บางทีทุกคนอาจจะสงสัยใช่ไหมครับ? ว่าเวลาจะทำงานในวงการกราฟฟิคเนี่ย มันมีอาชีพอะไรบ้าง ? หรือมีเเต่นักออกเเบบอย่างเดียว บ้า ! มันจะมีเเค่นักออกเเบบอย่างเดียวได้ไงล่ะครับ มันก็ต้องมีอย่างอื่นอีกสิ โอเคๆ ไม่ต้องเถียงกันครับ วันนี้ผมจะพาทุกคนไปรู้จักกับอาชีพในสายงานกราฟฟิคกันดีกว่า ว่าเเต่ละอาชีพที่ยกตัวอย่างมาเนี่ย ลักษณะงานจะเป็นเเบบไหนบ้าง? 1. นักออกเเบบ (GRAPHIC DESIGNER) หรือที่เราเรียก กราฟฟิกดีไซน์ กันละครับ โดยอาชีพนี้จะมีชื่อหน้าที่ตามชื่อเลยคือการออกเเบบทุกอย่างในโลกที่โดนสั่งงานมาครับ อย่างเช่น กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ในเรื่องการออกเเบบชุด ก็จะต้องออกเเบบชุดที่ตรงกับคอนเซ็ปต์ที่โดนลูกค้าบรีฟมาเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด นอกจากออกเเบบชุดเเล้วยังมีไรอีกบ้าง ? สติ๊กเกอร์ โลโก้ คอนเท้นตาม Facebook ป้าย เเม็กกาซีนที่เราอ่านกันก็มากจากตำเเหน่งงานนักออกเเบบนี้ละครับ เเต่จะถูกเรียกว่า Art Director ซึ่งทั้งสองชื่อไม่ว่าจะเป็น Art Director หรือ GRAPHIC DESIGNER ทั้งสองชื่อนี้งานเหมือนเหมือนกันเลย 2. โมชั่นกราฟิก (Motion Graphic) คือคนที่ทำภาพกราฟฟิคของเรานั้นดูน่าสนใจขึ้นโดยการใช้การขยับภาพให้เกิดความน่าสนใจ เเต่ เอ๊ะ! เดี๋ยวก่อน พอได้ยินคำว่าทำให้ภาพกราฟฟิคขยับก็เหมือนกับการทำอนิเมชั่นเลยนะสิ อืม..ต้องขอบอกตรงนี้ก่อนเลยนะครับว่าสองชื่อนี้คนละสายงานกันครับ เเต่โปรเเกรมที่ใช้อาจจะเป็นโปรเเกรมเดียวกันก็ได้เเล้วเเต่ความถนัดของเเต่ละบุคล ส่วนคนที่ทำให้ตัวการตูนที่เราเห็นขยับได้นั้นเราเรียกว่าแอนิเมเตอร์ (Animator) นอกเรื่องไปซะหน่อยนึงกับมาที่โมชั่นกราฟฟิคก่อนครับ สรุปของสายอาชีพนี้คือการทำให้ภาพนิ่งที่เรามีนั้นมีความน่าสนใจมากขึ้นเเละโดดเด่ดเด่นขึ้นมากขึ้นด้วยการเพิ่มลูกเล่นเข้าไปทำให้ตัวกราฟฟิคตัวนั้นดูน่าสนใจมากขึ้นไงล่ะครับ 3. อนิเมเตอร์ (Animator) เกริ่นไปเเล้วในข้อ 2 นะครับสำหรับตัวอาชีพ "อนิเมเตอร์" ซึ่งชื่อจะตรงตัวกับการทำงานเลยครับคือ การออกเเบบตัวละคร ท่าทาง ทำให้ขยับได้ หรือเรียกง่าย ๆ นักสร้างการตูนอะหละครับ อาชีพนี้จะเป็นการทำการตูน ซึ่งเราคงเคยเห็นผ่านตากันมาเยอะเเล้วสำหรับอนิเมเตอร์ผมขอยกตัวอย่าง คุณพันเทพ เวียนตระกูล อนิเมเตอร์คนไทยของเราที่ก้าวเข้าสู่ระดับโลกด้วยผลงานมากมายเช่น G-Force (2009) Green Lantern (2011) The Amazing Spider-Man 2 (2014) ซึ่งทั้ง 3 เรื่องที่ผมยกมาล้วนเป็นหนังดังทั้งนั้น หรือเเม้เเต่อนิเมชั่นของคนไทยเราอย่างเช่น ยักษ์ ก้านกล้วย 9 ศาสตรา ที่ล้วนเป็นฝีมือคนไทยก็มีรากฐานจากอนิเมเตอร์ที่ทำหน้าที่ขยับเหล่าตัวละครให้เราดูนั้นเอง 4. วิชวลเอฟเฟกต์ (Visual Effect ) สำหรับคนที่ทำงานสายนี้เอาง่าย ๆ เเบบภาษามนุษย์เราเลยนะครับก็คือคนทำเอกเฟกต์ ให้กับงานวีดีโอนั้น ๆ โดยงานนี้มีตั้งเเต่การใส่ภูเขา เผากระท่อม(ในกรณีที่ไม่ได้เผาจริง) ใส่กระสุนปืน ไปจนถึงการทำทุกอย่างที่เหนือจินตนการที่เราไม่มีทางถ่ายจริงให้ออกมาสมจริงที่สุด ให้คนดูอย่างพวกเราอินที่สุด เเบบซึ้งน้ำตาเเตก หรือเเค้นตัวโกงเสมือนเราอยู่ในหนัง ตัวเขาคนอาชีพนี้ก็มีส่วนร่วมอย่างมากในการสร้างสรรค์งานภาพยนต์ หรือวีดีโอ ให้กับเราเพราะถ้าหากไม่มีเขาล่ะก็..เราคงนึกไม่ออกเเน่นอนเวลายิงปืนเเล้วมีเเต่เสียงเเต่ไม่เห็นกระสุนปืน (เเบบว่าไม่ไม่อินน) 5. ช่างภาพ ( photographer ) เป็นชื่ออาชีพที่ใครหลายคนคงจะคุ้นหูดีใช่ไหมครับ ? เพราะเป็นหนึ่งในอาชีพยอดฮิตที่มีขึ้นเป็นดอกเห็ดมากมาย สำหรับงานนี้ก็คือการเก็บช่วงเวลาของลูกค้า (ผู้ว่าจ้าง) ไว้ในรูปเเบบของรูปภาพ โดยให้ภาพมีความสวยงามมากที่สุด ซึ่งคนที่สนใจในอาชีพคนเเค่มีกล้องพร้อมความรู้ในการถ่ายภาพ คนจะเริ่มต้นสายงานได้ส่วนทางข้างหน้าอยู่ที่ตัวคุณเเล้วละครับว่าจะเป็นไง เชื่อไหมครับทุกคน 5 อาชีพที่ผมเกริ่นมาให้เนี่ยมันเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ในสายอาชีพเลยนะครับ มันยังมีหลายอาชีพเลยครับ ที่เกี่ยวกับสายงานพวกนี้เเต่ผมไม่ได้ยกตัวอย่างมาเพราะเเค่ในวงการภาพยนต์ อาชีพที่เกี่ยวกับกราฟฟิคก็มีเยอะมากเเล้ว เอาง่าย ๆ ครับถ้าเราสนใจในด้านไหนความชอบด้านไหน เราก็ศึกษาเเละลองเริ่มเรียนรู้มันเลยครับไม่มีไรเสียหายเเน่นอน วันนี้ผมขอตัวลาไปก่อนเเล้วผมกันใหม่คอนเท้นต์ต่อไปผมจะไม่เขียนเรื่องอะไรอีกอย่าลืมติดตามกันนะครับ ><&nbsp;