📑 ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาป.ตรี/ป.โท/ป.เอก, นักวิจัยหรือใครก็ตามที่กำลังต้องอ่านบทความวิจัยเพื่อทำการทบทวนวรรณกรรมหรือ Literature review อยู่แล้วเกิดรู้สึกเบื่อและท้อต้องไม่พลาดบทความนี้เด็ดขาด!. บทความนี้ผู้เขียนจะมาสอนใช้เว็บไซต์ Scispace ทำการทบทวนวรรณกรรมหรือ Literature review ทีละขั้นตอนแบบละเอียดที่จะช่วยให้ผู้อ่านทุกคนอ่านบทความวิจัยได้ไม่น่าเบื่ออีกต่อไปและไม่ท้อไปซะก่อนแม้ว่าจะต้องอ่านงานวิจัยมากมายหลายสิบบทความด้วยกัน.📑 ผู้เขียนเคยเขียนแนะนำการใช้เว็บไซต์ Scispace ไว้คร่าวๆที่บทความนี้ แนะนำการใช้เว็บไซต์ Scispace และในบทความนี้ผู้เขียนจะมาเจาะลึกที่การใช้เว็บไซต์ Scispace ในการช่วยเราทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยกันซึ่งคนที่กำลังอ่านหรือสรุปบทความวิจัยอยู่ควรลองใช้ดูซักครั้งแล้วรับรองว่าจะช่วยในการอ่านและสรุปบทความวิจัยได้อย่างแน่นอนโดยเราสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ได้โดยการกดที่ลิงก์นี้ Scispace หรือพิมพ์คำว่า Scispace ใน google แล้วเข้าไปที่เว็บไซต์แรกได้เลย.📑 เมื่อพูดถึงการทบทวนวรรณกรรมหรือ Literature Review งานวิจัยนั้นถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากและน่าเบื่อเพราะเราจะต้องไปหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เราต้องการจะทำมาก่อนจากนั้นก็ต้องมานั่งไล่อ่านแต่ละงานวิจัยและสรุปอออกมาแล้วก็ต้องนำมาเขียนทบทวนวรรณกรรมในงานวิจัยของเราซึ่งการทบทวนวรรณกรรมนั้นก็อาจจะต้องอ่านงานวิจัยหลายสิบชิ้นหรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับแต่ละงานซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้เวลานานมากดังนั้นถ้าเราสามารถให้ AI ช่วยอ่านและสรุปงานวิจัยให้เราได้หละก็จะทำให้เราประหยัดเวลาไปได้เยอะเลยนะ.📑 โดยการใช้ Scispace ช่วยเราทำการทบทวนวรรณกรรมนั้นทำได้โดยการพิมพ์หัวข้องานวิจัยที่เราสนใจ/ต้องการที่จะทบทวนวรรณกรรมเข้าไปได้โดยตรงเลย. โดยเมื่อเราเข้าไปที่เว็บไซต์ Scispace แล้วนั้นในหน้าแรกก็จะอยู่ในหน้าของเมนู Literature Review อยู่แล้วเราสามารถที่จะพิมพ์หัวข้องานวิจัยเข้าไปได้เลยเช่น ถ้าเราต้องการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 จนถึงปัจจุบันเราก็สามารถพิมพ์เข้าไปได้ว่า The latest development of Covid-19 Vaccine และกด enter.หลังจากกด enter เราก็จะได้หน้าเว็บไซต์ดังรูปด้านล่างโดยจุดแรกที่น่าสนใจคือ Scispace จะทำการเขียนสรุปมาให้เรา 1 ย่อหน้าและมีการอ้างอิงด้วยนะว่าเอามาจากงานวิจัยไหนเมื่อเรากดไปที่ in-text citation ที่เป็นตัวเลขการอ้างอิงเราก็จะรู้ได้ว่า Scispace ใช้งานวิจัยชิ้นไหนมาอ้างอิงในการเขียนแต่ละจุดดังรูปด้านล่างเมื่อเราเลื่อนลงมาจะเห็นได้ว่า Scispace จะรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เราใส่เข้าไปออกมาให้เราพร้อมกับรายละเอียดทั้งหมดของแต่ละงานวิจัยซึ่งแต่ละงานวิจัยจะมีการสรุปคร่าวๆของงานวิจัยมาให้เราอ่านอีกด้วยในช่อง Insights ถ้าเราสนใจงานวิจัยชิ้นไหนเราก็สามารถกดเลือกเข้าไปอ่านแต่ละงานวิจัยได้เลย.เรายังสามารถให้ Scispace ทำสิ่งต่างๆเพิ่มเติมให้เราได้อีกมากมายเช่นถ้าเราต้องการให้ Scispace ทำการสรุปงานวิจัยให้เราแบบสั้นๆ หรือที่เรียกว่า TL;DR ก็ให้เราไปที่เมนู Create a column และกดเลือกไปที่ TL;DR ทาง Scispace ก็จะทำการสรุปงานวิจัยแต่ละชิ้นให้เราเลย.เรายังสามารถกรองงานวิจัยได้จากปีที่ตีพิมพ์หรือ Year ได้ด้วยโดยไปที่เมนู Sort by เพื่อกรองงานวิจัยในหัวข้อที่เราสนใจจากใหม่สุดไปเก่าสุดหรือจากเก่าสุดมาใหม่สุดซึ่งสามารถทำให้เราไล่ย้อนอ่านงานวิจัยที่ตีพิมพ์ตามช่วงเวลาที่เราต้องการได้.ถ้าเราต้องการอ่านใน Excel เราก็สามารถส่งออกงานวิจัยทั้งหมดโดยไปกดที่เมนู Export และสามารถเลือกส่งออกเป็นไฟล์ CSV file หรือ Excel file ได้เลยเมื่อเราเจองานวิจัยที่เราสนใจก็ให้กดไปที่ชื่องานวิจัย (ตัวสีฟ้า) ได้เลย Scispace ก็จะพาเรามายังหน้างานวิจัยนั้นอย่างในตัวอย่างบทความนี้ผู้เขียนสนใจงานวิจัย Development of Adenovirus-Based Covid-19 Vaccine Candidate in Indonesia ก็กดไปที่ชื่องานวิจัยและได้หน้าเว็บไซต์ใหม่มาดังรูปด้านล่างเลย.เมื่อเราเลื่อนลงมาเราก็จะเห็น pdf file ของงานวิจัยและจะเห็นหน้าต่างของ Co-pilot AI ทางด้านขวามือ.เมนู Copilot จะเป็น Chatbot ที่เราสามารถถามคำถามเพื่อที่จะให้โปรแกรมช่วยสรุปส่วนต่างๆของแต่ละงานวิจัยให้เราได้อย่างเช่น📌 อยากจะให้ช่วยสรุปผลการทดลองของงานวิจัยชิ้นนี้เราก็สามารถพิมพ์เข้าไปว่า Results of the paper,📌 อยากจะให้ช่วยสรุปวิธีการทดลองของงานวิจัยชิ้นนี้เราก็สามารถพิมพ์เข้าไปว่า Methods used in this paper,📌 อยากจะให้ช่วยสรุปงานวิจัยทั้งหมดแบบคร่าวๆเราก็สามารถพิมพ์เข้าไปว่า Conclusions from the paper,📌 อยากจะให้ช่วยระบุข้อจำกัดของงานวิจัยเราก็สามารถพิมพ์เข้าไปว่า Limititions of this paper,📌 อยากจะให้แนะนำงานวิจัยที่ควรทำเพิ่มเติมในอนาคตเราก็สามารถพิมพ์เข้าไปว่า Future works suggested in this paper.อย่างเช่น ผู้เขียนพิมพ์ไปว่า Limititions of this paper Copilot ก็จะให้คำตอบมาดังรูปด้านล่างเลยเมื่อพิมพ์ไปว่า Future works suggested in this paper Copilot ก็จะให้คำตอบมาดังรูปด้านล่างเมื่อพิมพ์ไปว่า Methods used in this paper Copilot ก็จะให้คำตอบมาดังรูปด้านล่างเราสามารถพิมพ์คำถามเป็นภาษาไทยเข้าไปได้ด้วยนะแต่แนะนำว่าถ้าจะอ่านไปเขียนงานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษต่อก็ควรถามและอ่านแบบภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มความเคยชินนะ.อีกหนึ่งฟีเจอร์สุดเจ๋งของ Scispace ก็คือเราสามารถใช้เว็บไซต์ Scispace ช่วยอธิบายสมการและตารางที่เข้าใจยากในงานวิจัยได้อีกด้วย! โดยในหลายๆครั้งเมื่อเราอ่านงานวิจัยแล้วเจอกับสมการยากๆหรือตารางที่มีข้อมูลเยอะแยะไปหมดที่ยากจะเข้าใจได้ซึ่งก็จะทำให้เราต้องไปเสียเวลาทำความเข้าใจกับสมการหรือตารางนั้นๆอย่างมากซึ่งผู้เขียนก็อยากที่จะแนะนำหนึ่งในฟีเจอร์ที่ช่วยในการอ่านงานวิจัยที่น่าทึ่งมากๆสำหรับ Scispace ก็คือเราสามารถที่จะใช้ให้ Scispace อธิบายสมการหรือตารางได้ด้วยนะ!โดยเราสามารถใช้ฟีเจอร์นี้ได้ด้วยการไปกดที่เมนู Explain math & table ที่เป็นเมนูอยู่ด้านบนของบทความ.จากนั้นเอาเม้าส์ของเราไปคลุมที่สมการหรือตารางที่เราอยากจะให้ AI ช่วยอธิบายได้เลย.จากนั้น AI ก็จะอธิบายสมการหรือตารางนั้นมาให้เราด้วย Chatbot ที่หน้าต่างด้านขวาของหน้าจอเลยซึ่ง Co-pilot AI ก็อธิบายมาได้เข้าใจอยู่นะทำให้เราเข้าใจข้อมูลในตารางได้ง่ายขึ้นเยอะเลย.สรุปจะเห็นได้ว่า Scispace เป็นเหมือนสวรรค์สำหรับคนที่ต้องอ่านหรือสรุปงานวิจัยเลยทีเดียวเพราะรวมฟังก์ชันต่างๆที่จะช่วยลดความยุ่งยากและความน่าเบื่อในการอ่านและสรุปงานวิจัยได้อย่างมาก. ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าผู้อ่านที่ต้องอ่านหรือสรุปงานวิจัยเป็นจำนวนมากได้ลองใช้ดูก็จะช่วยในการอ่านและสรุปงานวิจัยได้อย่างมากเลยทีเดียวและจะพบว่าการอ่านและสรุปงานวิจัยจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป. สุดท้ายนี้ผู้เขียนก็ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่กำลังอ่านงานวิจัยอยู่นะถึงแม้จะเหนื่อยและท้อบ้างแต่ถ้าสู้ไม่ถอยซะอย่างผู้เขียนก็เชื่อว่าในท้ายที่สุดแล้วผู้อ่านทุกคนจะทำได้อย่างแน่นอน.ผู้เขียนยังได้เขียนบทความสอนการใช้โปรแกรมช่วยในการทำงานและบทความพัฒนาตัวเองที่น่าสนใจไว้อีกหลายบทความด้วยกันผู้อ่านสามารถเลือกอ่านได้ตามบทความที่สนใจได้เลยและผู้อ่านสามารถติดตามผู้เขียนได้ที่ช่อง Arteryสอนใช้ Scispace ช่วยทบทวนวรรณกรรมและสรุปงานวิจัยสอนใช้ Canva ทำโปสเตอร์แบบง่ายๆสอนใช้ Canva ตัดต่อวิดีโอแบบง่ายๆสอนใช้ ChatGPT ในการช่วยเขียนงานวิจัยทุกขั้นตอนสอนใช้ Google Forms สร้างและปรับแต่งแบบฟอร์มแบบง่ายๆสอนใช้งาน Google Drive พร้อมวิธีแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ให้ทุกคนที่มีลิงก์เข้าถึงได้ฝึกภาษาอังกฤษจากหนังและซีรีส์ฝึกภาษาอังกฤษจากแอนิเมชั่นวิทยาศาสตร์เครดิตภาพขอขอบคุณรูปภาพทั้งหมดจาก เว็บไซต์ Scispace (แคปโดยครีเอเตอร์ Artery)บทความอื่นๆที่น่าสนใจของผู้เขียนใครรู้สึกเบื่อและท้อกับการอ่านบทความวิจัยยกมือขึ้น! แนะนำเว็บไซต์ Scispace ที่ช่วยอ่านและสรุปบทความวิจัยที่มาพร้อมกับ Co-pilot AI สุดล้ำที่ทำให้การอ่านบทความวิจัยจะไม่ยุ่งยากและน่าเบื่ออีกต่อไปแนะนำ+สอนการทำโปสเตอร์แบบง่ายๆ, รวดเร็วและสวยงามแถมฟรีด้วยโปรแกรม Canva ชนิดที่ใครก็ทำได้ภายในไม่กี่นาที!รีวิว+สอนการตัดต่อวิดีโอแบบง่ายๆ, รวดเร็วและสวยงามแถมฟรีด้วยโปรแกรม Canva ชนิดที่ใครก็ทำได้ภายในไม่กี่นาที!วิเคราะห์ชื่อหนัง The Hunger Games: The Ballad of Songbirds & Snakes ทำไมลูซี่ เกรย์เปรียบดั่ง Songbirds และสโนว์เปรียบดั่ง Snakesรีวิว 5 ผลงานการคุมทีมที่ดีที่สุดที่ของ The special one โชเซ่ มูรินโญ่ หนึ่งในยอดกุนซือที่สร้างสีสันให้กับโลกฟุตบอลมากที่สุด; ปอร์โต้, เซลซี, อินเตอร์ มิลานและเรอัล มาดริดเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !