สำหรับคนเป็นแม่อย่างเรา ๆ สิ่งเปลี่ยนแปลง พัฒนาการของลูกในแต่ละวันนั้น ถ้าลูกยังร่าเริง เล่นสนุก ทานอาหาร ทานนมปกติ ไม่มีอาการอะไรให้กังวัล คนเป็นแม่จะสบายใจมากใช่ไหมคะวันนี้ขอเล่าประสบการณ์ที่เพิ่งเจอมาสด ๆ ร้อนๆ เลยค่ะ ลูกน้อยของคุณแม่เองอายุย่างเข้าวัย 6 เดือน เป็นช่วงเดือนที่เขากำลังเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น ซึ่งเราเองก็พยายามที่จะสังเกตุในทุก ๆ สิ่งที่ลูกน้อยให้ความสนใจ พฤติกรรม การส่งเสียง รวมไปถึงสุขภาพของเขา จนเย็นวันหนึ่งคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการแปลกไป ยิ่งประกอบกับในช่วงนี้มีข่าวโรคไข้หวัดระบาดเช่นนี้ด้วย ยิ่งกังวัลเข้าไปใหญ่ จึงนำอาการและเหตุผลที่คุณแม่ไปปรึกษาคุณหมอมาฝากแม่ ๆ ทั้งหลายกันค่ะเครดิต https://www.pexels.com/th-th/photo/3845227/ต้องเกิ่นก่อนว่าปกติลูกน้อยอุณหภูมิร่างกายของเขาจะอยู่ที่ 35.5 - 37 องศาเซลเซียส (บวกลบ 0.5 แล้วไม่ควรต่ำหรือสูงกว่านี้) แต่ถ้าวัดคุณแม่เทอร์โมมิเตอร์แล้วได้ค่า 37.5 องศาเซลเซียส ถือว่ามีเป็นไข้ต่ำ ๆ นะคะ เครดิต https://www.pexels.com/th-th/photo/139398/อาการที่ลูกเราเป็น 1. เวลาที่สัมผัส คลำที่หัวลูก พบว่ามีอุณหภูมิอุ่นร้อน แต่ร่างกายกลับปกติดี พอไว้ไข้ (วัดเทอร์โมมิเตอร์ได้ค่าที่ 36.2 - 36.5 องศาเซลเซียส วดตลอดทั้งวัน) พบว่าไม่มีไข้ 2. มีเหงื่อออกซึมตามไรผม และด้านหลัง (เวลาเล่นสนุก)3. ร่างเริง ไม่ง่วงซึม เล่นสนุกปกติ ทานนมได้ปกติค่ะซึ่งอาการโดยรวมแล้วดูปกติมาก ๆ แต่คุณแม่ไม่ได้วางใจนะคะ ได้สอบถามคุณยายของน้อง ได้คำตอบว่า เป็นไอความร้อนจากตัวเด็ก ซึ่งไม่ได้ทำให้เราคลายกังวัลได้เลย เราสังเกตุอาการทั้งคืน แต่ในเวลากลางคืนอาการน้องปกติทุกอย่าง อุณหภูมิร่างกายอยู่เกณฑ์ปกติ แต่พอเช้าอีกวันอาการก็กลับมาอีก คลำที่หัวน้องก็ยังอุ่นร้อนอยู่ จึงได้ตัดสินใจ พาน้องไปพบแพทย์ค่ะ และได้คำตอบ และเหตุผลที่ว่า ทำไมน้องจึงหัวอุ่นร้อน?เครดิต https://www.pexels.com/th-th/photo/724994/คุณได้บอกว่า เป็นอาการปกติ ของเด็กวัยตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งในวัยของน้องเริ่มเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว เริ่มจดจำบุคคล หัดส่งเสียง มีพัฒนาการด้านความคิด และเริ่มสงสัยของทุกสิ่งคืออะไร ทำให้มีการไหลเวียนของเลือดมาเลี้ยงส่วนสมองอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นการพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้กับสมองที่กำลังเปิดรับการเรียนรู้ที่จะได้รับ โดยเลือดที่ไปเลี้ยงสมองจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นหลัง 6 เดือนไปจนกระทั่งอายุ 6 ขวบ ส่งผลให้ศรีษะของลูกน้อยนั้นอุ่น ๆ ร้อน ๆ ตรงข้ามกับร่างอุณหภูมิของร่างกายที่ไม่อุ่นร้อนเท่ากับศีรษะ ซึ่งอัตราการไหลเวียนเลือดอาจเพิ่มขึ้นไปถึง 1,200 - 1,500 ซีซี/นาที เลยทำให้ศีรษะของลูกมีอุณหภูมิสูงกว่าร่างกายอยู่ประมาณ 0.5 - 1 องศาเซลเซียส เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงส่วนสมองมากกว่าร่างกาย โดยที่อาการเหล่าไม่เป็นอันตรายอะไรกับเด็กเลยค่ะเครดิต chanapra.2468พอได้ฟังคำอธิบายแบบนี้คุณแม่ก็หายกังวัล และสบายใจ แต่คุณหมอแนะนำให้คุณแม่เฝ้าดูพัฒนาการของน้องอย่างใกล้ชิด และหมั่นวัดอุณหภูมิร่างกายให้ลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งในช่วงที่มีโรคไข้หวัดระบาดแพร่กระจายอย่างนี้ หากมีอาการผิดปกติ จะได้รับการรักษาได้ทันเวลาแม้จะเป็นอาการนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อตัวเด็ก แต่การเฝ้าระวัง คอยเช็คอาการ สังเกตุพฤติกรรม และความเปลี่ยนแปลงทุก ๆ อย่าง ๆ ใกล้ชิด ก็ทำให้คุณแม่สบายใจว่าลูกน้อยจะมีพัฒนาการที่เป็นไปตามวัย เติบโตด้วยร่างกายแข็งแรง ให้ได้เรียนรู้สมวัยของเขานะคะเครดิต ภาพปก