สวัสดีครับวันนี้ "ผู้เขียน" จะมาพูดถึงเรื่องราวของมาตรา ม.40 ว่าการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ม.40 มีแบบไหนบ้าง แต่ละแบบมีความคุ้มครองอย่างไรได้ผลประโยชน์เป็นเงินเท่าไหร่ และสมัครเพื่ออะไรปัจจุบันยังมีคนคิดว่าการสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ม.40 เป็นการสมัครเอาไว้เพื่อใช้สิทธิ์รักษาพยาบาล แต่ที่จริงแล้ว มาตตรา ม.40 ไม่ได้คุ้มครองในเรื่งของการรักษาพยาบาล และการรักษาพยาบาลมีแค่การเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 กับมาตรา 39 เท่านั้น สำหรับมาตรา ม.40 ไม่ได้คุ้มครองการรักษาพยาบาล แต่จะคุ้มครองในกรณีเจ็บป่วย อ้าว..! แล้วแบบนี้ก็งงล่ะสิ "แล้วมันต่างกันยังไง" ? ที่บอกว่าคุ้มครองในกรณีที่เจ็บป่วย หมายความว่า คุ้มครองเป็นเงินที่จ่ายให้เมื่อเราป่วย ก็คือถ้าเราเจ็บป่วยจนทำให้เราจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล เป็นเหตุให้ขาดรายได้ ก็จะมีเงินจากมาตรา ม.40 มาจ่ายค่ารักษาให้เรา สำหรับมาตรา ม.40 มีทั้งหมด 3 ทางเลือก"ทาเลือกที่ 1" จ่าย 70 บาท"ทาเลือกที่ 2" จ่าย 100 บาท"ทาเลือกที่ 3" จ่าย 300 บาทจะสังเกตุได้ว่าแต่ละทางเลือกจะจ่ายเงินไม่เท่ากัน เพราะฉนั้นสิทธิประโยชน์จะไม่เหมือนกัน กรณีเจ็บป่วย"ทางเลือกที่ 1" สิทธิประโยชน์ที่จะได้คือ ถ้านอนโรงพยาบาลได้วันล่ะ 300 บาท แต่ถ้าไม่ได้นอนโรงพยาบาลแต่หมอให้พักและจะต้องพัก 3 วันขึ้นไปโดยมีใบรับรองแพทย์ชัดเจนได้วันล่ะ 200 บาท แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์แบบ 300 บาท หรือ 200 บาท จะต้องไม่เกิน 30 วันต่อปี และถ้าไม่นอนโรงพยาบาลแต่หมอให้พักไม่เกิด 2 วัน ก็จะได้รับวันละ 50 บาท แต่จะได้รับไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี"ทางเลือกที่ 2" อันนี้ "ผู้เขียน" จะขอข้ามไปเลยนะครับเพราะสิทธิประโยชน์จะเหมือนทางเลือกที่ 1 เป๊ะ..!"ทางเลือกที่ 3" สิทธิประโยชน์ที่จะได้คือ ถ้านอนโรงพยาบาลได้วันล่ะ 300 บาท แต่ถ้าไม่ได้นอนโรงพยาบาลแต่หมอให้พักและจะต้องพัก 3 วันขึ้นไปโดยมีใบรับรองแพทย์ชัดเจนได้วันล่ะ 200 บาท แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์แบบ 300 บาท หรือ 200 บาท จะต้องไม่เกิน 30 วันต่อปี ก็จะเหมือนกับทางเหลืกที่ 1ในข้างต้น แต่ทางเลือกที่ 3 จะพิเศษกว่าก็คือ สิทธิประโยชน์ทั้งหมดที่ได้รับจะใช้ได้ไม่เกิด 90 วัน ซึ้งมากกว่าสองทางเลือกแรกถึง 30 วัน นี้ก็คือกรณีเจ็บป่วย จะมีเงินจ่ายให้เฉพาะ ในกรณีที่หมอมีคำสั่งให้นอนโรงพยาบาลหรือให้พักเท่านั้น แต่ถ้าอยากได้การคุ้มครองในการรักษาพยาบาลให้ไปสมัครบัตรทองนะครับกรณีทุพพลภาพ "ทางเลือกที่ 1" จะได้เงินต่ำสุด 500 - 1,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี ตายได้ 20,000 บาท "ทางเลือกที่ 2" เหมือนทางเหลืกที่ 1 เป๊ะ..! จะได้เงินต่ำสุด 500 - 1,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี ตายได้ 20,000 บาท "ทางเลือกที่ 3" จะได้เงินต่ำสุด 500 - 1,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี ตายได้ 40,000 บาท กรณีเสียชีวิต"ทางเลือกที่ 1" มีค่าทำศพ 20,000 บาท แล้วก็เงินสงเคราะห์ 3,000"ทางเลือกที่ 2" เหมือนกับทางเลือกที่ 1 มีค่าทำศพ 20,000 บาท แล้วก็เงินสงเคราะห์ 3,000"ทางเลือกที่ 3" มีค่าทำศพ 40,000 แต่ไม่มีเงินสงเคราะห์กรณีชราภาพ"ทางเลือกที่ 1" ไม่คุ้มครอง"ทางเลือกที่ 2" จะได้เท่ากับ 50 บาท คูณด้วยจำนวนเดือนที่สมทบ แล้วบวกด้วยเงินออมเพิ่ม ก็จะได้ผลตอบแทน"ทางเลือกที่ 3" จะได้เท่ากับ 150 บาท คูณด้วยจำนวนเดือนที่สมทบ แล้วบวกด้วยเงินออมเพิ่ม ก็จะได้ผลตอบแทนกรณีสงเคราะห์บุตร"ทางเลือกที่ 1" ไม่คุ้มครอง"ทางเลือกที่ 2" ก็ไม่คุ้มครอง"ทางเลือกที่ 3" ได้คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน ตั้งแต่แรกเกิดจนไปถึงบุตรอายุไม่เกิน 6 ปีและนี้ก็คือรายละเอียดทั้งหมดของ ม.40 ก็ลองพิจารณาดูนะครับว่ามันเหมาะสมกับเราหรือไม่แล้วอย่างที่จะสมัครหรือเปล่าขอขอบคุณภาพปกจาก : freepik / freepik ภาพประกอบโดยผู้เขียน "คืนถิ่น"ตัดต่อกราฟิกโดยผู้เขียน "คืนถิ่น"เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !