ที่มา : canva.com PM2.5 เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน มีส่วนประกอบของสารก่อมะเร็ง ที่เล็กกว่าเซลล์ประสาทของคนเราหลายเท่า สามารถแทรกผ่านผิวหนังมนุษย์เราได้ โดยแทรกผ่านรูขุมขน หรือเข้าสู่ระบบทางเดินหาใจของเราได้โดยผ่านเข้าทางจมูกและสามารถผ่านขนจมูกของเราไปยังหลอดลมและเข้าสู่ปอด และถุงลมได้ ในขณะที่ฝุ่น PM2.5 เข้าสู่ร่างกายของเรา โดยผ่านระบบทางเดินหายใจเพื่อเข้าถุงลมนั้น PM2.5 ยังสามารถผ่านผนังของหลอดเลือดฝอยและเข้าสู่กระแสเลือดได้อีกด้วย เมื่อ PM2.5 เข้าสู่กระแสเลือด เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงไปเลี้ยงสมอง ทำให้ PM2.5 แทรกเข้าสู่เซลล์ประสาท และทำให้เซลล์ประสาทเซลล์นั้นตาย หากได้รับ PM2.5 ปริมาณมาก ๆ อาจจะเป็นอันตรายได้ หมอกควันถ่ายจากจุดชมวิวดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562 PM2.5 เป็นที่รู้จักเมื่อปี 2562 ช่วงต้นปีเป็นต้นมา และหนักสุดช่วงเดือนเมษายน 2562 ที่จังหวัดกรุงเทพฯ และหนักขึ้นเรื่อย ๆ เช่นจังหวัดลำปาง ใกล้เหมืองแม่เมาะ น่าน จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และหนักขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้หลาย ๆ โรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพฯ ลำปาง น่าน เชียงราย เชียงใหม่ ต้องปิดหลายวัน เนื่องจากปริมาณฝุ่น PM2.5 หนักเกินที่จะรับมือได้ และทำให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายจากฝุ่น PM2.5 และเตรียมตัวรับมือกับฝุ่น PM2.5 ในปี 2563 อันตรายของฝุ่นจิ๋ว PM2.5 จะก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง ดังนี้ ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เกิดโรคสมองฝ่อ สมองเสื่อม โรคหัวใจขาดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคติดเชื้อเฉียบพลัน ในระบบหายใจส่วนล่าง ปริมาณ PM2.5 ทั่วประเทศ วันที่ 27 มกราคม 2563 กรุงเทพมหานคร ปริมาณ PM2.5 สูงสุดอยู่ที่ 33 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก - ดี ที่มา : http://air4thai.pcd.go.th/ เชียงราย ปริมาณ PM2.5 สูงสุดอยู่ที่ 40 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ ดี – ปานกลาง เชียงใหม่ ปริมาณ PM2.5 สูงสุดอยู่ที่ 45 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก – ปานกลาง ลำปาง ปริมาณ PM2.5 สูงสุดอยู่ที่ 146 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ มีผลกระทบต่อสุขภาพ ลำพูน ปริมาณ PM2.5 สูงสุดอยู่ที่ 47 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ คุณภาพปานกลาง แม่ฮ่องสอน ปริมาณ PM2.5 สูงสุดอยู่ที่ 43 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ คุณภาพปานกลาง น่าน ปริมาณ PM2.5 สูงสุดอยู่ที่ 98 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ – มีผลกระทบต่อสุขภาพ แพร่ ปริมาณ PM2.5 สูงสุดอยู่ที่ 153 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ มีผลกระทบต่อสุขภาพ พะเยา ปริมาณ PM2.5 สูงสุดอยู่ที่ 83 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ตาก ปริมาณ PM2.5 สูงสุดอยู่ที่ 63 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ที่มา : http://air4thai.pcd.go.th/ นครสวรรค์ PM2.5 สูงสุดอยู่ที่ 48 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ คุณภาพปานกลาง กาญจนบุรี PM2.5 สูงสุดอยู่ที่ 57 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ สุพรรณบุรี PM2.5 สูงสุดอยู่ที่ 56 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ สระบุรี PM2.5 สูงสุดอยู่ที่ 40 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ ดี - เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ที่มา : http://air4thai.pcd.go.th/ ที่มา : http://air4thai.pcd.go.th/ อย่างไรก็ตาม จากค่า PM2.5 ในวันที่ 27 มกราคม จะเห็นได้ว่า ค่า PM2.5 ของหลายพื้นที่มีปริมาณสูงมาก และผู้เขียนคาดว่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะว่าสภาพอากาศของประเทศไทยตอนนี้อยู่ในฤดูหนาว และจะเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งกว่าจะเข้าสู่ฤดูฝนนั้น อีก 3 - 4 เดือน สภาพอากาศจะร้อนขึ้นเรื่อย ๆ และอาจจะเกิดไฟป่า ซึ่งเกิดขึ้นทุกปีในภาคเหนือ เช่นจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง จะทำให้ค่า PM2.5 สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าจะเข้าสู่ฤดูฝน ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะทำให้หลาย ๆ คนหันมาตระหนักถึงผลกระทบของความรุนแรงฝุ่นจิ๋ว PM2.5 และจะเริ่มหันมาดูแลสุขภาพของผู้อ่านทุก ๆ ท่านนะคะ และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุก ๆ ท่าน