พืชสมุนไพรนั้นล้วนมีประโยชน์ในการรักษาอาการหรือโรคต่าง ๆ ได้ หากมีความรู้และวิธีการใช้สมุนไพรชนิดนั้น ๆ ให้ตรงกับโรค เพราะสมุนไพรแต่ละชนิดก็มีสรรพคุณทางการรักษาที่แตกต่างกัน ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรให้ความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละชนิด อย่างน้อยก็เพื่อให้รู้จักว่าสมุนไพรแต่ละชนิดหน้าตาเป็นอย่างไร บางครั้งเห็นปลูกอยู่ในกระถางอาจจะคิดว่าเป็นเพียงแค่ไม้ประดับเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วอาจจะเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ก็ได้ ในบทความนี้ผู้เขียนได้นำข้อมูลของสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่มักนิยมมาปลูกไว้เป็นไม้ประดับ ซึ่งก็มีรูปร่างหน้าตาที่สวยงาม แต่ผู้คนอาจจะไม่ค่อยรู้จักชื่อของมันเท่าไรนัก นั่นก็คือ “ว่านตีนตะขาบ” ที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคต่าง ๆ ไม่น้อยไปกว่าสมุนไพรชนิดอื่นเลยภาพถ่ายโดยผู้เขียน“ว่านตีนตะขาบ” จัดเป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก ลำต้นเป็นปล้อง ๆ มีลักษณะกลมโตเท่ากับหางหนูมะพร้าวอ่อน แต่เมื่อลำต้นนั้นสูงขึ้นก็จะกลายเป็นไม้เลื้อย ก้านของลำต้นเป็นสีเขียวเข้ม ยาวได้ประมาณ 7-10 ฟุต สามารถขยายพันธ์ด้วยการปักชำ ใบจะออกติดกันเป็นปีกสองข้าง จากโคนต้นจนถึงยอด ดูคล้ายตะขาบสรรพคุณของ “ว่านตีนตะขาบ” ใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดบวมหรือฟกช้ำเคล็ดขัดยอก รักษาอาการหูน้ำหนวก ใช้ถอนพิษตะขาบ พิษแมลงป่อง แก้งูสวัด แก้ร้อนใน ดับพิษเลือด พิษร้อน พิษสี แก้ฝีในปอด แก้เจ็บคอ แก้เจ็บอกภาพถ่ายโดยผู้เขียนสมัยที่ผู้เขียนเป็นเด็กนั้น ปู่ของผู้เขียนนำ “ว่านตีตะขาบ” มาปลูกไว้ในกระถางหน้าบ้านหลายกอ ครั้งหนึ่งผู้เขียนนึ่งเล่นกับพี่ชายอยู่หน้าบ้าน ถูกตะขายตัวใหญ่ไม่ทราบว่ามาจากไหน กัดเข้าที่ข้อเท้าของผู้เขียนอย่างจัง ตอนนั้นรู้สึกปวดจากพิษตะขาบเป็นอย่างมาก ปู่ได้นำเอาใบกับลำต้นมาบดครั้นน้ำออกเหลือแต่กาก แล้วนำกากมาพอกตรงแผลที่ถูกตะขาบกัด ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีก็หายจากอาการเจ็บปวด แต่ยังมีอาการบวมอยู่ ปู่ก็ได้นำส่วนที่เป็นน้ำยางมาทาให้บริเวณปากแผล รอรู้สึกว่าน้ำยางแห้งแล้วทาใหม่เรื่อย ๆ ประมาณ 30 นาที ผลที่บวมก็ยุบลงเป็นปกติ ปู่ยังบอกอีกว่าลำต้นและใบสดของ “ว่านตีนตะขาบ” เมื่อนำมาตำกับเหล้าสามารถนำมาใช้แก้อาการเคล็ดขัดยอกได้ นอกจากนี้ผู้เขียนยังเคยเห็นปู่ นำใบกับลำต้นสด มาตำผสมกับเหล้าขาวแล้วครั้นเอาแต่น้ำ หยอดให้กับคนที่เป็นโรคหูน้ำหนวก ซึ่งก็ได้ผลดีมาก หยอดเพียงแค่ 2-3 ครั้งก็แห้งหายสนิท และปู่ยังบอกอีกว่าหากมีอากาเจ็บคอหรือร้อนในก็ยังสามารถนำใบและต้นของ “ว่านตีนตะขาบ” มาต้มดื่มรักษาอาการได้ภาพถ่ายโดยผู้เขียนซึ่งที่กล่าวมานั้นก็เป็นเพียงสรรพคุณส่วนหนึ่งที่ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์และเคยพบเห็นมา ซึ่งจริง ๆ แล้ว “ว่านตีนตะขาบ” ยังสามารถใช้รักษาอาการได้อีกหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวิธีการและปริมาณในการใช้ และผู้เขียนหวังว่าบทความนี้เป็นเป็นส่วนหนึ่งให้ทุกท่านหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับสมุนไพรไทยมากขึ้นภาพถ่ายโดยผู้เขียน