รับเชื้อทาง ตา จมูก และปาก)เชื้อติดต่อผ่านอุจาระแหล่งเชื้อโรค คือ สิ่งของที่ปนเปื้อน (โดยเฉพาะ ชามอาหาร ที่นอน และกระบะทราย)มักเกิดในแมวอายุตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 3 ปีอาการไม่เด่นชัดในการติดเชื้อครั้งแรกร่างกายไม่ตอบสนองต่อยาอาการ (มีหลักๆอยู่ 2 แบบ)แบบเปียก - ซึม มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาเจียน ท้องเสีย หายใจลำบาก ท้องบวมแบบแห้ง - ซึม มีไข้ น้ำหนักลด โลหิตจาง มักเกิดการอักเสบแบบเรื้อรัง อาการขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบการรักษารักษาตามอาการ (รักษาหายได้ยาก)ให้ยาลดการอักเสบ การป้องกันทำวัคซีนดูแลสุขอนามัย ความสะอาด5. โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำชื่อย่อ: Rabies virus / Hydrophobiaชื่อทางวิทยาศาสตร์: Lyssavirusโรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัส “นิวโรโทรปิค (Neurotropic Virus)” ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบประสาท เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ในสัตวเลือดอุ่น (Warm-Blooded Animals) ทุกชนิด ส่วนใหญ่เรามักจะนึกถึงสุนัขแต่จริงๆแล้วโรคนี้ก็อันตรายมากในแมวเช่นกันข้อสังเกตุเชื้อติดต่อผ่านน้ำลาย (เช่น การโดนกัด ข่วน หรือการมีแผล)สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด (Mammals) ติดได้ (รวมทั้งมนุษย์)สัตว์ที่ป่วยมักเสียชีวิตภายใน 10 วันอาการ (แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ)ระยะเริ่มต้น ซึม มีไข้ ใช้เวลาประมาณ 2-3 วันระยะตื่นเต้น กระวนกระวาย หงุดหงิด พฤติกรรมเปลี่ยนไประยะอัมพาต การทรงตัวผิดปกติ กลืนลำบาก เป็นอัมพาต น้ำลายไหลเยอะมีอาการคล้ายกลัวน้ำมากๆการรักษารักษาไม่ได้การป้องกันทำวัคซีนทำการกระตุ้นวัคซีนเป็นประจำทุกปี สุดท้ายนี้ เรื่องที่ GENWHYYOUTH อยากจะฝากเพื่อนๆคนรักแมวเอาไว้คือ การที่น้องแมวของพวกเรานั้นมีท่าทางครึกครื้นแข็งแรงเป็นส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้หมายความว่าน้องๆจะห่างไกลจากโรคภัย อาการเจ็บป่วยบางชนิด จริงๆแล้วโรคร้ายเหล่านี้ก็เปรียบเสมือนภัยเงียบที่ค่อยซุ่มโจมตีร่างกายของมนุษย์เราในช่วงที่ภูมิอ่อนแอนั่นเอง ดังนั้นการพาน้องแมวไปหาสัตว์แพทย์ตามกำหนดเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างมาก เพราะบางครั้งการจะสังเกตสุขภาพข้องน้องๆด้วยตัวเองก็เป็นเรื่องยาก นอกจากเราจะรู้ภาษากายและภาษาบ่นของน้องเหมียวเป็นอย่างดี ดังนั้น การทำวัคซีนนั้นไม่เพียงแต่สำคัญต่อตัวของน้องแมว แต่ยังสำคัญและปลอดภัยต่อตัวเราเองด้วยนะคะ :)ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆจากhttps://www.avma.org/resources-tools/pet-owners/petcare/feline-panleukopeniahttps://icatcare.org/advice/feline-infectious-enteritis-parvovirus-panleukopenia-virus/https://www.ivethospital.comhttps://www.paws.org/resources/feline-upper-respiratory-infection/#:~:text=Feline%20Upper%20Respiratory%20Infection%20(URI,generally%20consists%20of%20supportive%20care.https://www.zoetis.co.th/https://pets.webmd.com/cats/cat-fip-feline-infectious-peritonitis#1https://vcahospitals.com/know-your-pet/rabies-in-catshttps://www.vet.cornell.edu/departments-centers-and-institutes/cornell-feline-health-center/health-information/feline-health-topics/feline-leukemia-virusps://www.petclub.co.th/