จากที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้ในพิพิธภัณฑ์และได้อ่านประวัติความเป็นมาผู้เขียนขอมาแบ่งปันให้กับทุกคนเผื่อใครได้มีโอกาสแวะขึ้นไปเที่ยวชม หลังจากที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุง เป็นพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จย่า ทรงทรงเริ่มโครงการพัฒนาเหนือสุดของประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายคืนผืนป่า และฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชุมชน โดยให้หันมาทำการเกษตรบนดอยแทนการปลูกฝิ่น พระองค์ยังมีพระราชดำริให้ส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับประวัติและเส้นทางการค้าฝิ่นในดินแดนสามเหลี่ยมทองคำและทั่วโลก รวมถึงให้เห็นภัยที่ตามมาจึงเกิดเป็นหอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำเปิดเมื่อพ.ศ. 2545 ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งอยู่ที่ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จุดที่ประเทศไทย ลาว และพม่า มาบรรจบกัน กว่าจะมาเป็นนิทรรศการแห่งนี้ได้นะคะ ต้องอาศัยการค้นคว้าข้อมูลและความร่วมมือจากหลายฝ่ายเลยและที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงใช้เวลาค้นคว้าประวัติของฝิ่นอยู่ 9 ปี ซึ่งก็เป็นเวลานานมาก ๆ หากทุกคนได้ไปสัมผัสดูด้วยตาของตนเองจะรู้สึกมหัศจรรย์เหมือนกับผู้เขียนได้เห็นพื้นที่ปลูกฝิ่นจริง ๆ มีหอชมดาว มีพื้นที่จำลองในอดีตของชาวดอยในสมัยก่อน หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ เป็นเหมือนประตูเปิดถึงโลกที่ลึกลับของพืชชนิดนี้ จากสิ่งที่มืดมนหวาดกลัว สู่ความเป็นจริงที่ทุกคนสามารถรับรู้ และมีพื้นที่ 5,600 ตารางเมตร สำหรับเรื่องราวของฝิ่น ณ ที่แห่งนี้ โดยเริ่มจากธรรมชาติวิทยาของฝิ่น การสืบประวัติการใช้ฝิ่นในยุคโบราณกลับไป 5,000 ปี มีประวัติการแพร่กระจายของฝิ่นจากการค้าสมัยจักรวรรดินิยม ความฉลาดของประเทศสยามในการเผชิญกับมหาอำนาจตะวันตกและการควบคุม วันนี้ผู้เขียนได้นำภาพที่เคยได้บันทึกไว้มาเผยแพร่เช่นกัน ผู้เขียนจะมีความรู้ได้ก็ต่อเมื่อได้ลงถามคนในพื้นที่จริง ๆ จดบันทึกเรื่องราวใส่สมุดทุกคำที่ชาวบ้านเผยแพร่ให้กับผู้เขียน และมีวิทยากรคอยแนะนำเส้นทางพูดเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติที่ทุกคนได้อ่านข้างบนข้างต้น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ปลูกหอฝิ่นอยู่ในอุโมงค์ที่ยังมีชีวิตอยู่อีกด้วยค่ะ และยังเป็นสถานศึกษา มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงที่มีความประสงค์ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน และจากที่ผู้เขียนไปก็ได้ไปเป็นแบบกลุ่มสภาเด็กและเยาวชน โดยพยายามที่จะให้คนทั่วโลกเข้าใจและมีความเห็นที่ต้องการจะช่วยกันแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไป ขณะที่ปัญหาเกิดจากผู้ผลิตที่เราพบได้ง่ายในบริเวณที่ประเทศที่กำลังพัฒนาจะต้องช่วยกันหยุดความต้องการของผู้ใช้และผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ให้หมดสิ้นไปค่ะ และภาพนี้นะคะ เป็นห้องจำลองบรรยากาศของประเทศสยาม ในยุคที่คนจีนที่ทำมาหากินอยู่ในสยามได้รับอนุญาตให้สูบฝิ่นได้ แต่ต้องไปสูบที่โรงฝิ่น สภาพร่างกายคนเหล่านั้นมีร่างผอม จากที่เคยมั่งมีก็กลายเป็นยาจก มีหมอนสำหรับหนุนศีรษะนอนสูบฝิ่น ลูกเป้งใช้เป็นตุ้มชั่งน้ำหนักเวลาซื้อขายฝิ่น เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคน ได้ความรู้กันบ้างไหมคะสิ่งที่ผู้เขียนนำมาเผยแพร่ผู้เขียนคิดว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนควรตระหนักรู้กันไว้ว่าในอดีตประเทศไทยของเรามีเหตุการณ์สิ่งใดเกิดขึ้นบ้าง ผู้เขียนได้นำความรู้มาถ่ายทอดและอยากให้ปัญหายาเสพติดหมดไปโดยขอให้คนไทยมีความคิดที่ช่วยกันแก้ปัญหาประเทศไทยของเราจะได้รุ่งเรืองต่อ ๆ ไปนะคะ หากใครอยากไปเที่ยวแวะชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้สามารถไปเที่ยวได้เลยค่ะ การเข้าชม ผู้ใหญ่ 150 บาท เด็ก 12-18 ปี 50 บาทเด็กต่ำกว่า 12 ปี ไม่เสียค่าเข้าชม ถนน เชียงแสน จ.เชียงรายเปิดเวลาทำการทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ เวลา 08.30น. -16.00 น. ภาพถ่ายทั้งหมดโดยผู้เขียน