ไคเซ็น (Kaizen) = ลด เลิก และเปลี่ยนแปลง ดีอย่างไร ? สวัสดีจ้า เพื่อน ๆ ที่รักนักอ่านทุกท่าน เปิดหัวข้อมาก็อาจจะทำเอาหลาย ๆ คนถึงกับมีเครื่องหมายคำถามกันเลยทีเดียว ไคเซ็น นั่นสิ แล้วใครเซ็นละ คนไม่รู้ก็คงส่ายหัว ผมก็ไม่รู้ครับว่า ใครเซ็น อื้อหือออออ...คนละเซ็นแล้วจ้า ฮ่า ๆ มา ๆ ปีใหม่แล้วใครบ้างน้า...ที่ยังคงรู้สึกว่าตัวเองยุ่งเหยิงวุ่นวายเหลือเกิน อะไร ๆ ก็ดูไม่เป็นระบบระเบียบ หลง ๆ ลืม ๆ วางของไว้ก็หาไม่เจอ ข้าวของกองไว้ราวกับภูเขาน้ำแข็ง ของที่ควรทิ้งไม่ได้ทิ้ง ของที่ควรมีหาไม่เจอมันเพราะอะไรกันนะ วันนี้เราเลยจะเอาระบบที่ใช้ในหลาย ๆ บริษัท โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นมาให้เพื่อน ๆ ได้นำไปทำเล่น ๆ เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองต้อนรับปีใหม่ ให้เป็นคนใหม่ กันจ้าาาาาาา ู^O^ วันนี้จะนำเอาเรื่องราวที่หลายคนมองว่าไกลตัวมาให้ทุกคนได้เรียนรู้ และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันกันได้อย่างสนุกสนาน และเป็นประโยชน์แน่นอน ก่อนอื่นแนะนำเจ้า ไคเซ็น (Kaizen) กันก่อนนะคะ >>ไคเซ็น (Kaizen) = ภาษาญีปุ่น แปลว่า ลด เลิก และเปลี่ยนแปลง โดยอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงาน ซึ่งคนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเรื่องการนำไคเซ็นมาใช้ในกระบวนการทำงานเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น บริษัท TOYOTA ที่ถือว่าเป็นผู้นำด้านไคเซ็น มีการจัดประกวดแข่งขัน Kaizen Award และ Thailand Kaizen Award ทุกปี ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้พนักงานมีความเป็นระเบียบ และแก้ไขปัญหาในงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ^///^ แต่ ๆ วันนี้ไม่ได้มาพูดเรื่องไกลตัว อย่างการนำไคเซ็นไปใช้ในการปรับปรุงงาน แต่จะเป็นการนำไคเซ็นมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ตัวเรามีความเป็นระบบระเบียบมากขึ้น เพื่อให้เราได้พัฒนาตั้งแต่ตัวเองก่อนที่จะนำไปใช้ในการทำงานต่อไปหลักการและขั้นตอนง่าย ๆ ของการนำไคเซ็นมาใช้ในชีวิตประจำวัน 1) ค้นหาปัญหา และกำหนดหัวข้อแก้ไขปัญหา ยกตัวอย่างเช่น ทำงานบ้านช้ามาก ใช้ระยะเวลา 50 นาที 2) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของปัญหาเพื่อรู้สถานการณ์ของปัญหา สภาพปัญหามาจาก เล่นมือถือ และไม่มีการวางแผนการทำความสะอาดที่เป็นระบบทำให้ล่าช้า 3) วิเคราะห์หาสาเหตุ สาเหตุมาจากไม่มีการวางแผนว่าจะต้องทำอะไรก่อนหลัง 4) กำหนดวิธีการแก้ไข สิ่งที่ต้องระบุคือ ทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อไร วิธีการแก้ไข วางแผนการทำงานบ้านก่อน เช่น เริ่มจากเก็บของให้เป็นระเบียบ ทำความาสะอาดจากบนลงล่าง ปัด กวาด เช็ด ถู และไปล้างจาน เป็นต้น 5) ใครเป็นคนทำ และทำอย่างไร 6) ลงมือดำเนินการ 7) ตรวจดูผล และผลกระทบต่าง ๆ และการรักษาสภาพที่แก้ไขแล้วโดยการกำหนดมาตรฐานการทำงานสรุปสั้น ๆ ก่อนจะไปพูดถึงเรื่องการนำเครื่องมือมาใช้ ไคเซ็น (Kaizen) คือ การลดขั้นตอนส่วนเกิน เช่น เปลี่ยนการทำงาน ลดขั้นตอน ลดเวลา ควบรวมการทำงานบางอย่าง ลดต้นทุน เป็นต้น หลักการไคเซ็น ระบุว่ามี 7 ขั้นตอนเรียกว่า PDCA ( Plan – Do – Cheek – Action ) สิ่งสำคัญของ PDCA ได้แก่ Plan-Do-Check-Act หรือ วางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ-ปรับปรุง เป็นกระบวนการที่ใช้ปรับปรุงการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้มีการแก้ไขและพัฒนาตัวเองได้อย่างเป็นระบบ ก็ระบบที่ดีจะเกิดได้ต้องเริ่มจากเตียงนอน หมอนมุ้งของเราก่อนจริงไหมคะ ?PDCA สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกกิจกรรม ทั้งใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน ดังนั้นเพื่อให้เกิดนิสัยของการทำงานที่เป็นระบบ เราจึงเริ่มจากเรื่องใกล้ ๆ ตัวเราก่อน4 ขั้นตอนความสำเร็จของ PDCA Plan- ระบุและวิเคราะห์ปัญหา Do- พัฒนาและออกแแบบแผนการแก้ไขปัญหา Check- ประเมินและสรุปผล Act - ปรับปรุงแก้ไขและวางแผนใหม่ จะต่อยอดจากของเดิม หรือปรับกระบวนการใหม่ทั้งระบบก็ได้สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด เพื่อไม่ให้เพื่อนรักนักอ่านหลับไปเสียก่อน ขอเพิ่มเครื่องมือในการจัดการในชีวิตประจำวันตามหลักไคเซ็นอีกหน่อยนะคะ นั่นก็คือ ระบบปฏิบัติการ 5 ส.นั่นเอง ในขณะที่บางบริษัทมีมากถึง 7 ส.ด้วยกัน เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญ แต่เนื่องจากเป็นการใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่นนั้น เอาแค่หลัก 5 ส. ไปก่อนก็พอจ้า5 ส. คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และควรนำไปใช้งานแบบไหน ? 5 ส. เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการที่จะทำให้การดำเนินชีวิตของเรามีความเป็นระบบระเบียบ และมีแบบแผนมากขึ้น สามารถทำให้เกิดการลดเวลา ลดกระบวนการ และยังลดอุบัติเหตุได้อีกด้วย อันนี้คือในมุมมองของการใช้ชีวิตนะคะ ถ้าเป็นในเรื่องของการทำงานในองค์กรจะต้องขยายความกันอีกยาว เริ่มจาก...ส.ที่ 1 สะสาง (Seiri (เซริ) คือ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีใครเคยเป็นบ้างคะ เก็บของเก่าไว้เต็มบ้าน ทั้งที่ไม่ได้ใช้ เดี๋ยววันหลังจะมาเล่าเรื่อง โรคเก็บสะสมของ หรือ Hoarding Disorder ให้ฟังนะคะ ซึ่งเจ้าสิ่งนี้แหละจะให้บ้านของเราเต็มไปด้วยขยะมากมายที่จริง ๆ เราไม่ได้ใช้เลย แต่เสียดาย ไม่กล้าทิ้ง ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือ อดกลั้น และกำจัดของที่ไม่ได้ใช้ออก แยกแยะระหว่างขยะกับของใช้ เรียกสะสางค่ะส.ที่ 2 สะดวก Seiton (เซตง) คือ วางของในที่ที่ควรอยู่ เมื่อเรจัดการแยกขยะอันมหาศาลออกมาจากสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ แล้ว ต่อมาก็ต้องจัดค่ะ จัดของที่มีอยู่ให้เป็นระเบียบ มีทางเดิน ไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ส.ที่ 3 สะอาด Seiso (เซโซ) เมื่อเราจัดเรียงสิ่งของภายในบ้านเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการทำความสะอาดค่ะ เริ่มตั้งแต่หลังคา เพดาน กำแพง พื้นห้อง และอื่น ๆ ตามสมควร ไม่ว่าจะด้วยการปัดกวาด เช็ด ถู จนเงางามส.ที่ 4 สุขลักษณะ Seiketsu (เซเคทซึ) ทำ 3 ส.ที่ผ่านมาให้ดีตลอดไปส.ที่ 5 สร้างนิสัย Shitsuke (ซึทซึเคะ) สร้างนิสัยให้เกิดความสำเสมอ เมื่อเกิดความสม่ำเสมอในชีวิตประจำวันแล้ว สิ่งเหล่านี้จะฝังไปจนกระทั่งเราทำงาน สิ่งเหล่านี้จะทำให้การทำงานเป็นระบบระเบียบ มากขึ้น "ไม่มีสิ่งใดสร้างได้จากคนภายนอก เครื่องมือต่าง ๆ มีไว้ให้ดู แต่คุณจะทำหรือไม่...อยู่ที่ตัวคุณเอง"ภาพถ่ายที่ 1 ภาพถ่ายโดย Andrea Piacquadio จาก Pexels ตกแต่งด้วย Canvaภาพถ่ายที่ 2 ตกแต่งด้วย Canvaภาพถ่ายที่ 3 โดย valentina16540 จาก thaipng ตกแต่งด้วย Canvaภาพถ่ายที่ 4 ตกแต่งด้วย CanvaNANOMIเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !