ตามที่ อ.ขx และผมได้ อธิบายถึงหลักเกณฑ์ การเรียนรู้และการประเมินผล ในฐานะผู้สอน ผมอยากสรุปและสะท้อนให้แก่ผู้อ่านทั่วไป ๆ ทราบ ดังนี้ครับ1.จากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้สอนทั้ง 2 ท่าน เป็นเครื่องยืนยันอย่างดีว่าภาษาอังกฤษเป็นวิชาทักษะจึงไม่มี 1 คืนอัศจรรย์ อยากเก่งต้องฝึก practice makes perfectฝึก->ทักษะ->ชำนาญแม้ว่าผู้เรียนบางคนอาจคิดในใจว่าอาจารย์สองท่านมีโอกาสได้ไปเรียนต่างประเทศ จึงมีโอกาสดีกว่าหรือไม่? ไม่จริงครับ มีกรณีศึกษาจำนวนไม่น้อยยืนยันว่า การไปใช้ชีวิตต่างประเทศอาจกลับภาษาไทยชัดขึ้นก็มี หรือ บางคนไม่เคยไปเมืองนอกแต่ภาษาอังกฤษดีมาก ทำไม?ทำไมสิ่งแวดล้อมมันบังคับให้เราต้องทำ ผมจึงขอจำแนกออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ความชอบ(1) ความชอบ และ(2) ความจำเป็นความจำเป็นต่างกันอย่างไร?ถ้าเราชอบเราจะลงมือทำแบบไม่ฝืน มันจะมีจะแรงกระตุ้นความอยากรู้โดยไม่ต้องถามตัวเองว่าจะฝึกไปทำไม? เพราะสุดท้ายความชำนาญจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความพยายามครับ - ไม่พูดมากเจ็บคอแต่ในทางกลับกัน ถ้าเป็นการฝึก (ภาษา) เพราะความจำเป็น มันจะสะท้อนว่า เราต้องทำไม่ทำจะสู่ขิต ยกตัวอย่าง ตัวผู้สอน 2 ท่าน แม้เราจะไม่เคยบอกกับตัวเองว่าเราเก่งที่สุด แต่ความสามารถทางภาษาอังกฤษเกิดจากทั้งข้อ 1 และข้อ 2 ครับ ยิ่งชอบจะยิ่งฝึก ยิ่งจำเป็นจะยิ่งใช้ เพราะการเรียนต่างประเทศมันถือเป็นบทบังคับทั้งการเรียนและใช้ชีวิต ตราบใดที่ภาษาไทยไม่ใช่ภาษาสากล เราก็จำเป็นต้องฝึกภาษาอังกฤษเพื่อใช้ชี่วิตรอดครับดังนั้น หยุดอ้างว่าประเทศไทย ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ" เราจึงไม่เก่งภาษาอังกฤษ นั่นเรียกข้ออ้างครับ ไม่ใช่เหตุผลด้วยตรรกะง่าย ๆ เราไม่มีความจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเพราะมีผู้เชี่ยวชาญแล้ว เลยไม่จำเป็นต้องฝึก แล้วบ้านเมือง จะมี ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา ไปทำไมครับ? เพราะถ้าทำผิดกฎหมาย ก็สอบสวนเอง สั่งฟ้องเอง พิพากษาเอง แล้วเดินเข้าคุกเอง? คุณ/นิสิตคิดว่า มันไม่ตลกหรือครับ หรือตัวอย่างใกล้ตัวเรา คือ เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเสีย เรียกช่าง/ผู้เชี่ยวชาญทำไมครับ? ซ่อมเองไปเลยครับประหยัดเงิน ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา เราคงไม่สามารถพาผู้เชี่ยวชาญทางภาษาไปตลอดเพราะเขาเองย่อมมีอะไรต้องทำด้วยหรือไม่? ดังนั้นภาษา(อังกฤษ) พื้นฐานก็ควรจะต้องสื่อสารได้ ทว่า วิชานี้ถูกออกแบบให้นิสิต (ว่าที่บัณฑิตนิติศาสตร์) สามารถสื่อสาร (โดยเฉพาะทักษะการพูด) อาจารย์จึงเห็นพ้องต้องกันว่าทักษะหลักที่ควรจะต้องพัฒนาคือ การฟังและพูด ทั้งนี้นิสิตต้องพึงระลึกว่า หัวใจสำคัญของการพูด (สื่อสาร) คือผู้ฟังต้องเข้าใจ ดังนั้นศัพท์ยาก หรือสำเนียง ย่อมเป็นรองความเข้าใจของผู้ฟังตอนหน้าเดี๋ยวผมจะมาบอกเทคนิคส่วนตัวที่ตกผลึกมาตั้งแต่ สมัยม.ปลาย -ติดตามนะครับ- ท้ายนี้ขอบพระคุณภาพ1.ปก โดย Volodymyr Hryshchenko จาก unsplash 2.ที่ 1 โดย geralt จาก pixabay3.ที่ 2 โดย peggy_marco จาก pixabay4.ที่ 3 โดย geralt จาก pixabay5. ที่ 4 โดย suc จาก pixabayเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !