การลงทุนหุ้นเติบโตเป็นสิ่งที่นักลงทุนหุ้นเคยได้ยินกันมานาน แต่การหาหุ้นเติบโตในฐานะที่เป็นกิจการที่กำลังเติบโตจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ มันไม่ง่ายเลยที่จะมองออกว่าหุ้นตัวไหนที่จะเป็นได้อย่างนั้น ลงทุนศาสตร์ หรือ กิตติศักดิ์ คงคา ได้รวบรวมคุณสมบัติของหุ้นเติบโตทั้งหมดไว้ในเล่มนี้แล้ว เขียนในลักษณะแบบเชิงวิชาการราวกับผู้อ่านกำลังนั่งเรียน Lecture ในมหาวิทยาลัยกันเลยทีเดียว เนื้อหาค่อนข้างหนัก โดยเฉพาะสูตรที่เป็นที่มาของแนวคิดของการหามูลค่า ส่วนตัวครีเอเตอร์มองว่าไม่เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ครับ ความรู้ความประทับใจในมุมมองของครีเอเตอร์ 1.เรื่องการเติบโต ต้องแบ่งเป็นสองส่วนคือ หุ้นจะโตเพราะอะไร (เติบโตเชิงคุณภาพ) หุ้นจะโตเท่าไหร่ (เติบโตเชิงปริมาณ) 2.หลักการ 7 Ladders of Profit Growth (บันได 7 ขั้นของการเติบโตกำไร) คือหลักวิเคราะห์การเติบโตเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การเติบโตจากราคาและปริมาณ, การเติบโตจากสินค้าและตลาด, การเติบโตจากธุรกิจและบริหาร, การเติบโตจากการควบรวมกิจการ, การเติบโตจากการลดต้นทุนขาย, การเติบโตจากการลดต้นทุนขาย, การเติบโตจากการลดค่าใช้จ่ายอื่น, การเติบโตจากกิจกรรมทางการเงิน 3.สรุปหลักลงทุนในหุ้นเติบโต : 3.1. ลงทุนในหุ้นที่มีอัตราการเติบโตของกำไรเฉลี่ยทบต้น “สูงกว่า” ผลตอบแทนคาดหวัง ไม่ว่าคุณจะคำนวณผลตอบแทนคาดหวังด้วยวิธีใดทั้งทฤษฎีแสนซับซ้อนอย่าง Capital Asset Pricing Method (CAPM) หรือคุณจะใช้วิธีกำปั้นทุบดินไปเลยว่าคุณต้องการผลตอบแทนเท่าไรจากการลงทุนต่อปี เช่น อ้างอิงจากแผนเกษียณ อ้างอิงจากเป้าหมายทางการเงิน แต่ทั้งหมดทั้งมวล คุณจะต้องหาหุ้นที่มีอัตราการเติบโตของกำไรเฉลี่ยทบต้นสูงกว่าตัวเลขผลตอบแทนคาดหวังของคุณให้ได้ เพราะนั่นจะทำให้คุณสร้างผลตอบแทนได้ ตามคาดหวังในระยะยาว ...ไม่แนะนำให้คุณใช้วิธีแยกคำนวณผลตอบแทนคาดหวังจากการลงทุนในหุ้นแต่ละตัว เพราะนั่นจะทำให้การลงทุนของคุณวุ่นวายมาก และคุณจะเกิดค่าเสียโอกาสจากการลงทุนที่อนุรักษ์นิยมมากเกินไป ทางที่ดีคุณควรมีตัวเลขผลตอบแทนคาดหวังของตัวเองให้เบ็ดเสร็จ ตั้งแต่เริ่มลงทุน ผมแนะนำให้คำนวณตัวเลขนี้มาจากเป้าหมายทางการเงินของคุณ หลังจากนั้นคุณจะทำงานง่าย คุณแค่หากิจการอะไรก็ได้ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าตัวเลขผลตอบแทนคาดหวังภายในเวลาที่คุณจะถือครอง 3.2. ซื้อหุ้นเมื่ออัตราส่วนพีอีอยู่ในระดับ“ต่ำกว่า” หรือเท่ากับอัตราส่วนพีอีเหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการต้องใช้ความพยายามมากมายในการประเมินมูลค่าหุ้น หลักการง่ายที่สุดคือคุณควรซื้อหุ้นที่ราคาไม่แพงตั้งแต่ต้น เพราะนั่นจะช่วยให้ผลตอบแทนในปัจจุบันของคุณเป็นบวกหรือไม่ก็เสมอตัว ในความเป็นจริง คุณอาจจะยินยอมซื้อหุ้นที่แพงกว่าอัตราส่วนพี่อีเหมาะสมได้บ้าง ยิ่งถ้าคุณคิดจะถือยาวหรือหุ้นดังกล่าวมีอัตราการเติบโตของกำไรที่สูงมาก การขาดทุนในปัจจุบันที่เกิดขึ้นจะไปถัวเฉลี่ยกำไรในอนาคต แต่นั่นก็อาจจะคุ้มกว่าการไม่ได้ซื้อหุ้นเลย หากคุณลงทุนหุ้นจนเชี่ยวชาญระดับหนึ่งแล้ว..แนะนำให้คุณศึกษาเรื่องการประเมินมูลค่าหุ้นโดยละเอียด คุณจะสามารถประเมินความถูกแพงของหุ้นได้อย่างแจ่มชัด และไม่อ้างอิงกับอัตราส่วนพีอีที่เห็นอยู่ในราคาตลาดปัจจุบันมากนัก และนั่นจะช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุนในหุ้นเติบโตของคุณเป็นอย่างมาก เพราะโดยส่วนใหญ่ หุ้นเติบโตมักจะมีอัตราส่วนพี่อีสูงอย่างต่อเนื่อง หากไม่รอซื้อในช่วงวิกฤต หรือหาหุ้นให้เจอก่อนคนอื่น คุณก็อาจจะทำงานยากพอสมควร 3.3. เงินปันผล “ไม่สำคัญ” เท่ากับอัตรา การเติบโตของกำไร ถึงแม้ว่าจากสูตรผลตอบแทนรวมจากการลงทุน จะเห็นว่าพจน์หนึ่งของผลตอบแทนในอนาคตเกี่ยวข้องกับเงินปันผล นั่นหมายถึง หากคุณลงทุนในหุ้นปันผล คุณย่อมจะมีแนวโน้มได้ผลตอบแทนสูงกว่าหากอ้างอิงจากสมการ แต่สิ่งที่จะบอกคือคุณไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับประเด็นเงินปันผลมากนักเพราะหุ้นเติบโตส่วนใหญ่ อัตราจ่ายเงินปันผลต่อกำไรสุทธิจะต่ำ กอปรกับอัตราส่วนพี่อีเหมาะสมที่มักจะสูงตัวเลขผลตอบแทนจากเงินปันผลจะน้อยจนแทบไม่ส่งผลต่อการลงทุน และต่อให้บริษัทไม่จ่ายเงินปันผล ก็อย่าลืมว่า เงินดังกล่าวก็จะมีสถานะกลายเป็นกําไรสะสมหมุนเวียนไปใช้ในการขยายธุรกิจต่อได้ หากมองอีกแง่ก็ เหมือนคุณได้รับเงินปันผล แต่ผู้บริหารขอเงินก้อนนั้นไป ใช้ในการขยายธุรกิจต่อ เพื่อทําให้กําไรสุทธิในอนาคตสูงขึ้น และแน่นอนเมื่อกําไรสุทธิในอนาคตสูงขึ้น อัตราการเติบโตของกําไรก็สูง ผลตอบแทนในอนาคตของการ ลงทุนก็จะสูงขึ้นไปด้วย แถมการไม่จ่ายปันผลจะช่วย ประหยัดภาษีให้กับนักลงทุนด้วย 4.The 5 Factor Model of PE อธิบายว่า อัตราส่วนพี่อี เกิดจากปัจจัย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) ปัจจัยภายใน คือ แนวโน้ม ในอดีตของกิจการ คุณภาพพื้นฐานของกิจการ และแนวโน้มในอนาคตของกิจการ (2) ปัจจัยแวดล้อม คือ สภาพ อุตสาหกรรม และ (3) ปัจจัยภายนอก คือ สภาพตลาดหุ้น โดยปัจจัยภายในคือส่วนหลักในการกําหนดอัตราส่วน PE เหมาะสม ปัจจัยแวดล้อมคือส่วนเสริมในการกําหนดอัตราส่วน PE เหมาะสม ขณะที่ปัจจัยภายนอกส่งผลให้อัตราส่วน PE ที่ซื้อขายจริงผันแปรไปตามสถานการณ์ 5.สรุปปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาและ ปริมาณของสินค้าและบริการในตลาด ปัจจัยที่ 1 : ราคาตลาดย่อย (Sub-market Price) ปัจจัยที่ 2 : การปรับตัวสู่ราคาดุลยภาพ (อุปสงค์-อุปทาน) (Equilibrium Price Adjustment) ปัจจัยที่ 3 : ความพึงพอใจเชิงปัจเจก (Personal Preference) ปัจจัยที่ 4 : สินค้าเกี่ยวข้องอื่น (Related Goods) ปัจจัยที่ 5 : รายได้ผู้บริโภค (Income) ปัจจัยที่ 6 : ลักษณะสังคม (Society) ปัจจัยที่ 7 : ปัจจัยด้านการผลิต (Supply Side) ปัจจัยที่ 8 : ผลกระทบจากฤดูกาล (Seasonal Effect) ปัจจัยที่ 9 : การส่งเสริมจากภาครัฐ (Government Subsidy) ปัจจัยที่ 10 : ดัชนีความเชื่อมั่น (Confidence Index) 6.สรุป 5 คําถามที่ทําให้ผลิตภัณฑ์ ประสบความสําเร็จ คําถามที่ 1 : ผลิตภัณฑ์แก้ปัญหาสําคัญให้กับลูกค้าหรือเปล่า? คําถามที่ 2 : ผลิตภัณฑ์มีขนาดตลาดรองรับที่ใหญ่พอหรือเปล่า? คําถามที่ 3 : ผลิตภัณฑ์มีราคาในระดับที่แข่งขันได้หรือเปล่า? คําถามที่ 4 : ผลิตภัณฑ์มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนหรือเปล่า? คําถามที่ 5 : ผลิตภัณฑ์ถูกลอกเลียนแบบได้ง่าย หรือเปล่า? สังเกตว่าการวิเคราะห์การเติบโตของธุรกิจในขอบเขต ความชํานาญเรื่องผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ จะมุ่งเน้นไปที่ “ความสําเร็จ ของผลิตภัณฑ์” มากกว่า “ความสําเร็จของธุรกิจ” เพราะเรามองว่าบริษัทดั้งเดิมต้องประสบความสําเร็จในธุรกิจของตนอยู่แล้ว ฐานของกิจการเดิมแข็งแรง กระบวนการทางธุรกิจเดิมแข็งแรง แต่เปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ หากธุรกิจเดิมของบริษัทเองก็ไม่แข็งแรงด้วย บริษัทยังไม่ประสบความสําเร็จในอุตสาหกรรม...แบบนี้ควรวิเคราะห์ว่าเป็นธุรกิจใหม่ไปได้เลย 7.The Ansoff Matrix คือแผนภาพสรุปกลยุทธ์การเติบโตของกิจการผ่านปัจจัยหลักคือ สินค้าและตลาด โดยกลยุทธ์ภาพรวมอธิบายไว้ว่า การเติบโตในตลาดใหม่มีความเสี่ยงสูงกว่าการเติบโตในตลาดเก่า และการเติบโตด้วยสินค้าใหม่มีความเสี่ยงกว่าการเติบโตด้วยสินค้าเก่า ในช่วงต้น บริษัทอาจลดความเสี่ยงด้วยการเติบโตแบบบางส่วนเพื่อลดความเสี่ยง เช่น เติบโตในตลาดภูมิภาคใกล้เคียงก่อนไปเติบโตที่ภูมิภาคใหม่ เติบโตด้วยสินค้าใกล้เคียงเดิมก่อนเติบโตด้วยสินค้าที่ต่างไปจากเดิมมาก 8.ท่องไว้เสมอว่า การเติบโตจากการเพิ่มรายได้ดีที่สุด เพราะการเติบโตจากรายได้จะมีเสถียรภาพ ยิ่งเติบโตจากความ เชี่ยวชาญหลักมากแค่ไหน เติบโตจากธุรกิจหลักมากแค่ไหน การเติบโตเหล่านั้นย่อมมีคุณค่า ในทางตรงกันข้าม การเติบโตจากการควบรวมกิจการ หรือการเติบโตจากการลดค่าใช้จ่ายจะมีมูลค่าของการเติบโตน้อยถอยลงไป เพราะการเติบโต ดังกล่าวย่อมมีระยะเวลาและขนาดที่จํากัด และนักลงทุนย่อมไม่อยากได้หุ้นที่มีข้อจํากัดในการเติบโต... 9.ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI : Return on Investment) เราสามารถคิดตัวเลขนี้ได้จากสามัญสำนึกพื้นฐาน ลองจินตนาการว่าตัวเองเป็นนักลงทุนและลองถามว่าการลงทุนของเรา เราคาดหวังผลตอบแทนจากสิ่งใด เช่น หากลงทุนในตราสารหนี้ น่าจะอยากได้ดอกเบี้ยเป็นหลัก หากลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า น่าจะอยากได้ค่าเช่าเป็นหลัก ในกรณีการซื้อกิจการของบริษัท บริษัทน่าจะอยากได้กระแสเงินสด (Free Cash Flow to Firm) เป็นหลัก และจะใช้ตัวเลขนี้เป็นผลตอบแทนจากการลงทุน 10.ต้นทุนของเงินทุน (COC : Cost of Capital) เราสามารถคิดตัวเลขนี้ได้จากสามัญสำนึกพื้นฐานได้เช่นกัน ขั้นแรก ต้องถามตัวเองว่าเงินก้อนนี้มีค่าใช้จ่ายในการได้รับมาหรือเปล่า เช่น หากเรากู้ธนาคารมีดอกเบี้ยออกตราสารหนี้มา เงินก้อนนี้ย่อมมีดอกเบี้ย เราก็ใช้ดอกเบี้ยนี้เป็นต้นทุนได้ แต่หากเงินที่มาจากใช้ไม่มีตัวเลขต้นทุนโดยตรง เราอาจจะใช้ตัวเลขค่าเสียโอกาสแทน เช่น หากเป็นเงินสดในบริษัท เราอาจใช้ตัวเลขดอกเบี้ยธนาคาร หากเป็นการเพิ่มทุน เราอาจใช้ตัวเลขผลตอบแทนคาดหวังจากการลงทุนในหุ้น 11.หลักการประเมินกำไรสุทธิจากกิจการ แบบที่ 1: การประเมินกำไรสุทธิจากกิจการจากความเห็นผู้บริหาร แบบที่ 2: การประเมินกำไรสุทธิจากกิจการจากสูตรทางการเงิน แบบที่ 3: การประเมินกำไรสุทธิจากกิจการจากสมมติฐานอัตรากำไรสุทธิ แบบที่ 4: การประเมินกำไรสุทธิจากกิจการจากบัญชีบริหาร แบบที่ 5: การประเมินกำไรสุทธิจากกิจการจากบัญชีการเงิน 12.หลักการประเมินคุณภาพการเติบโตด้วย 2M2S2Q 1. การเติบโตของตลาด (Market Growth) 2. ส่วนแบ่งตลาด (Market Share) 3. ความเชี่ยวชาญเฉพาะ (Specialty) 4. ความยั่งยืนในระยะยาว (Sustainability) 5. คุณภาพของตัวเลข (Quality of Number) 6. ความน่าสงสัยของการเติบโต (Questionable Growth) 13.บทสรุปหลักการลงทุนแนวเน้นเติบโต 1) หาหุ้นเติบโต ตามหลัก 7 Ladders of Profit Growth 2) หาตัวเลขการเติบโตของกำไรสุทธิ ด้วยการประเมิน รายได้ และ กำไรสุทธิของกิจการ 3) เลือกหุ้นที่อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิ ทบต้นระยะยาว สูงกว่าผลตอบแทนคาดหวัง 4) ซื้อหุ้นที่อัตราส่วน P/E ต่ำกว่าอัตราส่วน P/E เหมาะสม ตามหลัก The 5 Factor Model of PE 5) ติดตามผลการเติบโตของกำไรสุทธิ ตามหลักการประเมินคุณภาพการเติบโตด้วย 2M2S2Q โดยรวมถือว่าเป็นหนังสือที่อ่านยากพอสมควร เหมือนกับนั่งเรียน Lecture ในมหาวิทยาลัยจริงๆที่เน้นไปที่เรื่องของหลักการมากกว่าจะใช้กรณีศึกษาของหุ้นไทย นอกจากนี้การใช้กรณีศึกษาจากหุ้นนอกในอดีตก็เป็นเพียงตัวอย่างประกอบหนึ่งเท่านั้น ใครที่เป็นมือใหม่ลงทุนหุ้น เล่มนี้ยังไม่แนะนำ ส่วนคนที่ชอบลงลึกถึงประเด็นหุ้นเติบโต เล่มนี้ก็นับว่าทำได้ดีมากเลยทีเดียว แต่การจะหาหุ้นเติบโตลงทุนจริงๆ เราก็ต้องยอมรับว่าอาจจะหาหุ้นที่สมบูรณ์แบบจริงๆไม่เจอ แต่เราจะตระหนักถึงความเสี่ยงว่ามันจะสอดคล้องกับสภาวะความเป็นจริงกับเหตุการณ์ปัจจุบันจะส่งผลมากน้อยแค่ไหน เครดิตภาพ ภาพปก โดย Pixabay จาก pexels.com ภาพที่ 1 และ 2 โดยผู้เขียน ภาพที่ 3 โดย David McBee จาก pexels.com ภาพที่ 4 โดย Anna Nekrashevich จาก pexels.com บทความอื่นๆที่น่าสนใจ รีวิวหนังสือ MONEY LECTURE เรียนหนึ่งครั้งใช้ได้ทั้งชีวิต รีวิวหนังสือ คู่หูนักลงทุน แนวทางต่าง แต่เป้าหมายเดียวกัน (Style That Beats The Market) รีวิวหนังสือ BLACK SWAN วันมืดมิดในชีวิตการลงทุน รีวิวหนังสือ Psychology of Money จิตวิทยาว่าด้วยเงิน โดย Morgan Housel เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !