วัยเกษียณเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เตรียมพร้อมด้านการเงินสำหรับเวลาที่จะมาถึงได้ เมื่อเราประเมินตัวเองในเรื่องอายุเกษียณ ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและวางแผนเก็บออมให้มีเงินใช้ในยามเกษียณได้อย่างมีวินัยแล้ว เราก็จะมีชีวิตเกษียณอย่างเกษมได้อย่างแน่นอนขอบคุณข้อความด้านบนจากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยแม้วันนี้เราจะยังทำงานได้ มีเงิน แต่ก็อย่าลืมเมื่อเราแก่ตัวไปจะเอาเงินที่ไหนใช้ แม้อายุจะยังน้อยก็สามารถวางแผนเกษียณได้ วันนี้มีแหล่งเรียนรู้การวางแผนเกษียนชื่อว่าเว็บไซต์ AllAboutFIN.com เป็นเว็บไซต์ของสถาบันที่มีชื่อว่า Thai Professional Finance Academy (ThaiPFA) สถาบันที่จัดหลักสูตรอบรมการวางแผนทางการเงิน เมื่อเข้าเว็บไซต์ AllAboutFIN.com เราจะพุ่งตรงไปที่หน้า โปรแกรมวางแผนการเงิน ต่อด้วย การวางแผนวัยเกษียณ (Easy) เอาแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนก่อน หน้าตาเว็บที่เห็นก็จะเป็นอย่างนี้ค่ะกรอกข้อมูลในช่องสีขาวในครบ โดยสามารถหาความรู้ได้จากเว็บไซต์ SET ซึ่งอธิบายหลักการวางแผนชีวิตเกษียณในรูปแบบอินโฟกราฟฟิกง่ายๆ ติดตามชมที่เว็บนี้เลย https://www.set.or.th/set/financialplanning/lifeevent.do?name=lifeevent_detail_retire-1&innerMenuId=14 จากนั้นท่านจะเริ่มกรอกข้อมูลของตัวเองได้ ในเคสของดิฉัน กรอกช่องต่างๆดังนี้1. ระยะเวลาจากต้นปีปัจจุบันถึงต้นปีของวันที่เกษียณอายุ - 31 ปี2. อายุขัยหลังเกษียณ (ประมาณการระยะเวลาที่ดำรงชีวิตหลังเกษียณ) - 20 ปี (หลังเกษียณขออายุประมาณ 80 ปีก็พอค่ะ 555)3. ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำรงชีวิตทั้งหมดในปัจจุบัน - 20,000 บาท4. อัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยของราคาสินค้า/บริการที่ใช้จ่ายในปัจจุบัน - 2.5 (ประมาณเอาตามข้อมูลเงินเฟ้อ)5. อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนหลังเกษียณ - 0 (เพราะยังไม่รู้ช่วงใกล้เกษียณลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วจะได้เงินเท่าไร ไม่เติมดีกว่า)6. อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนก่อนเกษียณ - 10 (คิด 10% จากรายได้ที่หักเข้าสหกรณ์ออมทรัพย์ รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง)7. เงินลงทุนตั้งต้นที่มีหนึ่งจำนวนที่สามารถนำมาลงทุนได้ทันที - 100,000 (ซื้อสลากออมสิน 3 ปีไว้ค่ะ ถ้าถอนก่อนก็นำมาลงทุนได้ทันที 555)ผลที่ออกมาเป็นดังนี้ค่ะ1. ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำรงชีวิตทั้งหมดในปีแรกที่เริ่มเกษียณ - 43,000.14 บาท2. จำนวนเงินที่ต้องมีทั้งหมด ณ วันที่เกษียณ เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตหลังเกษียณ - 1,098,423.85 บาท3. เงินงวดลงทุนเพิ่มเติมต่อเนื่องสม่ำเสมอทุกปีจนถึงปีสุดท้ายที่เกษียณ - 4,512.45 บาท จะเห็นได้ต้องหาเงินและลงทุนให้สม่ำเสมออีกเยอะเลย แต่ก็ไม่มากเกินความสามารถ เริ่มตอนนี้ดีกว่าแก่แล้วเริ่มไม่ทันค่ะ ให้โปรแกรมเป็นแรงบันดาลใจให้เราไม่ใช่ทำให้ท้อนะคะ 555 ใครที่รู้สึกว่ายังขาดความรู้เรื่องการเงิน ก็สามารถไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ http://www.thaipfa.co.th/ เพื่อเพิ่มพูนความรู้เรื่องการวางแผนทางการเงิน การลงทุนแบบต่างๆได้ มีข้อความจากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) อีกหนึ่งข้อความมาฝากก่อนจากกันไปเริ่มต้นการวางแผนเกษียณตั้งแต่วันนี้ อย่ารอให้วันเวลาผ่านไปเรื่อยๆ จนพบว่าเราออกตัวช้าจนสายเกินไปแล้ว