หัวหน้าที่ดีไม่ใช่เพียงแต่ควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้เพียงเท่านั้น แต่ยังต้องสังเกตและตอบสนองต่อสภาพอารมณ์ของสมาชิกในทีมหรือลูกน้องอีกด้วย ถึงแม้ว่าคุณจะควบคุมความรู้สึกและการกระทำของลูกน้องไม่ได้ แต่คุณต้องชักจูงให้พวกเขาไปในทางที่สร้างสรรค์ได้ซึ่งส่วนตัวจากประสบการณ์ของครีเอเตอร์เอง เคยเป็นทั้งลูกน้องและหัวหน้าในสายงานอาชีพ วิศวกร จึงคิดว่าทักษะนี้มีความสำคัญมากที่จะพาให้ทีมไปข้างหน้าได้และหน้าที่ความรับผิดชอบลุล่วงไปได้ด้วยดีและอย่างราบรื่นครับ ซึ่งครีเอเตอร์ขออ้างอิงหลักการและขั้นตอนจากหนังสือเล่มนี้ดังต่อไปนี้ครับขั้นตอนที่ 1 สังเกตอารมณ์อย่ารอให้ลูกน้องระเบิดอารมณ์ออกมา ให้สังเกตลักษณะท่าทางให้ดี หากลูกน้องบอกว่าเห็นด้วยกับการตัดสินใจแต่ไม่กล้าสบตาหรือมีสีหน้าไม่พอใจ ให้เปิดโอกาสให้เขาแสดงความคิดเห็นออกมา เช่น “ดูเหมือนว่าคุณจะไม่เห็นด้วยสักเท่าไหร่ใช่ไหม รบกวนช่วยอธิบายความคิดเห็นของคุณให้ฟังหน่อยได้ไหม” จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาคิดว่าข้อนี้มีผลในการทำงานให้ราบรื่นอย่างมากครับ เช่น เวลาที่เราจะประสานงานกับใครหรือขอความช่วยเหลืออะไรบางอย่าง เราจะต้องสังเกตอารมณ์ของคนที่เราจะสื่อสารให้ดีก่อน ถ้าเราเข้าผิดจังหวะในตอนที่เขายุ่งมากๆหรืออารมณ์ไม่ดี เราก็อาจจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีก็อาจเป็นได้ครับขั้นตอนที่ 2 รับฟังอย่างตั้งใจรับฟังความคิดเห็นอย่างตั้งใจและพยายามชี้แนวทางให้เขาเห็นต้นตอและสาเหตุของอารมณ์และพฤติกรรมของตัวเอง อะไรที่เป็นสาเหตุหรือความเชื่อที่ทำให้เขาแสดงออกมาแบบนั้น หรือคำพูดใดหรือแสดงใดที่รุนแรงเกินไป การที่เรามีทักษะ Active Listening ถือว่าเป็นทักษะที่จำเป็น การที่เราตั้งใจฟังสารที่ผู้พูดสื่อมาอย่างตั้งใจและอย่างเข้าอกเข้าใจก็จะทำให้เราเข้าใจคนที่สื่อสารได้มากขึ้นและเข้าถึงต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นได้มากขึ้นครับขั้นตอนที่ 3 ปรับอารมณ์ของลูกน้องตั้งสมมุติฐานกับสิ่งที่เกิดขึ้นและทดสอบร่วมกับลูกน้อง และร่วมทำไปด้วยกัน หากลูกน้องต่อต้านกระบวนการใหม่เป็นเพราะเขาไม่เห็นประโยชน์ของมัน หรือพวกเขาไม่เชื่อว่ามันจะนำมาปฎิบัติได้จริง ให้วิเคราะห์ร่วมกับลูกน้องและหาเหตุผลร่วมกัน หากว่าคุณถูกต้องเขาจะรู้สึกว่าคุณรับฟังเขา แต่หากคุณไม่ถูกต้อง คุณก็ต้องกล้ายอมรับผลของมันและจะต้องเรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์จากความคิดเห็นของพวกเขาจากประสบการณ์ที่พบเจอจากการทำงาน ถ้าหัวหน้าไม่ยอมรับฟังสิ่งที่ลูกน้องต้องการจะสื่อ แต่กลับออกคำสั่งอย่างเดียว ผลที่ได้จากการแก้ไขปัญหาอาจจะไม่ใช่ทางที่ดีๆสุดก็ได้ เพราะว่าวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่แท้จริงอาจจะมาจากลูกน้องเพราะเขาทำงานอยู่กับปัญหาน่าจะเข้าใจดีกว่าคนที่เป็นหัวหน้าก็อาจเป็นได้ครับขั้นตอนที่ 4 รักษากฎเกณฑ์ด้วยความนุ่มนวลให้ตักเตือนในการกระทำที่ไม่เหมาะสม ทุกคนต้องเคารพซึ่งกันและกัน และแสดงให้เห็นว่าคุณพร้อมที่จะอยู่ข้างพวกเขา ใช้ความนุ่มนวลและถ้อยคำที่ใส่ใจในการตักเตือนเช่น “ผมรู้ว่าคุณหงุดหงิด แต่การประชดประชันไม่ช่วยอะไรให้ดีขึ้นได้ คุณลองอธิบายความคิดเห็นของคุณอีกครั้งได้ไหม”ขั้นตอนที่ 5 กล่าวขอโทษหรือเสียใจในสถานการณ์ที่เหมาะสมเมื่อเราเป็นฝ่ายผิดจริงๆ เราต้องกล้าขอโทษและอธิบายเหตุผล ไม่ว่าคุณจะอยู่ตำแหน่งที่สูงกว่าก็ตาม จงระลึกไว้เสมอว่าคนเราผิดได้เหมือนๆกัน แต่เมื่อผิดต้องกล้าที่จะยอมรับและขอโทษเพื่อนำไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น จากประสบการณ์ที่เคยเห็นหัวหน้าที่ทำผิดและไม่ยอมรับผิดหรือกล่าวขอโทษ มักจะไม่ค่อยได้ใจลูกน้องในการทำงาน ซ้ำยังถูกลูกน้องนินทาลับหลังอีกด้วย ซึ่งตรงข้ามกับหัวหน้าที่กล้ารับผิดและกล่าวขอโทษเป็น มักจะได้ใจลูกน้องและยังทำให้การทำงานในการประสานงานราบรื่นอีกด้วยครับ ผมหวังว่า 5 ขั้นตอนนี้จะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ ผมเชื่อว่าเราสามารถนำไปประยุกต์ปรับใช้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไหนก็ตาม อย่าลืมฝึกทักษะ “ความฉลาดทางอารมณ์” กันด้วยนะครับ การที่เรามีทักษะในการควบคุมอารมณ์ได้ดีถือว่าเป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญที่จะพาให้เราก้าวหน้าในชีวิตได้ครับและจะทำให้เราสามารถทำงานร่วมงานกับผู้อื่นได้ราบรื่นอีกด้วยครับ ข้อมูลอ้างอิงมาจากหนังสือ Harvard Business Review รูปภาพทั้งหมดจาก ครีเอเตอร์ อัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !