เราเป็นสัตว์สังคมเหมือนกันหมดจริงหรือไม่ผมว่าทุกคนน่าจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม" ซึ่งก็หมายถึง มนุษย์เราโดยธรรมชาติไม่สามารถที่จะอยู่ลำพังคนเดียวได้ มักจะอาศัยอยู่รวมๆ กันเป็นหมู่โดยมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ภายใต้ระบบกฏเกณฑ์ โดยมี วัฒนธรรม ที่จะเป็นตัวแยกแยะระหว่างสัตว์สังคมมนุษย์ (Human Side) กับ สัตว์สังคมเดรัจฉาน (Animal Side) ซึ่งมิติของสัตว์สังคมทั่วไปน่าจะมีแค่นั้นตามธรรมชาติ แต่จริงๆ แล้วมนุษย์เรายังมีแยกแยะ (ชนชั้น) ทางสังคมขึ้นมาอีกมากมาย (อย่างเช่นหนังดังอย่าง ชนชั้นปรสิต) เราลองมามองย้อนความเป็นมนุษย์ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ แต่ก็ยังแอบเหยียดกันด้วยการใช้ชนชั้นทางสังคมเป็นกำแพงขวาง ผ่านงาานเขียนจากหนังสือเล่มนี้หนังสือ สังคมวิทยา ความรู้ฉบับพกพา (Sociology) สำนักพิมพ์ Open Worlds เขียนโดย สตีฟ บรูซ (ที่ไม่ใช่ดาราหนัง) แต่เป็นศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยา โดยมีผลงานทางด้านการศึกษาและงานวิจัยสังคมวิทยาจำนวนมาก โดยเฉพาะในประเด็นกระบวนการกลายเป็นโลกวิสัยทางของศาสนา จึงทำให้หนังสือเล่มนี้ จะว่าด้วยการแบ่งสังคมวิทยาที่ยังมีกลิ่นอายความความเชื่อของศาสนา อย่างที่ประเด็นที่ในหนังสือ หยิบยกขึ้นมาว่า ทำไมการแพร่ขยายของนิกายโปรเตสแตนต์ ถึงส่งผลต่อการเติบโตของทุนนิยมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ? นอกจากนี้ ผู้เขียนยังต้องการสื่อให้เราเห็นถึง สาเหตุทางสังคม ที่ส่งผลต่อแบบแผนพฤติกรรมของมนุษย์ และยังปูทางให้เราได้เข้าใจแนวคิดของนักสังคมวิทยาคนสำคัญๆ ของโลก เช่น คาร์ล มาร์กซ์, มักซ์ เวเบอร์ เป็นต้นโดยเนื้อหาหลักของหนังสือเล่มนี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรกจะเป็นการแจกแจงที่มาของสังคมวิทยาโดยการพินิจพิเคราะห์ว่า คำกล่าวที่ว่าสังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์สังคมนั้น หมายความว่าอย่างไร ในส่วนที่สอง จะเป็นการนำเสนอถึงแนวความคิดเบื้องต้นของวิชานี้ และในส่วนสุดท้ายจะเป็นการสร้างความชัดเจนให้กับสาขานี้ ด้วยการหยิบยกสังคมวิทยาแบบที่ได้รับความนิยม แต่ไม่ใช่ของจริงสิ่งที่ชอบสำหรับหนังสือเล่มนี้ การรู้จักที่มาของสังคม เหมือนเราใช้กระจกส่องดูที่มาของตัวเอง และทำให้เกิดการตั้งคำถามที่ในตัวเองว่า แท้ที่สุดแล้ว ตัวเรานั้นเป็นเพียงผลผลิตของเงื่อนไขทางสังคมที่เราอยู่หรือเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตตัวเองกันแน่หนังสือ สังคมวิทยา ความรู้ฉบับพกพา (Sociology) แม้เล่มจะเล็ก แต่ก็บอกเลยว่าอัดแน่นไปด้วยทฤษฎีและแนวคิดทางด้านสังคมต่างๆ มากมาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงทำให้เนื้อหา ไม่ใช่ว่าจะย่อยกันง่ายๆ ทั้งศัพท์และที่มาต่างๆ ล้วนมาจากความคิดที่ตกผลึกจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสังคมในยุคต่างๆ จึงทำให้มีความเฉพาะทาง จึงทำให้บางครั้งงุนงงกับเนื้อหาไปบ้าง (แต่ก็ยังพอทำความเข้าใจได้) ที่สำคัญสำหรับเราแล้ว สังคมวิทยา อาจจะเป็นแค่เรื่องของความคิดเห็นผ่านมุมมองของผู้คนแต่ละยุค (ที่แค่ใช้ทฤษฎีมาเป็นเครื่องมือรองรับให้น่าเชื่อถือ) จึงไม่แปลกที่เมื่อเราอ่านแล้ว อาจจะรู้สึกอยากถกเถียงบ้างในบางเรื่อง หรือบางเรื่องอาจจะรู้สึกอยากวางหนังสือไม่อยากอ่านต่อ (เพราะเราไม่คิดอย่างนั้น) ก็อย่าได้ยึดถือเป็นสาระ เอาเพียงแค่ใช้ สังคมวิทยา เล่มนี้ สะท้อนความเป็นตัวตนของเรา แค่นี้ก็นับเป็นประโยชน์ยิ่งนักแล้วใครสนใจหนังสือเล่มนี้ คลิกเลย !!!ตามไปอ่านรีวิวหนังสือเล่มอื่นๆ ได้ที่ > > iYom BookViewsเครดิตรูปทั้งหมดรูปที 1 (รูปภาพโดยผู้เขียน)รูปที่ 2 (รูปภาพโดยผู้เขียน)รูปที่ 3 (Photo by Ryoji Iwata on Unsplash)รูปที่ 4 (รูปภาพโดยผู้เขียน)