รีเซต

ทำพินัยกรรม​ด้วยตนเองอย่างไร ให้สมบูรณ์ และบังคับได้ตามกฎหมายทุกประการ

ทำพินัยกรรม​ด้วยตนเองอย่างไร ให้สมบูรณ์ และบังคับได้ตามกฎหมายทุกประการ
NewsReporter
3 พฤศจิกายน 2565 ( 13:41 )
274
ทำพินัยกรรม​ด้วยตนเองอย่างไร ให้สมบูรณ์ และบังคับได้ตามกฎหมายทุกประการ

ทำพินัยกรรม​ด้วยตนเอง ในปัจจุบันนับว่าเป็นสิ่งที่เราควรทำเผื่อไว้บ้าง โดยที่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นคานสะพานกลับรถถนนพระราม 2 หล่นลงมาทับผู้สัญจรเสียชีวิต หรือโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น เช่นการเสียชีวิตจากเชื้อโควิด-19 ที่มีให้เราได้เห็นทุกวัน หากเราเสียชีวิตจากเหตุข้างต้นอาจเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เรามีตามมา พินัยกรรม เป็นอีกทางออกหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาให้เราได้ วันนี้ TrueID จะมาแนะนำวิธีทำพินัยกรรมด้วยตัวเองให้สมบูรณ์ และบังคับได้ตามกฏหมายทุกประการ

ทำพินัยกรรม​ด้วยตนเองอย่างไร ให้สมบูรณ์

ทำความรู้จักกับคำว่า “พินัยกรรม” ก่อนว่าคืออะไร

พินัยกรรมจึงเป็นการกำหนดการไว้เผื่อตายใน 2 เรื่องด้วยกัน คือ

  1. เรื่องทรัพย์สิน ว่าผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินหรือประโยชน์ให้แก่ใคร   ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่จะยกให้นั้นต้องเป็นของตนเอง มิใช่เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์ของคนอื่น เช่น เรื่องลิขสิทธ์ ซี่งเป็นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เจ้ามรดกอาจจะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์นั้นร่วมกับผู้อื่นอีกก็ได้ ดังนั้นสามารถทำพินัยกรรมยกเฉพาะส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้นให้แก่ผู้อื่นได้

  2. เรื่องกำหนดการอื่น ๆ การทำพินัยกรรมนอกจากจะกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือสิทธิอันใดแล้ว ยังสามารถระบุเรื่องอื่น ๆ ไว้ได้เช่นกัน เช่น การจัดการเรื่องพิมพ์หนังสือที่ระลึกในงานศพ การจัดตั้งผู้จัดการศพ หรือการระบุบริจาคร่างกายของตนให้แก่โรงพยาบาล เป็นต้น
  3.  

Getty/kazuma seki

 

เราสามารถทำพินัยกรรมได้ทั้งหมด 6 แบบ ดังนี้

  1. พินัยกรรมแบบธรรมดา ผู้ทำต้องทำเป็นหนังสือ คือการพิมพ์ข้อความพินัยกรรมลงในกระดาษ มากน้อยหรือจำนวนกี่แผ่นก็ต้องแล้วแต่เนื้อหาหรือจำนวนทรัพย์สิน   ลงวัน เดือน ปี ที่ทำให้ชัดเจน และผู้ทำต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน และพยานต้องลงลายมือชื่อรับรองการทำพินัยกรรมในขณะทำด้วย

  2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ผู้ทำพินัยกรรมจะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับก็ได้ แต่ผู้ทำนั้นต้องเขียนพินัยกรรมนั้นด้วยลายมือตนเอง   ลงวัน เดือน ปีที่ทำ และที่สำคัญต้องลงลายมือชื่อผู้ทำด้วย กรณีนี้จะมีพยานมารับรู้การทำพินัยกรรมด้วยหรือไม่มีก็ได้

  3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง เป็นแบบพินัยกรรมที่ต้องอาศัยกระบวนการโดยเฉพาะที่มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง   ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งความประสงค์โดยให้ถ้อยคำข้อความของตนแก่เจ้าพนักงานที่เขตหรืออำเภอพร้อมพยานอย่างน้อย 2 คน   เจ้าพนักงานจะอ่านข้อความให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง เมื่อเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนแล้ว ผู้ทำพินัยกรรมพร้อมพยานทั้งสองต้องลงลายมือชื่อไว้   ต่อจากนั้น เจ้าพนักงานจะลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี ที่ทำ พร้อมประทับตราตำแหน่ง

  4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ผู้ทำพินัยกรรมทำพินัยกรรมแล้วปิดผนึก และนำไปที่ที่ทำการอำเภอหรือเขต   ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อและพยานอีกอย่างน้อย 2 คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน   เจ้าหน้าที่จะบันทึกถ้อยคำลง วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมแสดงไว้บนซองและประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญโดยผู้ทำพินัยกรรม   พยานและเจ้าหน้าที่ต้องลงลายมือชื่อไว้หน้าซองตรงที่ปิดผนึก

  5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา กรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่บุคคลไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบอื่นที่กล่าวมาข้างต้น เช่น การตกอยู่ในภยันตรายใกล้ความตาย หรืออยู่ในระหว่างสงคราม หรือเกิดมีโรคระบาด   เราสามารถทำพินัยกรรมแบบทำด้วยวาจาก็ได้ โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนาทำพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน   พยานต้องรับฟังข้อความนั้นแล้วไปแจ้งต่อทางราชการโดยเร็วที่สุด ทั้งยังต้องแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ทำพินัยกรรมและพฤติการณ์พิเศษนั้นด้วย   เจ้าพนักงานต้องจดข้อความที่พยานแจ้งไว้ และพยาน 2 คนนั้นต้องลงลายมือชื่อไว้
  6.  พินัยกรรมแบบทำตามกฎหมายต่างประเทศ กรณีคนไทยที่อยู่ต่างประเทศต้องการทำพินัยกรรม มีสิทธิเลือกทำตามแบบของกฎหมายประเทศที่ตนอยู่ทำพินัยกรรมก็ได้ หรือจะทำแบบของกฎหมายไทยก็ได้

    หากทำตามแบบกฎหมายไทย ในกรณีต้องการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง พินัยกรรมแบบเอกสารลับ และพินัยกรรมแบบวาจา ซึ่งต้องมีเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานร่วมด้วยนั้น อำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอจะตกแก่พนักงานทูตหรือฝ่ายกงสุลฝ่ายไทย หรือให้พนักงานใดๆ ที่มีอำนาจตามกฎหมายของประเทศนั้น เป็นผู้รับบันทึกข้อแจ้งความไว้เป็นหลักฐานก็ได้  

ข้อควรระวังในการทำพินัยกรรม

  1. พินัยกรรมเป็นนิติกรรมที่ต้องทำตามแบบที่กำหนดเท่านั้น

  2. ต้องเขียน วัน เดือน ปี ลงลายมือชื่อทั้งผู้ทำพินัยกรรมและผู้ที่เป็นพยาน

  3. ผู้ที่เป็นพยานจะต้องไม่เป็นผู้เยาว์หรือผู้หย่อนความสามารถ และต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้นด้วย

  4. ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

  5. พินัยกรรมควรจะตั้งผู้จัดการมรดกโดยสามารถระบุผู้ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกที่เจ้ามรดกไว้ใจลงในพินัยกรรมไปได้เลย

  6. สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ก็สามารถกำหนดในพินัยกรรมได้

  7. ทรัพย์สินที่ระบุในพินัยกรรมต้องเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น ทั้งต้องแยกสินส่วนตัวออกจากสินสมรสด้วย

  8. เงินประกันชีวิต เงินบำเหน็จตกทอด เงินมีบำนาญตกทอด เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ตกทอด ไม่อาจเป็นมรดกที่ระบุลงในพินัยกรรมได้ เพราะไม่ใช่ทรัพย์ที่เจ้ามรดกมีอยู่ก่อนตาย

ข้อมูล สำนักบริหารการทะเบียน

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง