(Photo by Tim Marshall on Unsplash)การตลาดตัวหนึ่งที่เริ่มจะมีผู้คนให้ความสนใจมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา หลังจาการตลาดสีเขียว (อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) จุดติดขึ้น นั่นก็คือ การตลาดเพื่อสังคม (Social Marketing) นั่นเอง (ไม่ใช่พวก Social Media Marketing นะครับ) หรือที่เราเรียกว่าความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) ซึ่งผู้ประกอบการในบ้านเราหลายที่นั้น ได้ปฏิบัติกันมานานแล้ว แต่อย่างที่บอกไปจากการตื่นตัวของการตลาดสีเขียวดังกล่าว ทำให้การตลาดเพื่อสังคมถูกนำใช้ควบคู่กันไปด้วย เราจะไปดูกันว่า การทำการตลาดเพื่อสังคม นอกจากทำการการตลาดสีเขียวแล้ว ยังสามารถทำอะไรเพื่อตอบแทนกลับคืนสู่สังคมได้บ้างอีก...(Photo by Lucian Petronel Potlog from Pexels)การตลาดเพื่อสังคม (Social Marketing)การตลาดนอกจากจะเป็นพระเอกเพราะมีบทบาทในการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้ธุรกิจเจริญเติบโตแล้ว ในมุมกลับการตลาดก็ถูกมองว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของทุนนิยม โดยการสร้างวัฒนธรรมบริโภคนิยม รวมถึงวัตถุนิยมขึ้นมาจนมากเกินพอดี บางครั้งก็กระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคให้มีความต้องการในสิ่งที่ไม่จำเป็น(Photo by Andrea Piacquadio from Pexels)จนดูเหมือนว่าจะสวนทางกับกระแสการฟื้นฟูวิกฤตสังคมในเวลานี้ซึ่งเป็นยุคที่จิตสำนึกเพื่อส่วนรวมของคนในสังคมถูกปลุกขึ้นมาจากปัญหาและวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภัยธรรมชาติ ความเสื่อมทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ปัญหาการเมือง และความเหลื่อมล้ำต่าง ๆแล้วการตลาดจะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาสังคมได้อย่างไร ?คำตอบก็คือ หากมองว่าการตลาดเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งแล้วก็ช่วยได้อย่างแน่นอน เพราะการตลาดจะช่วยให้การสื่อสารและการทำกิจกรรมต่าง ๆ กับคนในสังคมทำได้อย่างตรงเป้าหมายและสัมฤทธิผล ดังนั้นการตลาดจึงไม่ได้ช่วย ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการบริโภคโดยไม่ยั้งเท่านั้น แต่ยังช่วยปลุกจิตสำนึกที่ดีและความยั้งคิดให้กับผู้บริโภคได้ในอีกมุมหนึ่งครับ(Photo by Akil Mazumder from Pexels)ในส่วนขององค์กรธุรกิจก็หันมาให้ ความสนใจในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) กันมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมก็มีอยู่หลายวิธี เช่น การดูแลแหล่งน้ำ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปลูกป่า การช่วยเหลือด้านการศึกษาให้กับผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น อย่างไรก็ดีจุดมุ่งหมายขององค์กรธุรกิจโดยทั่วไปนั้นก็คือ การสร้าง ผลกำไร การทำกิจกรรม CSR จึงเป็นการแสดงความรับผิดชอบ และทำสิ่งดี ๆ เพื่อคืนกลับสู่สังคมบ้างเท่านั้นองค์กรธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise เข้ามาตอบโจทย์องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร (Nonprofit Organization) หรืออาจเป็นองค์กรธุรกิจที่แสวงผลกำไรก็ได้ แต่กำไรนั้นมีเป้าหมายเพื่อหล่อเลี้ยงองค์กรให้ดำเนินอยู่ได้เพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านต่าง ๆ ต่อไป ดังนั้นองค์กรธุรกิจเพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จนั้นจึงถือว่าได้กำไรถึงสามต่อ คือได้ทั้งผลตอบแทนทางการเงิน ผลตอบแทนด้านสังคมของเรา และสิ่งแวดล้อมของโลกอีกด้วย(Photo by fauxels from Pexels)รูปแบบของ Social Enterprise หรือองค์กรธุรกิจเพื่อสังคมนี้ดูจะเป็นรูปแบบที่ลงตัวสำหรับผู้ประกอบการที่มีจิตสาธารณะ ต้องการทำความดีเพื่อสังคม เพราะเป็นรูปแบบที่สามารถทำได้อย่างยั่งยืน เหมือนเป็นสะพานที่เชื่อมช่องว่างระหว่างองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรกับธุรกิจทั่วไปที่เน้นกำไรสูงสุด เพราะอย่างน้อยก็ยังสามารถเลี้ยงองค์กรให้ดำเนินอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินสนับสนุนหรือเงินบริจาคแต่เพียงอย่างเดียว เรียกว่าทำเพื่อสังคมได้โดยไม่ต้องกินแกลบครับครั้งต่อไปเราจะมาดูตัวอย่างองค์ธุรกิจในเมืองไทยที่ตั้งตัวเองขึ้นมาเป็น Social Enterprise กันบ้างครับ ว่าเขามีการจัดการกันอย่างไรที่ทำให้องค์กรทำเพื่อสังคมแล้วยังได้ในแง่ของการทำธุรกิจด้วยติดตามความรู้เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจที่น่าสนใจได้ที่ > นิยมเล่าเป็นเรื่องเจ้าของเว็บไซต์ : Business Connection Knowledge