รีเซต

ก๊าซหุงต้มราคาแรง ปชช.แห่ขยับซื้อ 'เตาถ่าน' ใช้แทน หมู่บ้านดังผลิตแทบไม่ทัน

ก๊าซหุงต้มราคาแรง ปชช.แห่ขยับซื้อ 'เตาถ่าน' ใช้แทน หมู่บ้านดังผลิตแทบไม่ทัน
มติชน
2 มิถุนายน 2565 ( 11:46 )
121
ก๊าซหุงต้มราคาแรง ปชช.แห่ขยับซื้อ 'เตาถ่าน' ใช้แทน หมู่บ้านดังผลิตแทบไม่ทัน

ข่าววันนี้ 2 มิถุนายน ขณะที่หลังทั้งราคาน้ำมัน และก๊าซหุงต้มปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง และส่งผลกระทบต่อประชาชนในหลายพื้นที่ทำให้มีต้นทุนรายจ่ายที่สูงขึ้นไม่เพียงพอต่อรายรับตามมาเป็นจำนวนมากในขณะนี้แนวทางการแก้ปัญหาของประชาชนในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ซึ่งมีแหล่งผลิตในการปั้นเตาดินใช้ฟืนหรือถ่านเป็นเชื้อเพลิง ที่มีการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านเมืองน้อยเหนือ ต.ในเมือง อ.เมืองจ.ชัยภูมิ ที่นี่ในการผลิตเตาถ่านที่นี่ให้เก็บความร้อนได้ยาวนามากขึ้นไม่แพ้การใช้เตาแก๊สหุงต้ม หรือไฟฟ้าได้ดีไม่แพ้กัน

 

นางปราณี วัย 73 ปี ชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ที่ได้สืบทอดความรู้ด้านเครื่องปั้นดินเผา มาจากบรรพบุรุษมายาวนา มาตั้งแต่โบราณจากรุ่นปู่ ย่าตา ยาย พ่อแม่ ที่ติดตัวมาด้วยมาจาก จ.นครราชสีมา และได้มาอยู่ที่จังหวัดชัยภูมิ มาตั้งแต่เกิดและได้ยึดประกอบเป็นอาชีพปั้นเตาถ่านดินใช้ฟืนหรือถ่านเป็นเชื้อเพลิง เพื่อส่งขายตั้งแต่จำความได้ มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนางปราณี และลูกทีมคนในหมู่บ้านอีก 3 คน กำลังเร่งปั้นเตาดินตามขนาดให้ทันความต้องการของยอดสั่งซื้อนำไปขายต่อในตัวจังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดใกล้เคียง หรือตามหมู่บ้านต่าง ๆ หลังที่ก๊าซหุงต้ม ในปัจจุบันมีการปรับราคาพุ่งสูงขึ้นมาต่อเนื่องล่าสุดเป็นครั้งที่ 3 แล้วในขณะนี้ เป็นถังขนาด 15 กิโลกรัม พุ่งถังละ 363 บาท จากเดือน พ.ค.อยู่ที่ 348 บาท

 

ซึ่งขณะนี้ทำให้พ่อค้าแม่ขาย รวมทั้งชาวบ้านทั่วไป สู่ราคาก๊าซที่ปรับสูงขึ้นไม่ไหว ทำให้มียอดออเดอร์สั่งซื้อเตาถ่านในหมู่บ้านไปขายต่อเพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้กว่า 20% แต่ก็เกิดปัญหาในหน้าฝนที่จะมีฝนตกบ่อยครั้งทำให้ขั้นตอนการผลิตได้ช้าลงในช่วงนี้ที่เตาแต่ละใบต้องใช้เวลาตากให้แห้งสนิทอย่างน้อย 4-6 วัน (ในช่วงหน้าร้อนก็จะแห้งเร็วตากไม่เกิน 4 วัน แต่ช่วงหน้าฝนต้องใช้เวลาตากให้ได้แดดที่มีความร้อนพอต้องใช้เวลาตากเตาถ่านแต่ละใบนาน 6 วันถึงสัปดาห์ขึ้นไป/ใบ) จนผลิตเตาถ่านใช้ฟืนหรือถ่านแห้งส่งขายในขณะนี้แทบไม่ทันส่งให้ลูกค้าได้

 

นางปราณีบอกอีกว่าช่วงนี้หน้าฝนสามารถผลิตเตาดินใช้ฟื้นหรือถ่านเป็นเชื้อเพลิงได้เพียงวันละ 100 ใบเท่านั้น แม้ยอดสั่งซื้อจะเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอีกกว่า 20 % ก็ตาม ก็ยังส่งขายไม่ทัน ซึ่งการผลิตเตาถ่านเน้นคุณภาพต้องผ่านขั้นตอนที่ทำสืบทอดกันมาครบทุกขั้นตอน จึงสร้างชื่อให้หมู่บ้านที่นี่ว่าเป็นเตาดินหรือเตาถ่านเก็บความร้อนที่ขึ้นชื่อของ จ.ชัยภูมิ มายาวนานจนปัจจุบันได้

 

ส่วนราคาขายส่งยังเท่าเดิมลูกหรือใบเล็กใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิงลูกละ 38 บาท ลูกใหญ่ใช้ฟืนหรือถ่านเป็นเชื่อเพลิงลูกละ 65 บาทเท่านั้น ลูกทีมที่ปั้นเตาด้วย จะมีรายได้เสริมกับชาวบ้านในหมู่บ้านที่มาช่วยผลิตอย่าน้อยวันละ 300 – 500 บาท ขึ้นอยู่กับความขยันของแต่ละคน ส่วนตนเองหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้วมีรายได้จากการปั้นเตาดินขายลูกละ 5 บาท ได้วันละไม่เกิน 100 ลูก ก็พอมีรายได้ต่อวันกว่า 500 บาท พอมีรายได้ในช่วงนี้ได้ และไม่กล้าขึ้นราคา กลัวขายเตาดินใช้ฟื้นหรือถ่านเป็นเชื้อเพลิงลดลง ซึ่งก็เห็นใจลูกค้าทุกคนด้วยเช่นกันถ้าเราปรับราคาเขาก็มีต้นทุนเพิ่ม

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง