มนุษย์ก็ไม่ต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ต้องแสวงหาและดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ละมนุษย์เป็นที่มีชีวิตที่อยู่ได้ทั้งเป็นกลุ่มและเดี่ยว แต่ส่วนใหญ่จะนิยมการอยู่อย่างเป็นกลุ่ม เพราะความจำเป็นจะต้องพึงพาอาศัยกัน โดยเฉพาะการหาอาหารในสังคมล่าสัตว์ รวมทั้งในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย มนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จะมีที่อยู่อาศัยอยู่ตามประตูผา หรือในถ้ำ และหาอาหารโดยการล่าสัตว์โดยเฉพาะในสมัยยุคหินเก่า ยุคสมัยต่อมาสภาพแวดล้อมมีความเปลี่ยนแปลงประกอบกับความเจริญทางด้านความคิด เทคโนโลยี ทำให้มนุษย์สันหาสิ่งต่าง ๆ มาสร้างเป็นที่อยู่อาศัย ทำให้มนุษย์ออกจากถ้ำ มาตั้งถิ่นฐานตามบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการทำการเกษตร ร่องรอยอาณาจักรอยุธยา ความเจริญเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจัยที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมประการแรกและเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือ 1. การตั้งถิ่นฐาน การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์หมายถึง การที่มนุษย์ต้องเลืองสถานที่เพื่อที่จะวางรกรากทางบริบททางสังคมได้อย่าถาวร โดยมีปัจจัยคือแหล่งน้ำเพราะมนุษย์ต้องใช้น้ำในการดำรงชีวิตการอุปโภค บริโภค และเพื่อทำการเกษตร 2. อาหาร นอกจากเรื่องของแหล่งน้ำแล้วพื้นที่นั้นจะต้องมีดินที่อุดมสมบูรณ์เพื่อทำการเกษตร อีกทั้งเรื่องของทรัพยากรป่าไม้ที่เอื้ออํานวยในการหาผลผลิตคือของป่าและการล่าสัตว์ 3. การพาณิชย์ เมื่อผลผลิตที่ได้มีปริมาณที่มากเหลือกินหรือใช้การทำการค้าเป็นการระบายของที่สำคัญเพื่อไม่ให้เกิดการเสียเปล่า หรือแม้แต่สินค้าที่อารยธรรมหรือกลุ่มคนต่างถิ่นไม่มีและเป็นที่ต้องการ อารยธรรมหรือกลุ่มคนที่มีสามารถนำสิ่งของที่ตนเองมีไปแลกเปลี่ยนทำให้เกิดกลไกทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะทรัพยากรจำพวกแร่ อย่าง ดีบุก ทองแดง เหล็ก หินสี อัญมณี เป็นต้น 4. ศิลปะและแนวคิด เมื่อการพาณิชย์มีความเจริญมั่งคั่งแล้วสิ่งหนึ่งที่ตามมาคือ การสร้างสรรค์ทางความคิดและความคิดที่ได้รับการกลั่นกรองที่ดีแล้วจะถูกถ่ายทอดออกมาเป็นศิลปะ โดยเฉพาะศิลปะที่มีศาสนาเป็นแรงขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังและการเกิดศาสนานั้นเกิดจากระบบความคิดของมนุษย์ที่ต้องการแสวงหาจุดสูงสุดและความเป็นจริงในชีวิต เพื่อความคิดได้ถูกกลั่นกรองมาอย่างแยบคายแล้วจึงถ่ายทอดให้ผู้อื่นในสังคมได้รับรู้ และเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน มืองพิมายอารยธรรมลุ่มแม่น้ำมูล เมื่อปัจจัยทั้ง 4 ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์แล้วความเจริญก้าวหน้าเกิดขึ้นในกลุ่มชนกลุ่มใหญ่ทำให้เกิดอารยธรรมขึ้น และยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่ตามมาหลังจากความเจริญของอารยธรรมอย่างเช่น การประดิษฐ์อักษรใช้ การแต่งวรรณคดี ศิลปะการแสดง การประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ การขยายดินแดนขยายอาณาเขตเพื่อรองรับประชากรของตนเองที่ขยายมากขึ้น เหล่านี้เป็นต้น แต่สิ่งหนึ่งนั้นตั้งแต่เรื่องของการตั้งถิ่นฐาน อาจจะต้องมีการทำสงครามเพื่อเเย่งชิงแหล่งน้ำและทรัพยากรอื่น ๆ จากฝ่ายที่ครอบครอบอยู่แล้วหรือทั้งสองกลุ่มมาเจอแหล่งพร้อมกัน ทำให้ปัจจัยหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วงนี้คือยุทธศิลป์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมหนึ่งในการตอบโต้ระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกัน การตั้งถิ่นฐานของผู้คนบนพื้นที่สูงเขตลำน้ำอู แขวงพงสาลี ประเทศลาว ภาพถ่ายโดย พงศธร อิ่มอุดม ผู้เขียนบทความ