เลี้ยงไก่กินไข่ ก็คือการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อสำหรับเป็นแหล่งโปรตีนในบ้าน ไก่ไข่เลี้ยงไม่ยากแต่หากเลี้ยงเพื่อรับประทานอย่างเดียวไม่ควรเกิน 10 ตัว แต่หากมีช่องทางการจำหน่ายก็สามารถเลี้ยงมากกว่า 20 ตัวได้ โดยที่บ้านเลี้ยงไก่ไข่ประมาณ 20 ตัว เลี้ยงไว้กินไข่เป็นหลักที่เหลือก็ขาย บ้านเป็นร้านขายของชำเลยขาย 4 ฟอง 20 บาท คละฟองใหญ่ฟองเล็ก ที่สำคัญคือมีไข่สดใหม่กินตลอดทั้งปี ไม่ต้องซื้อไข่อีก ดีมากๆเลย ไม่ต้องลงทุนอะไรมากหากมีโรงเรือนอยู่แล้ว เอาจริงๆจะหนักค่าโรงเรือนตอนแรก ส่วนค่าอาหารก็พอสมควร ถ้าให้แค่อาหารอย่างเดียว เลี้ยงขายไม่คุ้มค่าแน่นอน ต้องลดต้นทุนค่าอาหาร โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น ต้นกล้วย ใบกล้วย เศษผัก ผลไม้ แหนแดง ที่ปลูกเลี้ยงเอง เพราะถ้าเราไม่ซื้อมาแล้วมีสารเคมีตกค้าง ไก่เราป่วยแน่ๆ ดังนั้น ควรนำของเหลือใช้ในสวนของเราเองจะดีที่สุด แต่หากใครอยากเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพแล้วละก็สามารถศึกษาได้ตามนี้ การเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ความต้องการไข่ไก่ในตลาดมีสูงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในครัวเรือน ร้านอาหาร ร้านทำขนม เราจะพาไปรู้จักกับขั้นตอนการเลี้ยงไก่ไข่ตั้งแต่เริ่มต้น พร้อมแจกแจงต้นทุนการผลิตอย่างละเอียด เพื่อให้เพื่อนๆสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจในการเริ่มต้นเลี้ยงไก่ ว่าจะเลี้ยงเพื่อรับประทานเป็นหลัก หรือเลี้ยงเพื่อจำหน่ายดี ขั้นตอนการเลี้ยงไก่ไข่ 1. การวางแผนและเตรียมพื้นที่ ก่อนที่เราจะเริ่มเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อนๆควรกำหนดวัตถุประสงค์ ว่าเลี้ยงเพื่อขายไข่ในชุมชน หรือเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ จากนั้นจึงวางแผนเรื่องสถานที่เลี้ยงและจำนวนไก่ที่ต้องการเริ่มต้น พื้นที่ที่ใช้ในการตั้งโรงเรือนต้องมีการระบายอากาศที่ดี ไม่ควรตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น เพื่อหลีกเลี่ยงกลิ่นและเสียงรบกวน ต้องมีระบบระบายน้ำเสียที่เหมาะสม 2. การเลือกสายพันธุ์ไก่ไข่ พันธุ์ไก่ที่นิยมเลี้ยงเพื่อการผลิตไข่มีหลายสายพันธุ์ เช่น 2.1 พันธุ์ไฮเซก (Hy-Line Brown): ไก่พันธุ์นี้ให้ไข่ดก ไข่มีขนาดกลางถึงใหญ่ 2.2 พันธุ์เล็กฮอร์น (Leghorn): ให้ไข่สีขาว ไข่ดกและมีอัตราการแปลงอาหารดี 2.3 พันธุ์พื้นเมืองผสม: เหมาะสำหรับการเลี้ยงแบบอินทรีย์ ไข่มีรสชาติดี โดยที่บ้านเลี้ยงเป็นพันธุ์ไฮเซก เนื่องจากพันธุ์นี้ให้ไข่ดกและไข่ค่อนข้างมีขนาดใหญ่และเป็นที่นิยม 3. การจัดเตรียมโรงเรือน โรงเรือนควรมีหลังคาคลุมป้องกันแดดฝน มีระบบระบายอากาศ และป้องกันสัตว์รบกวนได้ รูปแบบโรงเรือน: โรงเรือนเปิด: เหมาะกับพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทดี โรงเรือนระบบปิด: ควบคุมอุณหภูมิ แสง และความชื้นได้ดีกว่า เหมาะกับฟาร์มขนาดใหญ่ ภายในโรงเรือน: ควรจัดวางกรงหรือรังไข่อย่างเหมาะสม ต้องมีอุปกรณ์ให้น้ำและอาหารที่เพียงพอ ควรทำความสะอาดเป็นประจำ 4. การให้อาหารและน้ำ ไก่ไข่ต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูง และแร่ธาตุที่เหมาะสม เช่น แคลเซียม เพื่อการสร้างเปลือกไข่ โดยปัจจุบันอาหารไก่ไข่มีหลากหลายแบรนด์ โดยในการเลือกอาหารควรจะเลือกที่มีโปรตีนเพียงพอตามที่ไก่ไข่ต้องการ ชนิดของอาหาร: อาหารสำเร็จรูปสูตรไก่ไข่ อาหารผสมเอง เช่น ข้าวโพด ปลาป่น กากถั่วเหลือง แคลเซียม อาหารเสริม เช่น หยวกกล้วย ใบกล้วยสับ แหนแดง เศษผัก เป็นต้น น้ำสะอาด ต้องมีให้เพียงพอและไม่ขาดตลอด 24 ชั่วโมง 5. การจัดการสุขภาพไก่/การทำวัคซีน การเลี้ยงไก่ไข่จำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนให้ไก่ ได้แก่ วัคซีนตามโปรแกรม เช่น ND, IB, IBD ทำความสะอาดโรงเรือนอย่างสม่ำเสมอ ปูพื้นด้วยแกลบ เก็บแกลบเก่า สังเกตพฤติกรรมไก่ เช่น การกินอาหาร การวางไข่ การเคลื่อนไหว 6. การเก็บไข่และการคัดแยก ฟาร์มขนาดเล็ก : เลี้ยงไก่ไม่เกิน 20-30 ตัว ไก่จะไข่เฉลี่ยตัวละ 1 ฟอง จะได้ราวๆ 25-30 ฟอง ในกรณีที่ไก่ออกไข่เต็มที่ แนะนำว่าให้ขายคละเกรด และควรเก็บไข่อย่างน้อย 2 ครั้ง แบ่งเป็นช่วงเช้าใกล้เที่ยง และช่วงบ่ายใกล้เย็น ฟาร์มขนาดใหญ่หรือเลี้ยงเชิงธุรกิจ : เลี้ยงไก่ตั้งแต่ 100 ตัวขึ้นไป สมมุติเลี้ยงไก่ 100 ตัว ไก่จะไข่เฉลี่ยตัวละ 1 ฟอง จะได้ราวๆ 80-100 ฟอง ไข่ไก่ควรถูกเก็บอย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง เพื่อป้องกันการแตกหรือสกปรก และควรมีการคัดแยกขนาดก่อนจำหน่าย เพื่อให้ได้ราคาดีขึ้น โดยในการคัดแยกขนาดสามารถทำได้หลากหลายวิธี ดังนี้ วิธีการแยกขนาดไข่ 1. ใช้เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิทัลหรือสเกลแบบแมนนวล วางไข่ทีละฟองบนเครื่องชั่ง แล้วดูน้ำหนักเพื่อจัดเข้าเบอร์ที่เหมาะสม 2. เครื่องคัดขนาดไข่ (Egg Grading Machine) ฟาร์มขนาดกลางถึงใหญ่จะใช้เครื่องจักรคัดแยกอัตโนมัติ แยกไข่ตามน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และลดแรงงาน 3. การคัดด้วยสายตา (ไม่แนะนำสำหรับเชิงพาณิชย์) ฟาร์มขนาดเล็กอาจใช้วิธีนี้ 7. การตลาดและการจำหน่าย ช่องทางจำหน่ายมีหลายรูปแบบ เช่น ขายตรงให้ผู้บริโภคขายให้ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร ขายผ่านแอปพลิเคชันหรือโซเชียลมีเดีย ควรมีการสร้างแบรนด์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เช่น "ไข่อินทรีย์", "ไข่ไก่เลี้ยงธรรมชาติ" การลดต้นทุนอาหาร “เลี้ยงแหนแดง” แหนแดงเป็นเฟิร์นขนาดเล็ก พบได้ทั่วไปบริเวณน้ำนิ่ง มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ และอาหารสัตว์ เนื่องจากแหนแดงให้ธาตุไนโตรเจน และโปรตีนสูง จึงนิยมนำมาเป็นอาหารสัตว์ ในการเลี้ยงไก่ไข่ การให้แหนแดงเสริมสามารถลดต้นทุนอาหารไก่ และได้ไข่ที่มีสีสวย เป็นที่ต้องการของลูกค้า แหนแดงสามารถเพาะเลี้ยงได้ง่าย และสามารถขยายได้รวดเร็ว สำหรับเพื่อนๆที่ต้องการเลี้ยงแหนแดงสามารถทำได้ดังนี้ 1. เตรียมบ่อแหนแดง สามารถใช้บ่อปูนซีเมนต์ บ่อดิน หรือ บ่อพลาสติก 2. ใส่ดินลงไปในบ่อสูง 10-15 เซนติเมตร โดยดินที่ใส่ลงไปควรเป็นดินปลูกพืชสำเร็จที่มีปุ๋ยผสมอยู่แล้ว หรือหากใช้ดินเปล่าๆควรใส่ปุ๋ยคอกลงไปประมาณ 1 กิโลกรัม 3. เติมน้ำลงไปให้สูงจากขอบดิน 10-15 เซนติเมตร 4. รอดินตกตะกอน ใส่พันธุ์แหนแดงลงในบ่อ 5. รอแหนแดงขยายจนเต็มบ่อใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ 6. ตักไปให้ไก่กินได้ และเหลือไว้บางส่วนให้แหนแดงขยายต่อ ต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ (สำหรับเริ่มต้นเลี้ยง 100 ตัว) ต้นทุนจะขึ้นอยู่กับรูปแบบการเลี้ยง (ระบบเปิด/ปิด) และราคาตลาดในแต่ละพื้นที่ แต่โดยทั่วไปมีรายการต้นทุนหลักๆ ดังนี้: 1. ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs) 2. ต้นทุนผันแปร (Variable Costs) ต้นทุนรวมทั้งสิ้น (เบื้องต้น) ต้นทุนสำหรับเลี้ยงไก่ฟาร์มขนาดเล็ก(ไม่เกิน 30 ตัว) ค่าสร้างโรงเรือนประมาณ 5,000 – 10,000 บาท(หักค่าเสื่อมของโรงเรือนเดือนละ 200 บาท ค่าอาหาร ประมาณ 1,000 บาทต่อเดือน กรณีมีอาหารธรรมชาติเสริม รวมเป็น 1,200 บาท/เดือน 1 เดือน ไก่ 1 ตัวจะให้ไข่ 1 ฟองต่อวัน แต่จะมีบางตัวที่ไม่ไข่ ดังนั้นหากเราเลี้ยงไก่ 30 ตัวจะได้ไข่เฉลี่ย 25-30 ฟอง/วัน หากไก่ไข่ทุกวันที่ 25 ฟอง ขายฟองละ 4 บาท จะมีรายได้อยู่ 100 บาท/ต่อวัน 3,000 บาท/เดือน โดยถ้าหักต้นทุน จะมีกำไรเดือนละประมาณ 1,800 บาท แต่หากเก็บไข่ไว้กินเอง จะมีกำไรที่เป็นตัวเงินเหลือประมาณ 1,000 บาท ต้นทุนสำหรับการเลี้ยงไก่(สำหรับเริ่มต้นเลี้ยงไก่ 100 ตัว) 54,500 - 76,000 บาท (สำหรับเริ่มต้นเลี้ยงไก่ 100 ตัว) รายได้และกำไรโดยประมาณ ไก่ 1 ตัวจะให้ไข่ประมาณ 250-300 ฟองต่อปี ถ้าไข่ขายฟองละ 3 บาท: 100 ตัว x 250 ฟอง x 3 บาท = 75,000 บาท/ปี กำไรสุทธิจะแตกต่างกันตามต้นทุนอาหารและการจัดการ หมายเหตุ: การเลี้ยงในระบบที่มีคุณภาพจะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดอัตราการตาย เคล็ดลับสำเร็จในการเลี้ยงไก่ไข่ 1. ควบคุมต้นทุนอาหาร โดยอาจปลูกพืชอาหารสัตว์เสริม ได้แก่ กล้วย พืชผัก หม่อน แหนแดง 2. รักษาความสะอาดอย่างต่อเนื่อง ลดการระบาดของโรค ปูพื้นด้วยแกลบในช่วงหน้าหนาว และทำที่เกาะสำหรับให้ไก่นอน 3. ติดตามข้อมูลตลาด เพื่อปรับราคาขายให้เหมาะสม 4. สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น ขายผ่านช่องทางออนไลน์ หรือทำไข่แบรนด์ท้องถิ่น สรุป การเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพที่น่าสนใจและสร้างรายได้อย่างมั่นคงหากมีการวางแผนที่ดี การจัดการที่เหมาะสม และรู้จักควบคุมต้นทุน การเริ่มต้นเลี้ยง 100 ตัวแม้จะมีต้นทุนหลักหมื่น แต่หากบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในเวลาไม่นานก็สามารถคืนทุนและทำกำไรได้ แต่หากใครอยากเลี้ยงเพื่อบริโภคก็สามารถเริ่มต้นที่ 10 -30 ตัวได้ ต้นทุนไม่สูงและได้ไข่บริโภคตลอดทั้งปีอีกด้วย เครดิตภาพ ภาพปก โดยนักเขียน/ภาพประกอบที่ 1 โดยนักเขียน/ภาพประกอบที่ 2 โดยนักเขียน /ภาพประกอบที่ 3 โดยนักเขียน /ภาพประกอบที่ 4 โดยนักเขียน /ภาพประกอบที่ 5 โดยนักเขียน /ภาพประกอบที่ 6 โดยนักเขียน /ภาพประกอบที่ 7 โดยนักเขียน เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !