กล้องมือถือสมัยนี้ ก็ถ่ายรูปได้สวยงามให้ไฟล์ที่มีคุณภาพที่ดีพอรับได้ ก็ยังมีกล้องอีกหลายประเภท เพื่อนบางคนก็อาจจะแอบสงสัยเกี่ยวกับกล้องแบบ และรุ่นต่าง ๆ บางรุ่นเห็นบอดี้เล็ก ๆ สวย ๆ พอไปถามราคาอาจจะช็อคก็ได้ ดังนั้น เราลองมาเรียนรู้ ทำความรู้จักกับกล้องประเภทต่าง ๆ เผื่ออนาคตเราอยากจะเลือกซื้อ จะได้มีความเข้าใจขั้นพื้นฐานกับกล้องก่อน กล้องฟิล์ม กล้องฟิล์มเป็นกล้องก่อนยุคติจิตอล กล้องฟิล์มที่เป็นที่นิยมเป็นกล้องประเภท “SLR” Single Lens Reflex เป็นกล้องฟิล์มที่เปลี่ยนเลนส์ได้ และทำงานโดยเรามองผ่านช่องมองภาพโดยกระจกที่จะสะท้อนภาพให้เราเห็นผ่านรูรับแสง เมื่อเรากดชัตเตอร์กระจกก็จะยกขึ้น แสงก็จะเข้าสู่ฟิล์มเพื่อบันทึกภาพเอาไว้ เมื่อเราจะดูภาพที่เราถ่ายก็ต้องนำฟิล์มไปล้างในห้องมืด ผ่านกระบวนการทางเคมี แล้วนำไปอัดออกมาเป็นรูป แต่ปัจจุบันอาจจะใช้วิธีสแกนเอาแล้วค่อยเปิดดูในคอมก็ได้ ส่วนฟิล์มที่ใช้ ๆ กัน ส่วนใหญ่นิยมใช้ฟิล์ม 35 มม. วิธีการใช้เราจะเอาฟิล์มใส่เข้าไปในช่องใส่ฟิล์ม แล้วดึงส่วนหางของฟิล์มออกจากกลักฟิล์มไปใส่ในแกนอีกด้านของกล้อง กล้องบางรุ่นก็จะทำการดึงฟิล์มเอง กล้องบางรุ่นก็ต้องแมนนวล ซึ่งเทคนิคนี้ช่างภาพที่ชำนาญ ๆ ก็อาจจะสามารถถ่ายภาพได้ถึง 36-38 ภาพ ส่วนผู้เขียนค่อนข้างจะไม่เชี่ยวชาญก็จะทำฟิล์มเสียไปบางส่วนเมื่ออัดล้างออกมา ก็จะถ่ายภาพได้ประมาณ 32-34 ภาพ กล้องดิจิตอล (DSLR) กล้อง DSLR หร้อ กล้องดิจิตอลแบบเปลี่ยนเลนส์ได้ (Digital single lens reflex) เป็นกล้องที่พัฒนาจากกล้อง SLR เพียงแต่เปลี่ยนระบบการเก็บข้อมูลจากฟิล์มเป็นเม็มโมรี วิธีการถ่ายภาพ กล้องจะมีเซนเซอร์รับแสงแทนฟิล์ม และชิพเพื่อประมวลผลและแปลงค่าสัญญาจากเซ็นเซอร์มาสร้างเป็นภาพและจัดเก็บไว้ในเม็มโมรี กล้อง DSLR ยังแบ่งเซ็นเซอร์รับภาพออกเป็น 2 ประเภท คือ กล้องที่มีเซ็นเซอร์เทียบเท่าฟิล์ม 35 mm. เราเรียกว่ากล้อง “ฟูลเฟรม” ส่วนกล้องที่มีเซ็นเซอร์เล็กกว่าเรียกว่า “กล้องตัวคูณ” กล้องฟูลเฟรม จะมีเซนเซอร์ขนาดใหญ่ เวลาเราถ่ายภาพ จะพบว่าทางยาวโฟกัสกับมุมรับภาพก็จะมีขนาดเท่ากับตัวเลขที่กำกับไว้บนเลนส์นั่นเอง แต่ถ้าใช้กล้องตัวคูณถ่ายโดยเลนส์ประเภทเดียวกัน คุณภาพ และมุมรับภาพก็จะเล็กลงกว่ากล้องฟูลเฟรม สำหรับช่างภาพมืออาชีพมักจะใช้กล้องฟูลเฟรมเพื่อถ่ายภาพมากกว่าใช้กล้อง DSLR เพราะจะได้ภาพที่มีคุณภาพสูงกว่าทั้งในเรื่องความคมชัด ความชัดตื้น ความละเอียดของสี และไฟล์ภาพที่มีคุณภาพสูงกว่า รวมถึงระบบโฟกัสที่แม่นยำ ทำงานในสถานที่ที่มีแสงน้อยแต่มีนอยส์รบกวนน้อยกว่า เป็นต้น กล้องมิเรอร์เลส (Mirrorless) กล้องมิเรอร์เลส ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ากล้องไม่มีกระจก เป็นกล้องที่พัฒนาจากกล้อง DSLR แต่เอากระจกออก ทำให้กล้องมีขนาดเล็ก และเบา เมื่อไม่มีกระจกไว้มองภาพ กล้องมิเรอร์เลสจึงใช้จอ LCD ในการถ่ายภาพ หรือการมองผ่าน Electronic Viewfinder ผลก็คือการเปลืองแบตเตอรี ใครใช้กล้องประเภทนี้ก็ควรจะมีแบตเตอรีสำรองไว้สักก้อน เผื่อไปเที่ยวแล้วแบตหมดระหว่างวันนี่ หมดสนุกกันเลยทีเดียว สำหรับเซ็นเซอร์ของกล้องมิเรอร์เลสแล้วจะเป็นเซ็นเซอร์แบบเดียวกับกล้องตัวคูณ ซึ่งทำให้เลนส์ที่มีตัวเลขเขียนกำกับไว้ จะมีช่วงเพิ่มขึ้นไปอีก เช่น เลนส์ ช่วง 25 มม. ก็จะกลายเป็นมีทางยาว 50 มม. เลยทีเดียว แต่ปัจจุบัน กล้องมิลเลอร์เลสหลายยี่ห้อก็ได้พัฒนาให้มีเซ็นเซอร์แบบฟูลเฟรม และเซ็นเซอร์แบบ Micro Four Thirds ซึ่งมีสัดส่วนภาพเท่ากับ 4 : 3 ข้อดีก็คือสามารถใช้เลนส์ร่วมกันได้อย่างเช่น Olympus และ Panasonic ทำให้เราสามารถเลือกใช้เลนส์ได้หลายช่วง และหลายราคากล้องคอมแพค (Compact) กล้องคอมแพค บางคนเรียกกล้องป๊อกแป๊ก แต่มันก็ไม่ได้ถ่ายภาพออกมาป๊อกแป๊กเด้อ กล้องคอมแพคมีทั้งแบบเลนส์ฟิกส์ และเลนส์ที่เป็นออฟติคอลซูม และดิจิตอลซูม ออฟติคอลซูมคือ ตัวเลนส์วิ่งออกไป แล้วซูมได้สุดช่วงของเลนส์ ส่วนดิจิตอลซูมก็คล้าย ๆ กับการซูมในกล้องมือถือนี่หล่ะ ไฟล์ที่ได้จากดิจิตอลซูมก็อาจจะแตกระยับจับใจ ส่วนไฟล์ที่ได้จากการซูมแบบออฟติคอลซูมก็จะมีคุณภาพดีกว่า สำหรับเซนเซอร์ของกล้องคอมแพคก็จะเล็กกว่ากล้องมิลเลอร์เลส แต่ก็นั่นหล่ะ ในปัจจุบันนี้กล้องคอมแพคบางรุ่นก็ได้ผลิตเซ็นเซอร์ที่ใหญ่ระดับฟูลเฟรม และเซนเซอร์ APS-C ซึ่งก็แน่นอนว่า ราคานั้นก็ไม่เบาเหมือนน้ำหนักกล้อง เผลอ ๆ อาจจะสูงเท่า ๆ กับมิลเลอร์เลสหรือมากกว่าด้วยซ้ำ กล้องโพลารอยด์ กล้องโพลารอยด์ จะคล้าย ๆ กับกล้องคอมแพค ใช้ฟิล์มพิเศษที่ขายเป็นกล่อง ๆ กล่องนึงก็หลายตังค์อยู่เวลาถ่ายก็แค่กด ๆ ภาพก็จะมีมาให้ชมเลยทันที กล้องโพลารอยด์ส่วนใหญ่ราคาหลักพัน แต่จะสิ้นเปลืองก็ตรงฟิล์มโพลารอยด์นี่หล่ะ จะว่าไปกล้องโพลารอยด์ก็เหมือนไอเท็มน่ารัก สำหรับคนที่ตังค์เหลือเอาไว้ถ่ายรูปเล่น ๆ สนุก ๆ ทีนี้เพื่อน ๆ ก็คงพอจะมีข้อมูลสำหรับการเลือกซื้อหรือเลือกใช้กล้องถ่ายภาพให้เหมาะสมกับงานที่ตัวเองต้องการ เรื่องและภาพ โดยผู้เขียน