การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำทุกปีเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ ซึ่งเชื่อว่าเพื่อน ๆ ที่กำลังยื่นเป็นครั้งแรกก็อาจจะยังไม่รู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง ต้องเตรียมตัวอย่างไร บทความนี้เราได้รวบรวมขั้นตอนการยื่นภาษีและรายการลดหย่อนภาษี 2566 มาด้วย รับรองว่าเข้าใจง่าย ทำตามได้ทันทีแน่นอน รายการลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง ?สำหรับลิสต์รายการลดหย่อนภาษีปี 2566 นั้นมีเพิ่มเติมจากปีก่อนหน้าคือ ประกันสังคมสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น รวมทั้งโครงการ "ช้อปดีมีคืน" ก็ขยายวงเงินเป็นคนละ 40,000 บาทด้วย ซึ่งรายการลดหย่อนภาษีปี 2566 มีดังนี้เลยค่ะหมวดค่าใช้จ่ายส่วนตัว / ครอบครัวลดหย่อนค่าใช้จ่ายส่วนตัว : ค่าลดหย่อนนี้สามารถใช้ได้ทุกคน เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาทต่อปี / คน ไม่ว่าจะได้เงินเดือนเท่าไรก็ลดหย่อนส่วนนี้ได้ทุกคนลดหย่อนคู่สมรส : กรณีที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย แต่อีกฝ่ายไม่มีรายได้ สามารถลดหย่อนได้ 60,000 บาท เมื่อทำการยื่นแบบภาษีร่วมกันลดหย่อนบุตร : - บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย อายุต่ำกว่า 25 ปี สามารถยื่นลดหย่อนภาษี 2566 ได้ไม่จำกัดจำนวนคน คนละ 30,000 บาท- บุตรบุญธรรม สามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 3 คน คนละ 30,000 บาท- มีทั้งบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายและบุตรบุญธรรม รวมกันสูงสุด 3 คน คนละ 30,000 บาท- บุตรที่อายุ 25 ปีขึ้นไปที่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ สามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้ลดหย่อนค่าฝากครรภ์ / คลอดบุตร : จ่ายตามจริงไม่เกิน 60,000 บาท ต่อการคลอด 1 ครั้ง แม้จะเป็นลูกแฝดก็สามารถลดหย่อนได้ 60,000 บาทเท่ากัน ลดหย่อนค่าดูแลพ่อแม่ : - พ่อแม่ของตัวเอง อายุ 60 ปีขึ้นไปในปีรายได้นั้น และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท สามารถลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท- พ่อแม่ของคู่สมรส อายุ 60 ปีขึ้นไปในปีรายได้นั้น และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท โดยคู่สมรสต้องไม่มีรายได้ ลดหย่อยได้คนละ 30,000 บาท* กรณีมีพี่น้องหลายคน ต้องแบ่งกันให้ดี ไม่สามารถลดหย่อนร่วมกันได้ลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบุคคลพิการหรือทุพลภาพ : ผู้พิการหรือทุพลภาพนั้นต้องมีบัตรแสดงตนเป็นผู้พิการหรือทุพลภาพ และมีรายได้ไม่เกินปีละ 30,000 บาท จะสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาทหมวดค่าประกันลดหย่อนค่าประกัน : - ประกันชีวิต / ประกันสะสมทรัพย์ สามารถลดได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยประกันต้องมีอายุความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป และได้รับผลตอบแทนไม่เกิน 20%- ประกันสุขภาพ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทลดหย่อนค่าประกันสุขภาพพ่อแม่ : ลดหย่อยได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15,000 บาทตัวอย่าง ถ้ามีลูกหลายคนสามารถช่วยกันจ่ายค่าประกันของพ่อแม่และแบ่งค่าลดหย่อนได้ เช่น ลูก 2 คน ลดหย่อนได้คนละ 7,500 บาท ลูก 3 คนลดหย่อนได้คนละ 5,000 บาท เป็นต้นลดหย่อนเงินประกันสังคม : - มาตรา 33 ลดหย่อนได้จำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท- มาตรา 39 ลดหย่อนได้จำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5,184 บาทหมวดกระตุ้นเศรษฐกิจลดหย่อนดอกเบี้ยซื้อที่อยูอาศัย : ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ลดหย่อนโครงการช้อปดีมีคืน : - ลดหย่อนจากค่าซื้อสินค้าและบริการ ไม่เกิน 30,000 บาท และจะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบกระดาษ หรือ อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร- ค่าซื้อสินค้าและบริการ พร้อมใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป (e-Tax invoice & e-Receipt) จากกรมสรรพากรเท่านั้น ลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาทหมวดเงินลงทุน สำหรับการลงทุนนอกจากจะช่วยให้มีเงินปันผล และเสริมอิสรภาพทางการเงินแล้ว เงินลงทุนยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย จะมีอะไรบ้างมาดูกันลดหย่อนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข. / กองทุนสงเคราะห์ : - ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง โดยไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง โดย 10,000 บาท คือ ค่าลดหย่อน ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกินจำนวนเงิน 490,000 บาท ให้ทำการหักเป็นรายการยกเว้นเงินได้ลดหย่อนกองทุน RMF : ให้ทำการหักไม่เกิน 30% ของเงินได้ ในส่วนที่เกิน 500,000 บาท เป็นรายการยกเว้นเงินได้ลดหย่อนกองทุน SSF : ให้ทำการหักเป็นรายการยกเว้นเงินได้ 30% ของรายได้ โดยไม่เกิน 200,000 บาท ลดหย่อนกองทุนการออม (กอช.) : สามารถลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 13,200 บาทหมวดเงินบริจาค การบริจาคทั่วไป : ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังจากที่ลดหย่อนลดหย่อนจากการบริจาคเพื่อการศึกษา / กีฬา / รพ.รัฐ / พัฒนาสังคม : จะสามารถลดหย่อนได้ 2 เท่าของยอดที่บริจาค <10% หลังจากที่ลดหย่อนลดหย่อนจากการบริจาคให้พรรคการเมือง : สามารถลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาทรีวิวขั้นตอนการยื่นภาษี 2566 ออนไลน์ เราจะมาสอนการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางออนไลน์แบบมือใหม่ก็ทำได้กัน จะต้องทำยังไงบ้างมาดูกันเลยค่ะเข้าเว็ปกรมสรรพากร >> https://www.rd.go.th/272.htmlกดที่ >> ยื่นออนไลน์กด >> ยื่นแบบออนไลน์ (สำหรับใครที่ยังไม่เคยยื่นภาษีให้กด >> สมัครสมาชิก)Log in เข้าสู่ระบบใส่เบอร์โทรศัพท์เพื่อรับ OTP แล้วกดยืนยันกดปุ่ม >> ยื่นแบบ ในหัวข้อของ ภ.ง.ด 90/91ทำการตรวจสอบข้อมูล และเลือกสถานะทางกฎหมายเข้าสู่หน้ารายได้ ให้เลือกประเภทรายได้ของเรา แล้วกรอกรายได้ที่ ระบุข้อมูลเมื่อใส่รายได้เรียบร้อย จากนั้นใส่รายการลดหย่อน เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้เช็คข้อมูลอีกทีกดยื่นแบบภาษีได้เลยค่ะแชร์ประสบการณ์การคำนวณภาษีเงินได้ก่อนอื่นขอแนะนำตัวก่อนนะคะ ตัวนักเขียนเองกำลังเป็นนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง ซึ่งตอนนี้ทำงานเป็นนักเขียน SEO Freelance ไปด้วย ก็ถือเป็นบุคคลที่มีรายได้ ประเภทที่ 2 (ฟรีแลนซ์) เงินได้แต่ละเดือนไม่เท่ากัน สามารถคำนวณได้รายไปทั้งหมด 300,000 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาทและค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาทแล้ว เท่ากับมีเงินได้สุทธิ 140,000 บาท ซึ่งต่ำกว่า 150,000 บาท ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง แต่ทั้งนี้แม้จะคำนวณว่าไม่ต้องเสียภาษี ก็ยังควรยื่นภาษีนะคะขอบคุณภาพหน้าปกภาพที่ 1 : pressfoto / Freepikภาพที่ 2 : tirachardz / Freepikภาพที่ 3 : jcomp / Freepikภาพที่ 4 : flaticon / Freepikภาพที่ 5 : flaticon / Freepikภาพที่ 6 : mamewmy / Freepikขอบคุณภาพประกอบภาพที่ 1 : Canva Template / Sparklestroke / PabitraKaity / Iconsy / Iconsy / Drawcee / Iconsy / Drawcee ภาพที่ 2 : tirachardz / Freepikภาพที่ 3 : jcomp / Freepikภาพที่ 4 : jcomp / Freepikภาพที่ 5 : freepik / Freepikภาพที่ 6 : jcomp / Freepik#taxes #incometax #taxfiling #taxplanning #taxhelp #taxreturn #taxseason #taxadvice #taxlaw #taxprofessional #ยื่นภาษี #ภาษีเงินได้ #ภาษีปี2566 #ลดหย่อนภาษี #ช้อปดีมีคืน #เอกสารยื่นภาษีอัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !