"ทรัพยสิทธิ และ บุุคคลสิทธิ" ถือเป็นคำที่มักคุ้นเคยในแวดวงกฎหมาย แต่คนทั่ว ๆ ไปมักจะมึนงงได้ ดังนั้น บทความชิ้นนี้จึงมุ่งจะสร้างความเข้าใจให้แก่บุคคลทั่วไป และนักกฎหมายบางท่านที่ต้องการทบทวนความรู้หรือยังไม่ตกผลึกในประเด็นดังกล่าว ศัพท์ดังกล่าวนี้ จะได้รับการถกเถียงในแวดวงนักกฎหมายแพ่ง-พาณิชย์ อาทิ ในกลุ่มกฎหมายธุรกิจ โดยที่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นหมายถึงเอกชน จะสมัครใจเข้าความผูกพันธ์ตัวเองในทางกฎหมายระหว่างกัน เพื่อจะทำอะไรสักอย่าง เช่น สัญญา ในขณะเดียวกัน หากเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน กับ ทรัพย์สิน จะเรียกว่า ทรัพยสิทธิ หรือกล่าวอย่างง่าย คือ คนสามารถอ้างความเป็นเจ้าของเหนือทรัพย์สินได้ หรือ คน มีความสัมพันธ์กับ วัตถุ ทรัพยสิทธิ (ความสัมพันธ์ระหว่างคน และ ของ)ถ้าพิจารณาถึงเหตุที่สร้างความสัมพันธ์ทางกฎหมายนั้น โดยทั่วไป บุคคลสิทธิมักถูกสร้างจากความสมัครใจเข้าผูกพันกันให้มีผลทางกฎหมาย ได้แก่ นิติกรรม-สัญญา ตามมาตรา 149 ที่ว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิส่วนทรัพยสิทธินั้น มาตรา 1298 บัญญัติว่า ทรัพยสิทธิทั้งหลายนั้น ท่านว่าจะก่อตั้งขึ้นได้แต่ด้วยอาศัยอำนาจในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้บุคคล(คน) ไปพูดคุยกับทรัพย์สินที่ไม่สามารถเจรจาได้ เช่น โต๊ะ ตู้ เก้าอี้ บ้าน รถ ฯลฯ ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน กับทรัพย์สิน จึงถูกสร้างโดยกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ และ/หรือประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นต้น ทว่า นักกฎหมายบางท่านอาจเถียงในใจว่า การส่งมอบทรัพย์นั่นเป็นบุคคลสิทธิมิใช่หรือ? จริงครับ แต่ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านลองพิจารณาถึงการกระทำ คือ "การส่งมอบ" (ทรัพย์สิน) มากกว่าตัวทรัพย์สิน เช่น การส่งมอบสินค้าต่าง ๆ เพื่อแลกกับการชำระราคา ดังนี้ เราจึงสามารถ สรุปในเบื้องต้นว่า ถ้าเป็นหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา ได้แก่ การกระทำการ (ตามนิติกรรม-สัญญา) เช่น การชำระราคาสินค้า หรือบริการ การงดเว้นกระทำการ เช่น ห้ามผู้เช่าต่อเติมห้องเช่าโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า และท้ายที่สุด คือ การส่งมอบทรัพย์สิน ในบางครั้ง บุคคลสิทธิ อาจไม่ถูกสร้างความสัมพันธ์ทางกฎหมายโดยการสมัครใจเสมอไป เช่น การขับรถชนผู้อื่น เราจึงคาดหมายได้ว่า ปกติเรา ๆ ท่าน ๆ คงไม่มีใครจะไปเจรจากับคนอื่นเพื่อให้ตนสามารถขับรถชนได้ ดังนั้นบุคคลสิทธิในกรณีนี้จึงถูกสร้างโดยผลของกฎหมายแพ่ง-พาณิชย์ว่าด้วยเรื่อง “ละเมิด” เพราะหากกฎหมายไม่สร้างความสัมพันธ์ให้ เห็นทีจะชนแล้วหนีมากกว่าเดินเข้าไปขอชดใช้ค่าเสียหาย ละเมิด (อุบัติเหตุ=นิติเหตุ)อนึ่ง บางครั้งคนเราอาจขาดความระมัดระวังไปบ้างและทำให้ผู้อื่นต้องเสียหาย/เจ็บปวดทั้งกายและใจอย่างไม่ได้ตั้งใจ หากกฎหมายไม่สร้างความสัมพันธ์ (บุคคลสิทธิ) ให้ ผู้ได้รับความเสียหาย เขาอาจจะเจ็บตัวฟรี ด้วยเหตุนี้ กฎหมายจึงต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ก่อเหตุและผู้เสียหายให้ โดยผู้ก่อเหตุต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนการที่ตนไปกระทำไม่ดีไม่ร้ายแก่ผู้เสียหาย กล่าวง่าย ๆ คือ ไปจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายเสมือนเขา/เธอไม่เคยได้รับความเสียหายเลย หรือ ค่าฟื้นฟูความเสียหาย เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าขาดประโยชน์ บลา ๆ ๆ ในทางวิชาการเรียกเหตุการณ์เหล่านี้ว่าเรียกว่านิติเหตุ (ไม่กระทำด้วยความสมัครใจ แต่มีผลผูกพันธ์ทางกฎหมาย) จากที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลจึงสามารถสรุปได้ดังนี้“บุคคลสิทธิ” หมายถึงสิทธิ(ความสัมพันธ์)ระหว่างบุคคล อาจเกิดจากการผูกพันธ์กัน โดยนิติกรรม/สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย สัญเช่า ฯลฯ (เอกชนสมัครใจผูกพันธ์ตัวเองกับอีกบุคคลหนึ่งตามกฎหมาย) ส่วน “ทรัพยสิทธิ” ย่อมหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างคนและ(สิ่ง)ของซึ่งจะเกิดความผูกพันธ์โดยกฎหมายเป็นหลัก (กำหนด)ยกตัวอย่าง สัญญาซื้อขายทรัพย์สิน นั้นเกิดโดยนิติกรรม/สัญญาระหว่าง ผู้ซื้อ (คน) และ ผู้ขาย (คน) มีหน้าที่ต่อกัน คือ ชำระราคาแลกกับการรับมอบบอบสินค้าหรือบริการ ส่วนกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้า คือเรื่องความเป็นเจ้าของจะโอนจาก ผู้ขายไปยังผู้ซื้อซึ่งเป็นคนละกรณีกับบุคคลสิทธิ งงไหมครับ? ... ส่วนตัวผมว่าพอก่อนเดี๋ยวสมองจะบวม ไม่งงนะท้ายนี้ ขอบพระคุณ1. ภาพ ปก โดย Travis Grossen จาก https://unsplash.com/photos/-CaJIE1MiA42. ภาพ ทรัพยสิทธิ์ (ความสัมพันธ์แบบคน-ของ) โดย whatwolf จาก https://bit.ly/2VrNCvO3. ภาพ ละเมิด โดย brgfx จาก https://bit.ly/36vlvlP4. ภาพ ไม่งงนะ โดย stories จาก https://bit.ly/3qj5Lu0 เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !