บทสนทนาสะท้อนชีวิตด้านการเงินแบบถามตอบ (Q&A : Questions and answer) ระหว่างโค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธ์ ผู้ตอบคำถาม และ ถนอม เกตุเอม ผู้สัมภาษณ์ จะมาเปิดเผยประสบการณ์ตรงถึงชีวิตส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงิน โดยเผยแพร่ผ่านทางช่อง MONEY COACH ในอัลบั้ม playlist ที่ชื่อ YOU ARE YOUR MONEY COACH เพื่อให้เราทุกคนดูแลการเงินของตัวเองเป็น ความรู้ความประทับใจในมุมมองของครีเอเตอร์ 1.ถึงการเงินจะยังไม่มีสอนในโรงเรียน แต่ความรู้ทางการเงินการแก้ปัญหาของตัวเราเอง โดยการตั้งคำถามและการวิเคราะห์ข้อมูลถือเป็นทักษะสำคัญในการเรียนรู้เรื่องการเงิน แต่อย่างไรก็ตามไม่มี “คำตอบที่ดีที่สุด” ในเรื่องการเงินแต่ละเรื่อง เราจึงควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตัวเองจากฐานความรู้ในชีวิตที่เรามีและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องความ “เก่ง” ทางการเงิน วัดจากความสุขกายสบายใจใน 2. มิติด้านการเงินไม่ใช่จากความรู้ที่เรามี แต่เป็นการอยู่รอดด้านการเงิน ซึ่งเราวัดผลการ “รอด” ทางการเงินด้วยการมีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน สามารถเติมเต็มความฝัน รับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และมีเงินใช้จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต 3.ความสุขในชีวิตของคนเราไม่ได้หมายถึงการมีความสุขอย่างสมบูรณ์แบบหรือยาวนาน แต่เป็นความสามารถในการรับมือกับความทุกข์และการสร้างสมดุลระหว่างความสุขและความทุกข์ในแต่ละวัน 4.โซเชียลมีเดียมีส่วนสำคัญที่ทำให้คนเรามองเห็นแต่ด้านสุดขั้วของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความสุขสุดขีดหรือความทุกข์ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรคาดหวังหรือยึดถือเป็นมาตรฐานในการวัดความสุขของตัวเอง 5.ยอมรับความทุกข์ เมื่อเรามีความทุกข์ เราควรมีสติและปรับวิธีคิดเพื่อรับมือกับมัน ไม่ควรคาดหวังว่าชีวิตจะไม่มีความทุกข์เลย เพราะสิ่งนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ การรับมือกับความทุกข์เป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน และการปรับมุมมองที่มีต่อชีวิตจะช่วยให้เราจัดการกับปัญหาได้ดีขึ้น 6.เงินเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่อความสุข แต่การมีเงินมากหรือน้อยไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้หลักที่ทำให้เรามีความสุข การมีเงินพอประมาณและการจัดการเงินอย่างเหมาะสมจะทำให้เรามีความสุขได้มากกว่า การตั้งเป้าหมายการเงินที่ชัดเจนและการวางแผนให้ตรงกับความต้องการของตัวเอง จะช่วยลดความกังวลและความทุกข์ลงได้ 7. การตัดสินใจใช้จ่ายควรคำนึงถึงผลลัพธ์ที่ตามมาและความสามารถในการรับมือกับสิ่งนั้น การใช้จ่ายอย่างมีสติจะช่วยให้เรามีความสุขมากขึ้น รวมถึงลดความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 8. ความสัมพันธ์และครอบครัว : ความสุขของครอบครัวไม่ควรขึ้นอยู่กับการแบกรับภาระของคนคนเดียว การสื่อสารและการแบ่งปันปัญหาทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญ การมีความเข้าใจและการสนับสนุนซึ่งกันและกันจะทำให้ครอบครัวมีความสุขมากขึ้น 9.ความรักและเงินเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันเมื่อตัดสินใจมี "คู่ชีวิต" เรื่องการจัดการเงินกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงร่วมกัน แม้ว่าความรักอาจจะไม่ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงิน แต่การบริหารเงินอย่างเหมาะสมสามารถเสริมสร้างความผูกพันที่ดีให้กับคู่ของเราได้ 10. การหาคู่ชีวิตที่มีแนวคิดการเงินใกล้เคียงกันจะช่วยให้การใช้ชีวิตคู่เป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น เพราะทัศนคติทางการเงินที่แตกต่างกันอาจก่อให้เกิดปัญหาและความขัดแย้งในอนาคต ดังนั้นการพูดคุยและทำความเข้าใจเรื่องการเงินระหว่างคู่รักเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการใช้จ่าย การออม หรือการจัดการหนี้สิน รวมถึงเป้าหมายการเงินต่าง ๆ การสื่อสารเหล่านี้ช่วยให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจกันตั้งแต่แรกคบ และวางแผนร่วมกันได้ในฐานะ "คู่ชีวิต" 11.เมื่อตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกันกับใครสักคนหนึ่ง การวางแผนการเริ่มร่วมกันเป็นสิ่งที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบ้าน การลงทุน หรือการวางแผนสำหรับอนาคต ทั้งสองฝ่ายต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิตคู่ 12. ความรักที่ดีช่วยเป็นแรงผลักดันให้คู่รักมีแรงสู้กับปัญหาทางการเงิน แม้ว่าสถานการณ์จะลำบากแค่ไหนก็ตาม แต่การสนับสนุนกันและกันด้วยความเข้าใจจะช่วยให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี นิยามของความรักที่ดี ไม่ใช่หมายถึงการรักในสิ่งดี ๆ ที่มีต่อกัน แต่ยังเป็นเรื่องของการยอมรับในข้อแตกต่างและการปรับตัวเข้าหากัน การยอมรับความจริงเกี่ยวกับสถานะทางการเงิน รวมถึงการมองเห็นเป้าหมายร่วมกันเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างเป็นลมใต้ปีกของกันและกัน 13.ความกตัญญูไม่ใช่เพียงแค่การเลี้ยงดูพ่อแม่เพื่อ "ตอบแทน" แต่บางทีแล้วการไม่ทำให้ท่านเดือดร้อนและดูแลตาม "ความเหมาะสม" ก็เป็นหนทางแห่งความกตัญญูที่สร้างความสุขให้ครอบครัวได้ โดยความเหมาะสมที่ว่านั้นต้องพิจารณาทั้งจากมุมมองของลูกและพ่อแม่ โดยคำนึงถึงความสามารถและสถานการณ์ทางการเงินของลูกด้วย ในมุมมองพ่อแม่เอง ควรปรับความคาดหวังให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของชีวิต ไม่ควรคาดหวังให้ลูกเลี้ยงดูโดยที่ไม่พยายามช่วยเหลือตัวเอง และในขณะเดียวกัน ลูกก็ควรสื่อสารกับพ่อแม่อย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความสามารถและข้อจำกัดด้านการเงิน 14. การพูดคุยกับพ่อแม่อย่างตรงไปตรงมาด้วยเหตุผล ไม่ใช่การอกตัญญู แต่เป็นการแสดงความรับผิดชอบและวุฒิภาวะ ในครอบครัวควรมีการสื่อสารที่เปิดเผยและจริงจัง โดยเฉพาะเรื่องการเงินและความคาดหวังในการแก้ไขปัญหาด้านการเงิน (ถ้ามี) เพื่อหาทางออกร่วมกัน 15.ความกตัญญูควรมองเป็น "ช่วงเวลา" ที่ผ่านจากการสร้างสมดุลระหว่างความตั้งใจในการดูแลพ่อแม่และการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของตัวเองในอนาคต การที่ดูแลเสียสละทุกอย่างเพื่อพ่อแม่จนละเลยการดูแลตัวเอง ในระยะยาวอาจกลายเป็นภาระให้กับลูกหลานต่อไป 16.เมื่อเผชิญปัญหาการเงินในครอบครัว ควรมีสติเพื่อถอยออกมามองภาพรวมให้ชัดเจน และวางแผนแก้ไขในระยะยาว (ช่วงเวลา) แทนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (จุดเวลา) ที่สำคัญ ผู้แก้ไขต้องมีความอดทนและไม่ท้อทุกอย่างโดยละเลยการให้ความสำคัญกับการดูแลการเงินของตัวเองในระยะยาว 17.หากมองในมุมของประเทศ ทุกคนควรให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองให้มั่นคงเพื่อไม่เป็นภาระกับลูกหลานในอนาคต นี่เป็นวิธีที่จะช่วยตัดวงจรความยากจนที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นได้ "ในปัจจุบัน เราไม่สามารถพึ่งพาสวัสดิการจากรัฐเป็นหลักได้ แต่ควรวางแผนการเงินส่วนตัวเพื่อการเกษียณ โดยมองว่าสวัสดิการจากรัฐเป็นเพียงส่วนเสริม การเตรียมตัวที่ดีจะช่วยลดภาระของลูกหลานในอนาคต 18. อย่าลืมว่าการให้กำลังใจซึ่งกันและกันในครอบครัวมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่กำลังฝ่าฟันปัญหาด้านการเงิน ในฐานะพ่อแม่ หากเป็นไปได้ควรให้กำลังใจลูกที่กำลังพยายาม แม้ว่าสถานการณ์อาจจะยังไม่ดีที่สุดก็ตาม สุดท้ายแล้ว นอกเหนือจากเรื่องการแก้ไขปัญหาการเงิน การสร้างความทรงจำดี ๆ ร่วมกัน อาจจะเป็นหนึ่งในวิธีแสดงความกตัญญูที่มีคุณค่าทางจิตใจ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาก แต่สามารถสร้างความสุขและความทรงจำที่ดีให้กับทุกคนในครอบครัวได้" 19.อิสรภาพทางการเงินไม่จำเป็นต้องหมายถึงการมีรายได้จากทรัพย์สินมากกว่ารายจ่ายเสมอไป แต่สำคัญคือ ต้องรู้ว่า นิยามของอิสรภาพทางการเงินของเราคืออะไร สำหรับบางคนแล้ว การมีรายได้เพียงพอเพื่อดูแลตัวเองและมีความสุขกับชีวิต ก็ถือเป็นอิสรภาพทางการเงินได้เช่นกัน อิสรภาพทางการเงินและชีวิตของแต่ละคนอาจมีนิยามที่แตกต่างกัน เพราะแต่ละคนล้วนมีมุมมองและเป้าหมายชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้นนิยามของอิสรภาพจึงอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว 20. อิสรภาพที่แท้จริงคือ การมีอิสรภาพทางความคิดและสามารถดูแลตัวเองได้เป็นอย่างดี ไม่ได้วัดจากตัวเลขในบัญชี แต่รวมถึงความสามารถในการคิดอย่างอิสระ ตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง และสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในการดำเนินชีวิต" 21.เงินช่วยให้เราสร้างสิ่งที่ต้องการในชีวิต แต่ไม่ใช่จุดหมายสุดท้ายของการมีชีวิต ความสุขมาจากการใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย และรู้ว่าเป้าหมายของเรานั้นต้องการมีชีวิตแบบไหน 22.วางเป้าหมายชีวิตให้ชัดก่อนวางแผนการเงิน ชีวิตของเราควรชัดเจน เพื่อให้เรารู้ว่าต้องใช้เงินอย่างไร เท่าไร และหาเงินมาแบบไหนในการเดินทางไปสู่ความสำเร็จ ความรู้ต้องเคียงคู่กับความกล้า 23.การแก้ปัญหาทางการเงินต้องอาศัยความรู้ ไม่ใช่แค่ความกล้าเพียงอย่างเดียว ดังนั้นถ้าไม่มีความรู้ อย่าเพิ่งรีบกล้า เพราะสุดท้ายแล้วอาจจะเสียเวลากว่าจะกลับไปเริ่มต้นใหม่ 24.ทุกความล้มเหลวเป็นบทเรียนที่ช่วยให้เราแข็งแกร่งขึ้นและเข้าใจวิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่า สิ่งที่สำคัญคือ การเรียนรู้และเข้าใจว่าเราล้มเหลวเพราะอะไร 25.อย่าลืมมองภาพใหญ่ของชีวิต อย่าคิดแค่ปัญหาตรงหน้า เพราะการถอยออกมามองภาพใหญ่ย่อมทำให้เรามีแรงผลักดัน และมันจะเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานหนักเพื่อแก้ปัญหา หรือทำตามเป้าหมายที่เราวางไว้ 26.ชีวิตเกิดจากการทำสิ่งที่มีความหมาย ไม่ใช่เพียงแค่สะสมทรัพย์สินเพียงเท่านั้น สิ่งที่ยากที่สุดคือ การตอบตัวเองให้ได้ว่าความหมายที่แท้จริงของชีวิตเราคืออะไร 27.จังหวะและโอกาสเป็นเรื่องสำคัญ อย่าลืมทำให้ตัวเองพร้อมที่จะรับโอกาส เมื่อจังหวะเวลานั้นมาถึงจริงๆ คนที่มีความพร้อมมากกว่าย่อมจะมีโอกาสไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น การสร้างตัว โดยเฉพาะการแก้หนี้ต้องบอกเลยว่ายากที่ไม่สามารถเห็นผลทันตาเห็น ต้องอาศัยแผนการและความอดทน รวมถึงวินัยเพื่อให้แผนการยังคงดำเนินไปได้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ชีวิตก็ไม่ได้มีแต่เรื่องเงินอย่างเดียวที่จะทำให้ชีวิตมีความสุข มันยังมีเรื่องอื่นๆอีกมากที่เราต้องใส่ใจทั้งเรื่องครอบครัว เป้าหมายในชีวิต สิ่งที่เราอยากจะทำ เพียงแต่เงินเป็นส่วนประกอบของเรื่องเหล่านั้น มันจึงสำคัญในแง่นี้ ไม่ใช่แต่ว่ามีเงินเป็นล้านๆแล้วจบแค่นั้น เครดิตภาพ ภาพปก โดย wirestock จาก freepik.com ภาพที่ 1 และ 2 โดยผู้เขียน ภาพที่ 3 โดย wirestock จาก freepik.com ภาพที่ 4 โดย wirestock จาก freepik.com บทความอื่นๆที่น่าสนใจ รีวิวหนังสือ MONEY 101 เริ่มต้นชีวิตสู่การเงินอุดมสุข (ฉบับปรับปรุงใหม่) รีวิวหนังสือ มือใหม่เข้าใจเศรษฐศาสตร์ (Economics for Beginners) รีวิวหนังสือ Psychology of Money จิตวิทยาว่าด้วยเงิน โดย Morgan Housel รีวิวหนังสือ ปิดประตูเจ๊ง ให้ธุรกิจเฮงเฮง รีวิวหนังสือ คนไทยฉลาดการเงิน เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !