TGAT คืออะไร!? พี่ 🌻 เชื่อว่าคนที่กดเข้ามาอ่านบทความนี้ ต้องเป็นน้องๆที่กำลังสงสัยในระบบ TCAS หรือข้อสอบ TGAT อยู่แน่ๆ ว่าแต่ TGATคืออะไรกันนะ? TGAT หรือ Thai General Aptitude Test คือ การสอบวัดความถนัดทั่วไป ซึ่งเป็นการวัดระดับความถนัดรูปแบบใหม่ที่พึ่งใช้ในปี 66 ซึ่ง TGAT เอง มี 3 part มีเวลาสอบ 3 ชั่วโมง น้องๆจะเริ่มทำ part ไหนก่อนก็ได้ ตามใจน้องๆ แล้วข้อสอบ TGAT ก็ยังมีให้เลือกสอบทั้งแบบกระดาษหรือคอมพิวเตอร์เลยTGATทั้ง 3 part ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? 1. TGAT1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ 60 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งเป็น- Speaking Skill ( 50 คะแนน ) ประกอบไปด้วยQuestion Response 10 ข้อShort Conversation 10 ข้อLong Conversation 10 ข้อ- Reading Skill ( 50 คะแนน ) อีก 30 ข้อ ประกอบไปด้วยText Completion Reading 2. TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล 80 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งเป็น 1.) ความสามารถทางภาษา 20 ข้อ2.) ความสามารถทางตัวเลข 20 ข้อ3.) ความสามารถทางมิติสัมพันธ์ 20 ข้อ4.) ความสามารถทางเหตุผล 20 ข้อ 3. TGAT3 สมรรถนะการทำงาน 60 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งเป็น- การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม 15 ข้อ- การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน 15 ข้อ - การบริหารจัดการอารมณ์ 15 ข้อ- การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม 15 ข้อ แล้วข้อสอบ TGAT ก็ยังเป็นข้อสอบแบบ Speed Test ดังนั้นน้องๆจึงต้องควรบริหารเวลาหรือจัดการกับเวลาให้ดี ไม่อย่างนั้นก็อาจจะทำข้อสอบไม่ทันได้ หรือบางคนอาจจะมีเทคนิคอย่าง ไม่ทำ part ที่ไม่ถนัด แล้วไปโฟกัส part ที่ถนัดแทนก็ได้ 🫶 รวมเทคนิคในการทำข้อสอบ TGAT บอกตามตรงว่าเทคนิคของแต่ละคนมักจะแตกต่างกันไป บางคนสามารถนำเทคนิคที่รู้ไปประยุกต์เพื่อให้เหมาะกับตัวเองส่วนตัวแล้วพี่ขอแนะนำ 3 เทคนิคนี้!!เข้าใจในเนื้อหาทำข้อสอบเก่าบริการเวลาให้ดี1. เข้าใจในเนื้อหา การที่เราลงคอร์สเรียนหรืออ่านหนังสือเราต้องเรียนเพื่อทำความเข้าใจกับเนื้อหานั้นๆ ถ้าเกิดเราเรียนแล้วไม่เข้าใจอันนี้จะทำให้เกิดปัญหาตามมาดังนั้นน้องๆจึงควรเข้าใจในเนื้อหาบทนั้นๆหรือวิชานั้นๆที่ลงเรียน แต่บางคนก็อาจจะมีวิชาที่ไม่ถนัดแบบไม่ถนัดจริงๆ อย่างเช่น น้อง A ไม่ถนัด TGAT2 Part คำนวณ จะทำยังไง? พี่อาจจะแนะนำให้น้องลองเรียนเพื่อทำความเข้าใจพื้นฐานดูก่อนว่าเรากับวิชานั้นสามารถพอไปได้ไหม แต่ถ้าน้องๆไปไม่ได้จริงๆ หรือลองแล้วไม่ไหวจริงๆ ก็อาจจะต้องอ่าน Part อื่นให้เยอะขึ้น หรือ ทำคะแนน Part อื่นให้เยอะขึ้นแทน แล้วค่อยมาเก็บ Part คำนวณ ทีหลังแบบพื้นฐานก็ได้2. ทำข้อสอบเก่า การทำข้อสอบเก่าจะช่วยทบทวนสิ่งที่น้องๆเรียนมา ยิ่งทำเยอะก็ยิ่งทำให้รู้ว่าเราผิดพลาดตรงไหน ไม่มีใครทำข้อสอบแล้วได้เต็มตั่งแต่ครั้งแรก ดังนั้นอยากให้น้องๆเชื่อเสมอว่าการทำข้อสอบไม่ได้ทำเพื่อให้น้องๆกดดันตัวเองว่า “ ฉันได้คะแนนแค่นี้เอง ” แต่การทำข้อสอบจะค่อยๆอุดรอยรั่ว อุดข้อผิดพลาด และเพิ่มความแม่นยำให้ตัวเอง3. บริหารเวลาให้ดี อย่างเช่น ถ้าน้องจะสอบในอีก 3 เดือนข้างหน้า เราจะเตรียมตัวยังไง? อ่านอะไรก่อนหลัง? เก็บเนื้อหาไหนก่อน? นอกจากจะบริหารเวลาให้ดีก่อนสอบแล้ว ก็ต้องจัดการเวลาขณะสอบอยู่ให้ดีเหมือนกัน สิ่งนี้จะฝึกได้จากการทำข้อสอบแบบจับเวลา สุดท้ายนี้ขอให้น้องๆที่จะสอบสู้ๆนะ พี่เชื่อว่าน้องๆได้พยายามทำอย่างเต็มที่ เพราะน้องได้ขวนขวายในการอ่านหาเทคนิคการทำในบทความนี้ หรือ พยายามทำความรู้จักข้อสอบ TGAT พี่รู้ว่าน้องอาจจะกำลังคิดว่าเราต้องอ่าน TGAT แล้ว หรือ เราต้องได้คะแนนเยอะๆ พี่ขอให้น้องๆจำความรู้สึกในวันแรกที่เราฮึดที่จะอ่านมัน การทำอะไรต่อเนื่องทุกวันเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าน้องทำได้ น้องจะได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าน้องได้พยายามจริงๆ เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !