ดอกบัวบานตอนไหน เช้าหรือบ่าย ทำไมหุบกลางคืน | บทความโดย Pchalisa ผู้เขียนเชื่อว่าดอกบัวคือดอกไม้ที่หลายคนชื่นชอบและหลงใหล กับความสวยงามตามธรรมชาติ ด้วยสีสันที่สดใสและหลากหลาย จนเราพบว่าการไปเที่ยวมดอกบัวบาน กลายเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในประเทศไทยบ้านเรา หรือแม้แต่การปลูกบัวประดับต่างๆ เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับบ้านหรือสถานที่ต่างๆ ดอกบัวสำหรับผู้เขียนนั้นได้มีโอกาสเห็นบ่อยครั้งค่ะ ทั้งตามสถานที่ต่างๆ และตามทุ่งนาหรือบ่อน้ำ โดยมีทั้งดอกบัวแดง ดอกบัวฉัตรขาว ดอกบัวฉัตรแดงและดอกบัวหลวง เห็นมาหมดแล้วค่ะ สำหรับดอกบัวแดงจะพิเศษกว่าคนอื่น คือ มีโอกาสเก็บดอกบัวชนิดนี้มาทานด้วย ในขณะที่ดอกบัวชนิดอื่นทำแค่เพียงถ่ายรูปมาเก็บไว้ดูค่ะ ดังนั้นพอจะพูดเรื่องการบานของดอกบัว ผู้เขียนพอจะเล่าให้ฟังได้ค่ะ ส่วนจะมีเนื้อหาน่าสนใจแค่ไหนนั้น งั้นเรามาอ่านต่อกันเลยดีกว่าค่ะ ดังนี้ ดอกบัวประกอบด้วยหลายส่วนนะคะ โดยส่วนใหญ่แล้วดอกบัวจะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญๆ ดังนี้ค่ะ กลีบดอก: เป็นส่วนที่เราเห็นเด่นชัดที่สุดของดอกบัว มีหลายสี เช่น ขาว ชมพู เหลือง ม่วง และมีหลายชั้นซ้อนกัน ทำให้ดอกบัวดูสวยงาม เกสร: คือส่วนที่อยู่ภายในดอกบัวค่ะ ที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้มีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ สีเหลือง ส่วนเกสรตัวเมียจะอยู่ตรงกลางดอกค่ะ ฐานรองดอก: เป็นส่วนที่อยู่ใต้เกสรตัวเมีย มีลักษณะนูนขึ้นมาคล้ายฝักบัว ก้านดอก: เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างดอกบัวกับลำต้นใต้ดิน หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ส่วนใหญ่แล้วดอกบัวจะบานในช่วงเช้าและหุบในตอนเย็น และนี่เป็นลักษณะเด่นของดอกบัวเลยค่ะ และแม้ว่าจะตัดดอกบัวมาปักแจกัน ดอกบัวก็ยังคงมีการบานและหุบเหมือนเดิม เพียงแต่ช่วงเวลาในการบานอาจจะแตกต่างออกไปบ้างนิดหน่อย และเหตุผลหลักที่ทำให้ดอกบัวบานตอนเช้ามีดังนี้ค่ะ การตอบสนองต่อแสง: ดอกไม้หลายชนิดรวมถึงดอกบัว มีกลไกการตอบสนองต่อแสงที่เรียกว่า "โฟโตนาสติก (Photonasty)" โดยคำนี้หมายถึงเป็นการเคลื่อนไหวของพืชที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแสงสว่าง เมื่อแสงแดดส่องถึงดอกบัวในตอนเช้า เซลล์ในกลีบดอกจะขยายตัวไม่เท่ากัน ทำให้กลีบดอกคลี่ออกและบานสะพรั่งค่ะ การปรับตัวเพื่อการผสมพันธุ์: การบานของดอกบัวในตอนเช้าเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่พืชใช้เพื่อเพิ่มโอกาสในการผสมพันธุ์ เพราะในช่วงเช้าจะมีแมลงผสมเกสรหลายชนิดออกมาหากิน ซึ่งจะช่วยในการถ่ายละอองเรณูไปยังดอกบัวดอกอื่นๆ ค่ะ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการบานของดอกบัวได้ด้วย เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และพันธุกรรมของดอกบัวแต่ละชนิดค่ะ ที่โดยปกตินั้นดอกบัวจะบานนานประมาณ 3-4 วัน ค่ะ แต่ระยะเวลาที่ดอกบัวจะบานอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของบัวด้วยนะคะ และคุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? เวลาที่ดอกบัวบานจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยนะคะ ได้แก่ ชนิดของบัว: บัวแต่ละชนิดมีช่วงเวลาบานที่แตกต่างกัน บางชนิดบานตอนเช้าตรู่ บางชนิดบานตอนกลางวัน สภาพอากาศ: อุณหภูมิ แสงแดด และความชื้น มีผลต่อการบานของดอกบัว ฤดูกาล: ในแต่ละฤดูกาล ช่วงเวลาที่ดอกบัวบานอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ค่ะ โดยทั่วไปแล้วดอกบัวสาย เช่น บัวผัน บัวเผื่อน ที่เราพบเห็นกันทั่วไปมักจะบานในช่วงเช้าและหุบในช่วงเย็นค่ะ โดยอาจจะเริ่มบานตั้งแต่ประมาณ 4-5 โมงเช้า และหุบในช่วงบ่าย 2-3 โมงเย็น ส่วนดอกบัวแดงนั้นบานตั้งแต่เช้าตรู่เลยค่ะ เพราะที่นี่มีบัวแดงในสระน้ำค่ะ แดดมาเธอก็บานเลย ต่อให้ตอนนั้นจะเป็นแบบเบาๆ ก็ตามค่ะ ส่วนในประเด็นที่ว่าทำไมดอกบัวหุบกลางคืนนั้นอธิบายได้ดังนี้ค่ะ การที่ดอกบัวหุบตอนกลางคืนเป็นกลไกตามธรรมชาติของพืชชนิดนี้ค่ะ ที่มีหลายปัจจัยไปทำให้ดอกบัวมีพฤติกรรมแบบนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและเพิ่มโอกาสในการสืบพันธุ์นะคะ และเหตุผลหลักที่ทำให้ดอกบัวหุบตอนกลางคืนมีดังนี้ค่ะ การตอบสนองต่อแสง: ดอกบัวมีกลไกการตอบสนองต่อกระบวนการโฟโตนาสติกค่ะ คือเมื่อแสงแดดลดลงในตอนกลางคืน เซลล์ในกลีบดอกจะหดตัว ทำให้กลีบดอกหุบเข้าหากันค่ะ การป้องกันตัวเอง: การหุบกลีบดอกในตอนกลางคืนช่วยปกป้องเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจากความเสียหายที่อาจเกิดจากน้ำค้าง ฝน หรือแมลงบางชนิดที่ออกหากินในเวลากลางคืนนะคะ การรักษาความอบอุ่น: การหุบกลีบดอกจะช่วยรักษาอุณหภูมิภายในดอกให้คงที่ ช่วยให้เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเจริญเติบโตได้ดีขึ้น การเพิ่มประสิทธิภาพในการผสมพันธุ์: สำหรับบางชนิดของบัว การหุบกลีบดอกในตอนกลางคืนอาจช่วยดึงดูดแมลงบางชนิดที่ออกหากินในเวลากลางคืนให้เข้ามาผสมพันธุ์ค่ะ สรุปแล้วการที่ดอกบัวหุบตอนกลางคืนเป็นกลไกการปรับตัวที่ซับซ้อน ซึ่งช่วยให้ดอกบัวสามารถอยู่รอดและสืบพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปค่ะ ก็จบแล้วค่ะ พอจะมองเห็นภาพไหมคะ? ว่าทำไมดอกบัวบานเช้า ทำไมหุบตอนกลางคืน โดยส่วนตัวผู้เขียนได้เห็นมาแล้วทั้งการบานของดอกบัวตามธรรมชาติและการหุบค่ะ ที่ข้อมูลส่วนนี้ก็จะเป็นประโยชน์ด้วยในกรณีที่เราต้องการไปเที่ยวดอกบัวแดง ที่ดังและปังก็คือที่ทะเลบัวแดง ที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีค่ะ แต่ผู้เขียนยังไม่มีโอกาสได้ไปเที่ยวเลยค่ะ แต่กุมภวาปีเคยไปบ่อยและอีกหลายอำเภอของจังหวัดนี้ค่ะ ที่ไปดูระบบบำบัดน้ำเสียเป็นหลักมากกว่า แต่ก็มีบ้างที่ได้เห็นการบานของดอกบัวในสถานที่อื่นๆ ในระหว่างเดินทางค่ะ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://travel.trueid.net/detail/7oGbJkdZ83ne https://news.trueid.net/detail/XA22YKdZzxqA https://news.trueid.net/detail/amDlKvLBpDem เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !