รีเซต

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ลงพื้นที่ขอนแก่น ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดลัมปีสกินในโค-กระบือ

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ลงพื้นที่ขอนแก่น ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดลัมปีสกินในโค-กระบือ
มติชน
10 มิถุนายน 2564 ( 22:09 )
61
อธิบดีกรมปศุสัตว์ ลงพื้นที่ขอนแก่น ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดลัมปีสกินในโค-กระบือ

 

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 10 มิถุนายน นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมด้วย นายศรัทธา คชพลายุกต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดและนายสุรเดชสมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสุรพล ธัญญเจริญ ปศุสัตว์เขต 4 นายชาญประเสริฐ พลชา ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ร่วมลงพื้นที่ลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่นเพื่อติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคลัมปีสกิน ในครั้งนี้

 

 

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคลัมปีสกินได้แพร่ระบาดในหลายพื้นที่อธิบดีกรมปศุสัตว์พร้อมด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นและหัวหน้าส่วนราชการลงพื้นที่ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น มอบสารกำจัดแมลงและเวชภัณฑ์สัตว์ แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมเป็นขวัญกำลังใจทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือเกษตรกร และ เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด โรคลัมปี สกิน และมอบสารกำจัดแมลง เวชภัณฑ์สัตว์กว่าร้อยราย และได้ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรว่า การป้องกัน ควบคุมและกำจัดโรคลัมปี สกินให้ได้ผลนั้น ต้องทำทั้ง 5 มาตรการ ควบคู่กันไปทุกๆ มาตรการ ได้แก่ การควบคุมการเคลื่อนย้ายโค-กระบือ เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค และปฏิบัติตามแนวทางการเคลื่อนย้ายอย่างเคร่งครัด การเฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด เน้นการรู้โรคให้เร็ว ควบคุมได้ทัน โรคสงบได้อย่างรวดเร็ว การป้องกันและควบคุมแมลงพาหะนำโรคให้เกษตรกรป้องกันโดยใช้สารกำจัดแมลงทั้งบนตัวสัตว์ และบริเวณโดยรอบฟาร์ม ทั้งในพื้นที่ระบาดของโรคและพื้นที่เสี่ยง การรักษาสัตว์ป่วยตามอาการ และการใช้วัคซีนควบคุมโรค ซึ่ง จึงจะทำให้การป้องกันและควบคุมโรคมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โรคสงบ โดยเร็ว

 

 

นสพ.สรวิศกล่าวเพิ่มเติมว่า การใช้วัคซีนเป็นเพียงมาตรการหนึ่งในการป้องกันโรคเท่านั้นไม่ใช่การรักษาให้หายขาดจากอาการป่วยและการใช้วัคซีนซึ่งกรมปศุสัตว์ โดยคณะกรรมการบริหารจัดการวัคซีนฯ พิจารณากำหนดแผนการฉีดวัคซีนขึ้น ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการฉีดวัคซีนล้มปี สกิน ในสัตว์ชนิดโค กระบือ พ.ศ.2564 เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกัน มีความปลอดภัยต่อสัตว์และเป็นไปตามหลักวิซาการ มีการประเมินความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนในพื้นที่ และประเมินประสิทธิภาพความคุ้มโรคหลังจากการฉีดวัคซีน และวันนี้ จังหวัดขอนแก่น มีการฉีดวัคซีนลัมปี สกินให้แก่โค-กระบือของพี่น้องเกษตรกร

 

 

 

ด้านนายชาญประเสริฐ พลชา ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า จังหวัดขอนแก่นมีประชากรโคเนื้อ 234,480 ตัวนม 38,570 ตัว และกระบือ 39,081 ตัว พบการระบาดในพื้นที่ทั้งสิ้นจำนวน 25 อำเภอ 211 ตำบล ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่นได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 1,081 ราย โดยการรักษาพยาบาลสัตว์ป่วย ได้แก่ โคเนื้อ 1,844 ตัว โคนม 74 ตัว และกระบือ 25 ตัว

 

 

ทั้งนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรเจ้าของโค-กระบือ จึงได้เตรียมการเยียวยาชดเชยเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบโคลัมปี สกินโดยดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือภัยพิบัติบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 หากเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์รายใดได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคลัมปี- สกิน และมีความประสงค์จะขอรับการเยียวยา ขอให้ติดต่อสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ใกล้บ้าน หรือศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านปศุสัตว์ กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ทางกรมปศุสัตว์พร้อมทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อให้การเฝ้าระวัง ควบคุม และกำจัดโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะต้องมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และทำให้ประเทศไทยปลอดจากโรคดังกล่าวนี้ให้เร็วที่สุด ดังนั้น จึงขอให้พี่น้องเกษตรกรมั่นใจ และหมั่นดูแลสุขภาพของโค-กระบือ อย่างใกล้ชิด ให้มีสุขภาพแข็งแรง งดการเคลื่อนย้ายจนกว่าสถานการณ์จะปกติ รวมทั้งดูแลสถานที่เลี้ยงให้มีความสะอาดไมให้มีพาหะนำโรค

 

 

ทั้งนี้ หากพบสัตว์มีอาการผิดปกติ สงสัยว่าป่วยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัด หรือปศุสัตว์อำเภอในท้องที่ หรือโทรศัพท์สายด่วน 06-3225-6888 หรือทางแอพพลิเคชั่น DLD4.0

ข่าวที่เกี่ยวข้อง