[ต่อ] เห็นได้ชัดว่า ผู้กระทำความผิด (AI) มิใช่บุคคลตามกฎหมาย แต่ผู้เสียหายยังเป็นบุคคลอยู่ รวมถึงกรณีทรัพย์สินคนได้รับความเสียหายด้วย ดังนั้น ในกรณีความเสียหายเกิดจากปัญญาประดิษฐ์จึงปัจจุบันจึงไม่สามารถหาบุคคลธรรมดาที่ควรจะต้องมารับผิดชอบได้อย่างชัดเจนแน่นอน เพราะปัญญาประดิษฐ์มิใช่บุคคลในสายตาของกฎหมาย รวมถึงไม่มีทรัพย์สินให้ถูกบังคับคดี แต่ถ้าต้องใช้กฎหมายใกล้เคียงมาปรับใช้เห็นทีจะดูไม่เป็นธรรมนัก เพราะหลักกฎหมายว่าการละเมิดทั่วไปนั้น กำหนดให้ผู้ครอบครองพาหนะต้องรับผิดจากความเสียหายของยานพาหนะ แต่ปัญหาวิจัยของนิสิต คือ ยานพาหนะขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติ แม้ไม่มีผู้ขับขี่ก็สามารถก่อความเสียหายได้ ด้วยเหตุนี้ เราจะตีความว่าครอบครองให้รวมถึงการไม่ขับขี่ หรือ เป็นเจ้าของเท่านั้น คงจะมิได้ เช่น การยืมรถไปขับ ซึ่งเจ้าของกับผู้ครอบครอง เป็นคนละคน กฎหมายให้ผู้ครอบครองรับผิด ตาม 437 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่าบุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใด ๆ อันเดิน ด้วยกำลังเครื่องจักรกลบุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหาย นั้นเองความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงผู้มีไว้ในครอบครองของตน ซึ่งทรัพย์อันเป็น ของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้น ด้วยหลักเกณฑ์ความรับผิดในความเสียหายอันเกิดขึ้นจากยานพาหนะเมื่อเป็นเช่นนี้ เราอาจจะคาดหมายได้ว่า มาตราดังกล่าวประสงค์ให้ยาพาหนะที่ขับเคลื่อนโดยเครื่องจักรและต้องมีผู้ควบคุม (คน) แต่ จากปัญหาการวิจัย คือยานพาหนะไร้คนขับ แม้จะมีความเจ้าของ แต่ไม่มีผู้ครอบครองในขณะขับ/ควบคุมน เจ้าของจึงต้องรับผิดเพราะเป็นผู้ครอบครองโดยอ้อมหรือ? ก็ฟังจะดูแปลก เพราะในกรณีที่มีคนขอยืมรถธรรมดาไปขับ เจ้าของหาได้ต้องรับผิดไม่ เพราะ กฎหมายพิจารณาเพียงผู้ครอบครอง มิใช่เจ้าของ แต่พาหนะไร้คนขับให้เจ้าของต้องรับผิด แม้มิได้ควบคุมหรือครอบครองยานพาหนะในขณะเกิดเหตุก็ตาม มันดูย้อนแย้งนะครับ ปัญญาประดิษฐ์แม้ปัจจุบันจะมีการประกาศใช้กฎหมายว่าความรับผิดของสินค้าไม่ปลอดภัย ซึ่งมีหลักการสำคัญ ให้ผู้ประกอบการ/ผู้ผลิตต้องรับผิดในสินค้าที่ตนผลิตซึ่งเป็นสินค้าไม่ปลอดภัยโดยสภาพ - แต่น่าคิดว่า ยานพาหนะไร้คนขับโโยสภาพและวัตถุประสงค์ ไม่น่าจะไม่ปลอดภัย เพราะความปลอดภัยต้องคำนึงเป็นอันดับแรก ถ้าพิจารณาในเบื้องหากยานพาหนะไร้คนขับ? อันตราย แล้วจะเป็นที่ต้องการตลาดหรือไม่? ถ้าหากพิจารณาในมิติของวัตถุประสงค์ในการใช้ สินค้าทุกประเภทก็น่าจะไม่ปลอดภัยทั้งหมด ยกตัวอย่างปากกา และดินสอนถ้านำมาใช้เป็นอาวุธก็อันตราย และเราจะพิจารณาโดยใช้เกณฑ์อะไรมาบอกว่านี่เป็นสินค้าไม่ปลอดภัย เช่น หอยเม่น ซึ่งหนามมันอันตราย แต่เราไม่ได้บริโภคหนาม แต่เราบริโภคเนื้อ ถ้าคุณมองว่าเนื้อไม่อันตรายโดยสภาพ และถ้าเนื้อหอยเม่นมีเชื้อโควิด อันตรายอยู่ไหมครับ? เพราะฉะนั้นภายใต้หลักสินค้าไม่ปลอดภัยนั้น ผู้ประกอบการ/ผลิตหากตนไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าความเสียหาย/บกพร่องไม่ได้เกิดจากการกระบวนการผลิต เช่น การผลิตไม่ได้มาตรฐาน เป็นเหตุให้สินค้าสร้างความเสียหายได้ หากจะนำหลักการดังกล่าวมาบังคับใช้ เท่ากับว่าผู้ซื้อยานพาหนะอาจไม่จำต้องใช้ความระมัดระวังในการขับขี่เลยหรือ? นอกจากนี้ยังพบว่าสินค้าไม่ปลอดภัย1.นิยามของคำว่า "สินค้าไม่ปลอดภัย" มียังไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน ว่าควรจะตีความอย่างไร?2.ภาระการพิสูจน์ เมื่อปัญญาประดิษฐ์เป็นผู้ก่อความเสียหาย จะอยู่ภายใต้ทฤษฎีใด? ถ้าไม่มีกฎหมายเฉพาะ 3. จาก ข้อ 2. สิทธิไล่เบี้ยมี/ก่อขึ้นหรือไม่?4. อายุความจะเริ่มพิจารณาอย่างไร?5. พรบ. จราจรทางบกสามารถบังคับใช้ได้มากน้อยเพียงใดhuman error หรือ technical error6. จาก ข้อ 5. เราจะพิจารณาอย่างไรว่าขับรถโดยประมาทหรือไม่? ถ้าผู้ขับขี่ป้อนคำสั่งแล้ว แต่ AI ไม่ทำตามคำสั่ง กรณีนี้จะมองเป็น human error หรือ technical error แล้วใครต้องรับผิด หรือว่าควรถือเป็นเหตุสุดวิสัย?7. กฎหมายเฉพาะที่จะมาบังคับใช้กับ AI นั้น จำเลยสมควรเป็นใครระหว่าง เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ผลิต หรือ รับผิดร่วมกัน? ถ้าเป็นกรณีหลังสุด สิทธิไล่เบี้ยจะเกิดหรือไม่? 8. สุดท้ายหากเกิดอัคคีภัย ใครควรต้องรับผิด?แถม การใช้กฎหมายใกล้เคียงตามกฎหมายแพ่ง ไปปรับใช้กับความรับผิดทางอาญา เช่น ฝ่าฝืน พ.ร.บ. จราจร ทางบก ใช้ได้มากน้อยเพียงใด [เดี๋ยวมาต่อ วิจัยโครงเล็ก-ใกล้ปิดแล้ว] xiexie อัคคีภัย [เดี๋ยวมาวิเตราะห์วิจัยโครงเล็กต่อ] / พอครับแยกย้ายนอน ท้ายนี้ขอบพระคุณภาพ1.ปก โดย Tingey Injury Law Firm จาก unsplash2. ที่ 1 โดย Kitt_KS จาก pixabay3.ที่ 2 โดย azadaquib จาก pixabay4.ที่ 3 โดย mohamed_hassan จาก pixabay5.ที่ 4 โดย 422737 จาก pixabay6.ที่ 5 โดย vainodesositis จาก pixabay เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !