10 วิธีหยุดทะเลาเบาะแว้งกันภายในบ้าน ปัญหารายวันที่หลายคนเจอ!การทะเลาะกันเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้เมื่อมีความขัดแย้งหรือมีความเห็นไม่ตรงกันระหว่างสองฝ่ายค่ะ โดยการทะเลาะกันสามารถเกิดขึ้นได้ในหลากหลายสถานการณ์ที่แตกต่างกันกันออกไปของแต่ละคนค่ะ โดยส่วนตัวของผู้เขียนเคยทะเลาะเบาะแว้งกับคนอื่นบ้างแต่น้อยมากจนนับครั้งได้ โดยส่วนใหญ่มักทะเบาะแบบพยายามอธิบายเหตุผลมากกว่าการอยากเอาชนะค่ะ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังพบว่าการทะเลาะเบาะแว้งไม่ว่าจะในสถานการณ์ไหนก็ไม่ได้เกิดผลดีอะไรเลยค่ะ จนตอนหลังมาพยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่มีการทะเลาะเบาะแว้ง เหตุการณ์ที่จะนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งกันโดยเฉพาะภายในบ้านค่ะ การทะเลาะกันภายในบ้านเป็นปัญหาที่หลายคนเจอทุกวัน จนหลายๆ คนก็เริ่มท้อแท้และสิ้นหวังกับการใช้ชีวิตที่เหลืออยู่เป็นอย่างมาก เพราะการทะเลาะกันภายในบ้านนอกจากจะทำให้เหนื่อยใจแล้วยังทำให้สุขภาพกายมีปัญหาตามมาอีกด้วย และจากที่ผู้เขียนเองมีประสบการณ์มานั้นพบว่า การทะเลาะกันภายในบ้านเป็นเรื่องใกล้ตัวที่หลายคนกำลังมองหาทางออก ดังนั้นในบทความนี้ผู้เขียนจึงอยากส่งต่อ 10 วิธีหยุดทะเลาเบาะแว้งกันภายในบ้านค่ะ ลองทำความเข้าในและนำไปปรับใช้ดูค่ะ อ่านต่อกันเลยดีกว่าค่ะ.....1. ควรมีการสื่อสารที่ดี การเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นของตัวเองอย่างเปิดเผยและรับฟังอย่างตั้งใจถือเป็นหัวใจของหยุดการทะเลาะกันในบนค่ะ เพราะการสื่อสารที่ชัดเจนและเป็นกันเองช่วยลดความขัดแย้งในครอบครัวได้ และถ้าคนฟังเป็นคนฟังที่ดียิ่งง่ายมากที่จะทำให้ลดการทะเลาะเบาแว้งค่ะ จากส่วนตัวเคยใบ้วิธีการนี้ก็พบว่าช่วยได้จริง โดยให้บอกสิ่งที่เราคิดตรงๆ ไปเลยค่ะ และบอกด้วยว่าทำไมเราจึงมองเห็นและคิดแบบนั้นค่ะ ก็พบว่าคนในบ้านเงียบฟังและเข้าใจ 2. เคารพและยอมรับความแตกต่าง เราทุกคนแตกต่างกันค่ะดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่เราจะมีความคิดเห็นแตกต่างกันด้วย การหันมายอมรับว่าทุกคนมีวิธีคิด มุมมองและประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป จึงทำให้สามารถเกิดการทะเลาะเบาะแว้งในบ้านได้ การทำความเข้าใจในจุดนี้จะทำให้เราเข้าใจชีวิต เคารพและยอมรับความแตกต่างของทุดคนในบ้านได้ จึงช่วยลดการทะเลาะกันที่เกิดขึ้นในบ้านได้ค่ะ3. ควรมีกฎภายในบ้านของตัวเอง การสร้างกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนและยอมรับกฎนั้นทำให้เรารู้ขอบเขตของตัวเองค่ะ ขอบเขตที่ว่านี้คือขอบเขตของการที่จะไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันค่ะ เช่น ห้ามพูดคำว่า กูมึง ถ้ามีอารมณ์เสียต้องหยุดไปสงบสติตัวเองก่อนเสมอก่อนจะพูดกับคนอื่น ปกติผู้เขียนมีขอบเขตของตัวเองตลอดค่ะ เช่น จะหยุดการพูดคุยทันทีถ้าจับได้ว่าอีกฝ่ายกำลังคิดลบและกำลังพูดด้วยคำพูดลบๆ ก็พบว่าสามารถหยุดการทะเลาะกันในบ้านได้ค่ะ เพราะพอเรามีกฎเราจึงมีสติมากขึ้นค่ะจึงทะเลาะกันน้อยลง4. การแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสุภาพ ถ้ามีการทะเลาะกันเกิดขึ้นต้องพยายามให้แก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสุภาพและไม่ใช้คำพูดที่หยาบคายค่ะ จากหลายต่อหลายครั้งที่เคยเห็นคนทะเลาะกันในบ้านนะคะ หลักๆ เป็นเพราะความโกรธและหลังจากโกรธก็มักพากันแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว จึงทำให้เกิดการทะเลาะกันในบ้านค่ะ การแก้ไขปัญหาอย่างประนีประนอมทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้เพราะอีกฝ่ายหรือคนในบ้านจะอารมณ์ดีขึ้นค่ะ วิธีนี้ยังใช้ได้ดีกับเด็กๆ ค่ะ เพราะจากส่วนตัวพบว่าพอดูดีๆ กับเด็กจากเด็กจะโกรธก็หายเป็นปริดทิ้งเลยค่ะ5. เลือกเวลาที่เหมาะสม การไม่พูดคุยดันด้วยความรุนแรงในช่วงเวลาที่ความเครียดหรือความโกรธสูงคือจุดที่ทำให้หยุดการทะเลาะกันในบ้านค่ะ โดยให้พยายามสงบสติอารมณ์หรือความเครียดด้วยวิธีการอื่นๆ ที่ผู้เขียนเคยทำมานั้นจะเอาเวลาไปสนใจงานอดิเรกเพื่อลดความเครียดก่อนค่ะ ที่ทำประจำคือรดน้ำต้นไม้ ปลูกผัก บางครั้งก็ฟังเพลงค่ะ พอความเครียดลดลง ความโกรธหายไป การทะเลาะกันก็เกิดขึ้นได้ยากค่ะ6. พยายามมีกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่น่าสนใจให้ครอบครัว เช่น การท่องเที่ยว การเล่นเกมหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกัน เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์และลดความขัดแย้งภายในบ้านค่ะ7. การเป็นตัวอย่างที่ดี ทุกคนภายในบ้านควรหันมาเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่กันและกันค่ะ โดยการจะเป็นตัวอย่างที่ดีได้ก็ต้องหันมามีความเคารพ ความอดทน และความรับผิดชอบค่ะ เพราะการเป็นตัวอย่างที่ดีไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันนี้ทำให้สร้างบรรยากาศที่ดีในบ้านค่ะ8. การให้เวลากับตัวเอง โดยการให้เวลากับตัวเองเป็นการฝึกตัวเองให้เป็นคนที่มีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น ใจเย็นขึ้น คิดเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น มีสติมากขึ้น จึงทำให้เราหยุดการทะเลาะในบ้านได้ค่ะ เพราะเราจะกลายเป็นคนที่มีความยับยั้งชั่งใจมากขึ้น มีความมั่นคงทางอารมณ์มากขึ้นค่ะ9. ขอความช่วยเหลือ ในบางครั้งหากสถานการณ์หนักจนเอาไม่อยู่และหากมีปัญหาที่ยากที่จะแก้ไขในครอบครัวจนนำมาซึ่งการทะเลาะเบาะแว้งกันภายในบ้าน สามารถขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาหรือปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาภายในครอบครัวได้ค่ะ ในปัจจุบันยิ่งง่ายเพราะมีโค้ชให้คำปรึกษาต่างๆ ออนไลน์ค่ะ ลองพิจารณาใช้บริการดูค่ะ วิธีการนี้ก็สามารถหยุดการทะเลาะเบาะแว้งภายในบ้านได้ค่ะ10. การออกกำลังกาย การกันมาออกกำลังกายเป็นวิธีหนึ่งในการลดการทะเลาะกันทางอ้อมค่ะ เพราะการออกกำลังกายช่วยทำให้ผ่อนคลายความเครียดจึงทำให้เครียดลดลง มีความสุขได้ง่ายขึ้น จึงลดการทะเลาะกันในบ้านค่ะ และทั้งหมดคือแนวทางที่ผู้เขียนได้รวบรวมมาด้วยตัวเองทั้งที่ได้จากประสบการณ์ตรงและจากตำราที่เกี่ยวข้องค่ะ ก็พบว่าการใช้หลากหลายวิธีดีกว่ามาก เพราะในแต่ละสถานการณ์มีความแตกต่างกัน โดยส่วนตัวมองว่าการสื่อสารคือจุดสำคัญที่นำมาซึ่งการทะเลาะกันค่ะ และจากที่เรารู้ๆ กันมานั้นคนส่วนใหญ่มักไม่ยอมรับว่าตัวเองผิด ถึงแม้จะมีเหตุผลข้างๆ คูๆ ดังนั้นการหันมาพัฒนาตัวเองด้วยวิธีการอื่นเพื่อหยุดการทะเลาะดันภายในบ้านจึงตามมาค่ะ ปกติงานอดิเรก การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ผู้เขียนเลือกใช้ประจำค่ะ เพื่อลดความเครียด และพยายามหากิจกรรมทำภายในบ้านให้หลากหลาย ทำอะไรใหม่ๆ ร่วมกันภายในบ้านค่ะก็พบว่าตัวเองไม่ค่อยจะทะเลาะกับใครค่ะ อย่างไรก็ตามการทะเลาะกันในบ้านเป็นสิ่งธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ แต่การใช้วิธีที่ผู้เขียนได้พูดมานั้นสามารถช่วยลดปัญหาการทะเลาะกันและสร้างบรรยากาศที่ดีในบ้านได้จริงๆ ค่ะ ลองอ่านและนำไปปรับใช้กันค่ะ เอาไว้จะมาลงบทความที่เป็นเนื้อหาคล้ายๆ แบบนี้อีกเรื่อยๆ นะคะ คอยติดตามได้เลยค่ะเครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปก โดย Keira Burton จาก Pexelsภาพประกอบเนื้อหา: ภาพที่ 1 โดย cottonbro studio จาก Pexels, ภาพที่ 2 โดย Josh Willink จาก Pexels, ภาพที่ 3 โดย Gustavo Fring จาก Pexels, ภาพที่ 4 โดย Nathan Cowley จาก Pexelsออกแบบภาพหน้าปกใน Canvaบทความอื่นที่น่าสนใจ8 วิธีเป็นผู้หญิงที่มีจุดยืนเป็นของตัวเอง คิดต่างอย่างสร้างสรรค์ทำแบบนี้!10 วิธีใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย มีความสุขในแบบที่ต้องการ น้อยคนจะรู้!10 สาเหตุที่ทำให้คนรักบอกเลิก ยุติความสุมพันธ์และแยกทางกันอยู่ เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !