เมื่อบ้านหรือที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัย 4 ที่คนเราต่างแสวงหา เพราะฉะนั้นเราจึงทำทุกทางเพื่อให้สามารถซื้อและครอบครองที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเก็บเงินสดเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ โดยส่วนใหญ่แล้วใช้วิธีการกู้ธนาคารกันใช่ไหมล่ะคะ ซึ่งผู้ที่จะให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้นก็คือ "เจ้าหน้าที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคาร" นั่นเอง เพราะเขาเหล่านั้นจะเป็นที่ปรึกษาและพยายามดูแลเคสของคุณให้ได้ดีที่สุด มาดูและทำความรู้จักอาชีพเจ้าหน้าที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จากประสบการณ์จริงผู้ที่ทำงานนี้กันค่ะขอบคุณภาพประกอบจาก pixabayต้องบอกก่อนว่าตนเองเคยทำงานเจ้าหน้าที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมาก่อน คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย คือ เปิดกว้างสำหรับทุกคนที่สนใจ ไม่จำกัดวุฒิการศึกษาจากสายอาชีพไหน แต่ข้อสำคัญคือ คุณต้องพร้อมเรียนรู้เกี่ยวกับการคำนวณสินเชื่อ ซึ่งเป็นคณิตศาสตร์เบื้องต้นเล็กน้อย และทุกคนสามารถเรียนรู้กันได้ ถ้ามีรถก็จะทำให้สะดวกในการเดินทางไปพบปะลูกค้าหรือเซ็นต์สัญญาค่ะ ซึ่งในปัจจุบันก็มีเพื่อนพ้องน้องพี่ที่ยังคงปักหลักในเส้นทางนี้ ซึ่งในส่วนใหญ่แล้วเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน จะเป็นในลักษณะของสัญญาจ้าง การทำงานจะคล้าย ๆ ฟรีแลนซ์คือ เราไม่มีเงินเดือน ใช่ค่ะฟังไม่ผิด เราไม่มีเงินเดือน อ้าว...แล้วรายได้ของเรามาจากแหล่งใดบ้าง มาดูกันเลยค่ะ"รายได้จากธนาคารต้นสังกัด"รายได้ที่เจ้าหน้าที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะได้รับ แบ่งเป็นรายได้ที่มาจากจำนวนวงเงินกู้ซึ่งจ่ายโดยธนาคารต้นสังกัด โดยแต่ละธนาคารจะมีผลตอบแทนที่ไม่เท่ากัน โดยคำติดปากของเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่จะพูดถึงรายได้คือ จะพูดว่าได้ล้านละ xxx บาท เช่น ถ้าธนาคารนั้น ๆ กำหนดรายได้ หรือ คอมมิชชั่นให้กับเจ้าหน้าที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ล้านละ 2,000 บาท หมายความว่าหากลูกค้า 1 ราย มีวงเงินกู้เพื่อสินเชื่อบ้านหรือคอนโดที่ธนาคารอนุมัติวงเงินกู้จำนวนเงิน 3 ล้านบาท เจ้าหน้าที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะได้รับรายได้หรือคอมมิชชั่น 6,000 บาทนั่นเอง อีกส่วนหนึ่งที่ธนาคารต้นสังกัดจะจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยก็คือ ค่าน้ำมันหรือค่าเดินทางนั่นเอง ซึ่งแต่ละธนาคารจะกำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่มักจะผูกพันกับยอดกู้ของลูกค้าที่ได้รับการอนุมัตินั่นเองขอบคุณภาพประกอบจาก pixabay"มีรายได้อื่น ๆ เพิ่มเติมอีกหรือไม่"รายได้อีกส่วนหนึ่งจะมาจากยอดวงเงินประกัน ซึ่งผู้ซื้อบ้านหรือคอนโดมักจะทำประกันความเสี่ยงไว้ให้กับตนเอง เพื่อให้ปลอดภัยหากการเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันกับชีวิตของตนเอง ซึ่งรายได้จากประกันก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดยอดเงินรายได้เป็นกอบเป็นกำค่ะอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้อาชีพนี้สร้างความน่าสนใจให้กับผู้ที่อยากสร้างรายได้ให้เป็นกอบเป็นกำนั่นคือ มีโบนัสพิเศษทุกไตรมาส อย่างธนาคารที่ตนเองเคยทำอยู่จะให้โบนัสรายไตรมาสสำหรับผู้ที่ทำยอดวงเงินกู้ 3 เดือน ได้ถึง 30 ล้านที่ ล้านละ 500 บาท เท่ากับ คุณจะได้เงินเพิ่มอีก 15,000 บาท และถ้ายอดกู้ถึง 50 ล้านบาท จะได้เงินเพิ่มล้านละ 1,000 บาท นั่นคือ ได้เงินโบนัสรายไตรมาสเพิ่มอีก 50,000 ค่ะ ใน 1 ปีมี 4 ไตรมาส คิดดูสิคะว่าเจ้าหน้าที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เก่ง ๆ จะได้โบนัสพิเศษแบบนี้เป็นเงินมากโขเลยค่ะ"มีข้อเสียหรือเปล่า ?"อาชีพเจ้าหน้าที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแบบนี้ ก็มีลักษณะคล้าย ๆ กันกับอาชีพฟรีแลนซ์แบบอื่น นั่นคือมีความไม่แน่นอนของรายได้ บางเดือนที่มียอดโอนบ้านหรือยอดกู้บ้านจำนวนมาก รายได้ของคุณก็จะเยอะตาม แต่ถ้าเดือนไหนลูกค้าของคุณไม่มียอดโอน คุณก็จะไม่มีรายได้เลยค่ะ แถมคุณยังมีค่าใช้จ่ายจากการเดินทาง ซึ่งความผันผวนแบบนี้ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหลายคนเลือกที่จะเปลี่ยนหรือหันเหไปสู่อาชีพอื่นขอบคุณภาพประกอบจาก pixabay"เส้นทางความก้าวหน้า"จริง ๆ คนที่เลือกทำอาชีพนี้มักจะคำนึงถึงเรื่องรายได้และอิสรภาพทางด้านเวลา คุณไม่ต้องเข้างานแบบตอกบัตร คุณสามารถจัดการเวลาต่าง ๆ ในการเข้าพบลูกค้า เก็บเอกสารได้ด้วยตนเอง แต่ความเป็นจริงแล้วผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ก็สามารถสร้างความมั่นคงและความก้าวหน้าได้เช่นเดียวกัน โดยบางคนหลังจากมีประสบการณ์พอสมควร จะได้รับโปรโมทหรือหันไปเป็นหัวหน้าทีมซึ่งจะเป็นพนักงานประจำของธนาคาร หรือบางคนอาจจะผันตัวไปเป็นเอเจนซี่ที่ดูแลเรื่องการฝากขาย ฝากเช่าอสังหาริมทรัพย์ เพราะมีฐานลูกค้าอยู่ในมือมากพอสมควรแล้วสำหรับใครที่ชอบความท้าทาย และมีความประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะทำงานเพื่อเก็บเงิน รวมถึงยอมเหนื่อยและรับกับความผันผวนของรายได้ในแต่ละเดือนได้ ก็สามารถลองสมัครสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของแต่ละธนาคารได้นะคะ ซึ่งเปิดรับอยู่ตลอด อาชีพนี้อาจจะเป็นเส้นทางที่ใช่ของคุณค่ะขอบคุณภาพหน้าปกจาก pixabay