จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการปลูกข้าวหอมมะลิเยอะมากๆ ข้าวหอมมะลิ คือ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าว กข 15 เป็นข้าวนาปี มีช่วงเวลาการปลูกระหว่างเดือน เมษายน - มิถุนายน ระยะเวลาเก็บเกี่ยวประมาณเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม หากปลูกข้าวหอมมะลิทั้ง 2 พันธุ์พร้อมกัน ข้าว กข 15 จะสุกพร้อมเก็บเกี่ยวเร็วกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ผู้เขียนสังเกตว่าข้าวหอมมะลิที่จะมีกลิ่นหอม หุงแล้วกินนุ่มอร่อย ต้องไม่ใช้สารเคมีในกระบวนการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว หากใช้สารเคมีสังเกตง่ายๆ กลิ่นหอมของข้าวแทบจะไม่มี หุงข้าวไม่ได้กลิ่นหอม ข้าวหอมมะลิที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปี ความหอมและความนุ่มยังคงอยู่พื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิของจังหวัดศรีสะเกษครอบคลุมทั้ง 22 อำเภอ แต่มีอำเภอที่มีพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิน้อยที่สุดเป็นอำเภอติดชายแดนประเทศกัมพูชาอย่าง อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุนหาญ อำเภอภูสิงห์ เพราะปลูกผลไม้และยางพาราค่อนข้างมาก ผลไม้ อาทิ ทุเรียน เงาะ มังคุด กล้วยไข่ มะม่วง ฯลฯ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ (ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ ข้าว กข 15) ซึ่งปลูกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ประกอบด้วยจังหวัดศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม และยโสธร ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) สินค้าที่มีแหล่งผลิตเฉพาะเจาะจง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2549 สังเกตความหอมของข้าวหอมมะลิระหว่างหุงข้าวหอมมะลิ ข้าวในหม้อเดือดมีไอพวยพุ่งออกมาจากหม้อหุงข้าว ไอที่พุ่งออกมาจะมีกลิ่นหอม หุงสุกแล้วจะนิ่ม กินแล้วนุ่มลิ้น ข้าวไม่แข็ง ผู้เขียนชอบดมกลิ่นข้าวหอมมะลิระหว่างหุง กลิ่นหอมมาก ผู้เขียนมอบข้าวหอมมะลิเป็นของฝากของเยี่ยมกับผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือ กับเพื่อนมิตร ทุกคนจะชมข้าวหอมมะลิเป็นเสียงเดียวกันว่า หอม นุ่ม อร่อย การปลูกข้าว การทำนาในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ไม่เพียงแต่จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอื่นก็เปลี่ยนเช่นกัน มีเครื่องจักรเข้ามาแทนที่แรงคน เช่น รถไถ รถปลูกข้าว รถเกี่ยวข้าว(ดูดข้าว สีข้าว ไปในคราวเดียวกัน) เจ้าของนาเป็นผู้จัดการนา จ้างอย่างเดียว จากวิถีปลูกข้าวที่เปลี่ยนไปทำให้หลายคนหวนคิดถึงการทำนาแบบดั้งเดิม ใช้วัวใช้ควายไถนา ดำนาใช้แรงงานคน เกี่ยวข้าวใช้เคียว จากความคิดถึงทำให้เกิดธุรกิจท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตชาวนา นักท่องเที่ยวมาทดลองไถนา ดำนา เกี่ยวข้าว ศึกษาวิธีคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว ฯลฯ จากเปลี่ยนมาเป็นเรื่องการท่องเที่ยวแล้ว สิ่งเหลือจากการปลูกข้าวยังสามารถนำมาแปรรูปหรือสร้างผลงานเพื่อเพิ่มมูลค่า อาทิ แกลบ นำมาทำแกลบดำใช้ผสมดินปลูกต้นไม้ ฟางข้าว นำมาอัดเป็นก้อน ไว้ขายหรือเก็บไว้เป็นเสบียงอาหารสัตว์ช่วงฤดูแล้ง ท่านใดยังไม่เคยกินข้าวหอมมะลิเมืองศรีสะเกษ ลองซื้อหาไปหุงกินดูนะคะ ยุคนี้ขายผ่านช่องทางออนไลน์กันเยอะ ซื้อได้สะดวก เครดิตภาพปก ภาพประกอบถ่ายโดยผู้เขียนอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ อีกมากมาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !