ชนิดข้อมูลพื้นฐานใน Python มีอยู่หลายประเภท ชนิดข้อมูลในแต่ละชนิดก็มีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ชนิดข้อมูนพื้นฐานใน Python ที่สามารถใช้งานได้มีดังนี้ข้อมูลประเภทอักษร (String) ในภาษา Python สติง (String) ประกอบไปด้วยตัวอักษร สัญลักษณ์ ตัวเลข และช่องว่าง (space) String จะเขียนอยู่ในเครื่องหมาย Single Quote ‘_’ , Double Quotes “_” เช่น ‘สวัสดี !’ หรือ “สบายดีไหม !” เป็นต้น String ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้หลังจากสร้างขึ้นมาแล้ว แต่สามารถนำ String มาเชื่อมต่อกัน หรือนำมาตัดเป็นส่วนย่อยได้จากตัวอย่าง :mess1= ‘Hello’ เป็นการสร้างตัวแปร Mess1 เพื่อเก็บค่า stringmess2= ‘World’ เป็นการสร้างตัวแปร Mess2 เพื่อเก็บค่า stringmess3= mess1+ ‘’ +mess2 คือการเชื่อมต่อString จากตัวแปรทั้งสองตัวด้วย operator + แล้วเก็บค่าที่ได้ลงในตัวแปร mess3print(mess3) คือคำสั่งให้แสดงผลลัพธ์ออกทางหน้าจอ โดยผลลัพธ์ที่ได้คือ Hello Worldข้อมูลประเภทตัวเลข (Numeric)จำนวนเต็ม(Integer) ใช้ในการเก็บค่าตัวเลขที่ไม่มีทศนิยมหรือตัวเลขจำนวนเต็ม ซึ่งเป็นได้ทั้งบวกและลบ เช่น 1, 2, 3, 100, -100, 350 และอื่นๆ เป็นต้น การประกาศตัวแปรไม่จำเป็นต้องระบุประเภทข้อมูล Python จะจัดการประเภทข้อมูลให้อัตโนมัติจากโค้ดได้สร้างตัวแปรแบบจำนวนเต็ม (Integer) ขึ้นมา 3 ตัว โดยมีรายละเอียดดังนี้my_int1 : กำหนดค่าเป็น 15 โดยใช้ฟังก์ชัน int() แปลงค่า 15 ให้เป็น intmy_int2 : กำหนดค่าเป็น -9 โดยไม่ต้องแปลงค่าเป็น int เพราะเป็นจำนวนเต็มอยู่แล้ว Python จะกำหนดประเภทข้อมูลให้โดยอัตโนมัติmy_int3 : กำหนดค่าเป็น 12 โดยไม่ต้องแปลงค่าเป็น int เพราะเป็นจำนวนเต็มอยู่แล้ว Python จะกำหนดประเภทข้อมูลให้โดยอัตโนมัติจำนวนทศนิยม(Floating Point) ในภาษาไพธอน จำนวนทศนิยม หรือ Floating point number ประกอบไปด้วยสองส่วนคือ จำนวนเต็ม และส่วนทศนิยม เช่น 5.2366, -98.201, 0.325 เป็นต้นผลลัพธ์จากโค้ดข้างบนเป็นการแสดงค่าตัวแปรที่เก็บข้อมูลประเภทจำนวนทศนิยม (Floating point) โดยมีรายละเอียดดังนี้ :my_fpm1=2.662 : กำหนดให้ตัวแปร my_fpm1 เก็บค่า 2.662 ซึ้งเป็นข้อมูลประเภทจำนวนทศนิยม เมื่อใช้คำสั่ง print(my_fpm1) หน้าจอจะแสดงผลลัพธ์คือ 2.6662print(‘{:.2f}’.format(my_fpm1)) : โค้ดนี้ใช้ฟังก์ชัน format โดยให้แสดงค่าตัวแปรเป็นทศนิยมสองตำแหน่ง ซึ่งค่าที่ได้จึงเป็น 2.67my_fpm2=round(my_fpm1,3) : โค้ดนี้ใช้ฟังก์ชัน round เพื่อปัดเศษ โดยการใช้คำสั่ง round(my_fpm1,3) ปัดเศษค่าของตัวแปร my_fpm1 เป็นสามตำแหน่ง แล้วเก็บค่าที่ได้ไว้ที่ตัวแปร my_fpm2 จำนวนเชิงซ้อน (Complex Number) จำนวนเชิงซ้อน (Complex Number) ใน Python เป็นเซตของจำนวนจริงที่มีส่วนจริงและส่วนจิตภาพ Python รองรับการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ทั่วไปกับจำนวนเชิงซ้อน เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร การยกกำลังข้อมูลประเภทลำดับ (Sequence)รายการ (List) ข้อมูลประเภทรายการหรือ list ในPython เป็นโครงสร้างข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ได้หลายค่าภายในตัวแปรเดียวกันโดยมี index เป็นตัวระบุตำแหน่งในการเข้าถึงข้อมูล และการเก็บข้อมูลสามารถเก็บเป็นประเภทใดก็ได้ผลลัพธ์อธิบายจากตัวอย่าง :1. เขียนโค้ดสร้าง list ขึ้นมา 3 รายการmy_numb : เก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลข 1, 4, 6, 12, 16my_food : เก็บข้อมูลที่เป็นข้อความ "hamburger", "soup", "noodle"my_mix : เก็บข้อมูลแบบผสม "soup" , 4 , "noodle" , and 5.22.เข้าถึงข้อมูลด้วย indexprint(my_numb[2]) : ใช้คำสั่งแสดงผลข้อมูลจากตัวแปร my_numb โดยอ้างถึงดัชนี 2print(my_food[0]) : ใช้คำสั่งแสดงผลข้อมูลจากตัวแปร my_foodโดยอ้างถึงดัชนี 0print(my_mix[1:3]) : แสดงค่าจากช่วงดัชนีที่ระบุ ดัชนี 1 ถึงดัชนี 3 โดยไม่นับรวมดัชนี 3 ทูเพิล (Tuple) ทูเพิลหรือ Tuple นั้น คือโครงสร้างข้อมูลแบบเรียงลำดับ ใช้เก็บค่าหลายค่าในตัวแปรเดียวกัน โดยที่ค่าเหล่านั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เหมาะสำหรับการใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์อธิบายจากตัวอย่าง :ประกาศตัวแปร my_number เพื่อเก็บข้อมูล (8,9,10,36,3,11)ประกาศตัวแปร day_of_week เพื่อเก็บข้อมูล ("Monday", "Tuesday", "Wednesday", "Sunday", "Friday", "Saturday", "Sunday")แสดงตัวเลขในตำแหน่งที่ 1 ( นับจาก 0 ) โดยใช้โค้ด print("my number:",my_number[1]) ผลลัพธ์ที่ได้ my number: 9แสดงตัวเลขในช่วงที่ 1 ถึง 4 โดยใช้โค้ด print("my number:",my_number[1:5]) ผลลัพธ์ที่ได้ my number: (9, 10, 36, 3)แสดงวันที่อยู่ในตำแหน่งที่ 5 ( นับจาก 0 ) โดยใช้โค้ด print("holiday:",day_of_week[5]) ผลลัพธ์ที่ได้ holiday: Saturdayช่วง (Range) ช่วงหรือ Range ในไพธอน เป็นฟังก์ชันที่ใช้สร้างลำดับตัวเลขแบบต่อเนื่อง ซึ่งมักใช้ใน loop เช่น for loop เพื่อทำซ้ำการดำเนินการบางอย่างหลายๆ ครั้ง โดยการระบุค่าเริ่มต้น, ค่าสิ้นสุด และ step เพื่อกำหนดการเพิ่มค่าในลำดับได้ผลลัพธ์อธิบายจากตัวอย่าง :ใช้ for เพื่อเป็นคำสั่งเริ่มต้นลูปi in range(5) : i เป็นตัวแปรเพื่อเก็บค่าการวนซ้ำ โดยใช้ฟังก์ชัน range สร้างลำดับตัวเลขตั้งแต่ 0 – 4print(i) : แสดงค่าของแต่แปร i บนหน้าจอผลลัพธ์อธิบายจากตัวอย่าง :ใช้งานคำสั่ง for เพื่อสร้างลำดับตัวเลข ตั้งแต่ 1 ถึง 7range(1,8,2) : ฟังก์ชัน range สำหรับสร้างลำดับตัวเลข ให้ค่าเริ่มต้นเป็น 1 สิ้นสุดที่ 8 (ไม่นับรวม) และให้เพิ่มค่าที่ละ 2 โดยที่ให้เก็บค่าการลำดับตัวเลขไว้ในตัวแปร iprint(i) : แสดงค่าของตัวแปร i บนหน้าจอข้อมูลประเภทการแมป (Mapping)พจนานุกรม (Dictionary) Dictionary ในภาษา Python เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ใช้เก็บข้อมูลแบบคู่ โดยประกอบไปด้วย คีย์ (Key) และค่า (Value) เราสามารถเข้าถึงข้อมูลใน Dictionary ด้วยคีย์ (key) แทนที่จะใช้ดัชนี (index) เหมือนใน List หรือ Tuple คีย์เปรียบเสมือนชื่อหรือตัวระบุข้อมูลผลลัพธ์อธิบายจากตัวอย่าง :my_dict{} : ประกาศตัวแปร my_dict เป็นพจนานุกรม'first name':'Panee' : กำหนด key = ‘first name’ มีค่าเป็น ‘Panee’'last name':'Sangsawan' : กำหนด key = ‘last name’ มีค่าเป็น ‘Sangsawan’'age':26 : กำหนด key = ‘age’ มีค่าเป็น 26'city':'Bangkok' : กำหนด key = ‘city’ มีค่าเป็น ‘Bangkok’print(my_dict['first name']) : แสดงค่าของ key ‘first name’ จากพจนานุกรม my_dict ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาคือ “Panee”print(my_dict['city']) : แสดงค่าของ key ‘city’ จากพจนานุกรม my_dict ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาคือ “Bangkok”ข้อมูลประเภทเซ็ต (Set)เซ็ต (Set) เซ็ต(Set) ในPython เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ใช้เก็บข้อมูลของค่าที่ไม่ซ้ำกัน สมาชิกใน Set ไม่มีลำดับที่กำหนด และไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วย index สามารถเพิ่ม ลบ หรือแก้ไขข้อมูนใน Set ได้หลังจากที่สร้างการดำเนินการกับ Set :Union (รวมเซ็ต) รวมค่าจากสองเซ็ตโดยไม่ซ้ำกันIntersection (ตัดเซ็ต) หาค่าที่เหมือนกันในสองเซ็ตDifference (ลบเซ็ต) หาค่าที่มีในเซ็ตแรก แต่ไม่มีในเซ็ตที่สองSymmetric Difference (ผลต่างสมมาตร) หาค่าที่แตกต่างกันระหว่างสองเซ็ตผลลัพธ์อธิบายจากตัวอย่าง :my_set{1,2,3,6} : สร้าง set ชื่อ my_set โดยภายใน set มีสมาชิกที่ไม่ซ้ำกันคือ 1,2,3,6print(my_set) : แสดงผลลัพธ์ของ my_set ออกทางหน้าจอผลลัพธ์อธิบายจากตัวอย่าง :my_numbers={1,1,4,7,7} : สร้าง set ชื่อ my_numbers โดยให้มีสมาชิกคือ 1,1,4,7,7print(my_numbers) : แสดงผลลัพธ์ของ my_numbers ออกทางหน้าจอ ผลลัพธ์ที่ได้คือ 1,4,7 เนื่องจาก set จะเก็บค่าที่ไม่ซ้ำกัน ทำให้ผลลัพธ์ที่แสดงออกมา มี 1 เพียง 1 ตัว และ 7 เพียง 1 ตัวเซ็ตแบบแข็ง (Frozen Set) Frozen Set ในภาษา Python เป็น set ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หลังจากที่ถูกสร้างขึ้นจะไม่สามารถเพิ่มหรือลบข้อมูลจาก Frozen Set ได้ผลลัพธ์อธิบายจากตัวอย่าง :สร้างตัวแปรขึ้นมาสองชุดได้แก่ my_frozenset และ my_frozenset2 โดยมีชุดข้อมูลประกอบด้วยตัวเลข 1,2,3 และ 8,9,6,7ใช้ฟังก์ชัน frozenset เพื่อใช้สร้างชุดข้อมูลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้แสดงข้อความบนหน้าจอด้วยคำสั่ง print(‘my_frozenset=’,my_frozenset) แสดงข้อความบนหน้าจอด้วยคำสั่ง print(‘my_frozenset2=’,my_frozenset2) ข้อมูลประเภทค่าความจริง (Boolean) ข้อมูลประเภทค่าความจริง(Boolean) ในไพธอน มีค่าเพียงสองค่าเท่านั้นคือ True (จริง)และ False (เท็จ) ใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูล ดำเนินการตรรกะ เป็นต้นผลลัพธ์อธิบายจากตัวอย่าง :print(8>19) : ตรวจสอบว่า 8 มีค่ามากกว่า 19 หรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบแล้ว 8 ไม่ได้มีค่ามากกว่า 19 ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็น Falseprint(20==14) : ตรวจสอบว่า 20 มีค่าเท่ากับ 14 หรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบแล้ว 20 ไม่ได้มีค่าเท่ากับ 14 ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็น Falseprint(39<40) : ตรวจสอบว่า 39 มีค่าน้อยกว่า 40 หรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบแล้ว 39 มีค่าน้อยกว่า 40 ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็น Trueprint(3!=3) : ตรวจสอบว่า 3 มีค่าไม่เท่ากับ 3 หรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบแล้ว 3 มีค่าเท่ากับ 3 ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็น Falseบทความที่เกี่ยวข้องกันเรียนรู้คำสั่ง print ในภาษาโปรแกรม pythonตัวแปรใน Python เนื้อหา ภาพประกอบ และภาพปก โดย สาระนายพัช เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !