รีเซต

จีนพัฒนาระบบ AI ที่รู้วิธีการ “หลอกล่อ” คู่ต่อสู้ในการจำลองการรบในอวกาศได้ในที่สุด

จีนพัฒนาระบบ AI ที่รู้วิธีการ “หลอกล่อ” คู่ต่อสู้ในการจำลองการรบในอวกาศได้ในที่สุด
TNN ช่อง16
16 มิถุนายน 2565 ( 11:48 )
80
จีนพัฒนาระบบ AI ที่รู้วิธีการ “หลอกล่อ” คู่ต่อสู้ในการจำลองการรบในอวกาศได้ในที่สุด
  1. นักวิจัยชาวจีนอ้างว่าได้พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่รู้วิธีการ “หลอกล่อ” คู่ต่อสู้ในการจำลองการรบในอวกาศ 
  2.  
  3. สำนักข่าว SCMP (South China Morning Post) รายงานการทดลองด้านอวกาศล่าสุดของจีน เผยว่า ได้ทดลองระบบ AI ที่กำหนดให้ดาวเทียมขนาดเล็กสามดวงเข้าไปและจับกุมเป้าหมายที่เป็นสถานีอวกาศมาแล้วนับหมื่นครั้ง โดยรายงานระบุว่า ยานอวกาศฝ่ายเป้าหมายเรียนรู้ที่จะตรวจพบถึงภัยคุกคามที่กำลังจะเกิดขึ้น และยังเรียนรู้การปรับทิศทางไอพ่นเครื่องขับดันเพื่อหลบหนีการไล่ล่า

  4. ในส่วนของฝ่ายผู้ล่านั้น ตอนแรก AI สั่งให้ดาวเทียมผู้ล่าทั้งสามลำเบี่ยงออกจากเส้นทางเดิม โดยแสร้งเหมือนกับว่าจะเลิกไล่ล่า จากนั้นก็สร้างกับดักขึ้น จนกระทั่งระยะห่างระหว่างผู้ล่ากับผู้ถูกล่าเหลือน้อยกว่า 10 เมตร และดาวเทียมผู้ล่า 1 ลำก็พลิกกลับทิศทางอย่างกะทันหันและสามารถจับกุมผู้ล่าได้ในที่สุด ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการหลอกล่อนั่นเอง

  5. บทความการวิจัยนี้ ถูกตีพิมพ์เมื่อวันที่ 25 เมษายน ในวารสารวิชาการ Aerospace Shanghai ของจีน โดย ศ.ตั้ง เจ้าหุ่ย (Dang Jaohui) ศาสตราจารย์ด้านอวกาศศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Northwestern Polytechnical ในเมืองซีอาน ประเทศจีน กล่าวว่า "เหตุการณ์นี้น่าทึ่งอย่างมาก"
  6.  
  7. ทีมงานเบื้องหลังการทดลองยังเผยว่า แท้จริงแล้ว การไล่ตามเป้าหมายขนาดใหญ่ในวงโคจรโลกนั้นไม่ง่ายอย่างที่คนส่วนใหญ่คิด รายงานการวิจัยก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่พบว่า การไล่ตามเป้าหมายในวงโคจรหรือในอวกาศ นับเป็นการยกระดับปัญหาทางคณิตศาสตร์และการคำนวณ โดยปัจจุบันนี้ เทคโนโลยี AI ของมนุษย์ยังคงอยู่ในขั้นที่ต้องกำหนดให้เป้าหมายต้องมีความเชื่องช้า ไม่สามารถสื่อสารได้ อีกทั้งยังมองไม่เห็นภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น แต่ในอนาคต เทคโนโลยีอาจทำให้ AI ควบคุมยานได้โดยอิสระ และจะถูกยกระดับความสามารถในการโจมตี และการตั้งรับในสถานการณ์สงครามได้เหนือมนุษย์ไปอีกหลายเท่า

  8. ปัจจุบัน ประเทศมหาอำนาจ ปกป้องทรัพย์สินในอวกาศด้วยเครือข่ายระบบเฝ้าระวังภัย และเซ็นเซอร์หลากหลายประเภท พร้อมกับใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการดูแลความปลอดภัยของดาวเทียม รายงานชิ้นนี้ยังชี้ด้วยว่า การจู่โจมดาวเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาวเทียมแจ้งเตือนภัยคุกคาม มักถูกมองว่าเป็นหมุดหมายแห่ง "สงครามนิวเคลียร์" ขณะที่ ศ.ตั้ง เจ้าหุ่ย (Dang Jaohui) และเพื่อนร่วมงานของเขาจาก Shanghai Institute of Aerospace System Engineering อ้างว่า จะไม่มีที่เหลือให้กับมนุษย์ในสงครามอวกาศรูปแบบใหม่ โดย AI จะเป็นผู้ควบคุมทั้งเป้าหมายและนักล่า
  9.  
  10. ทั้งนี้ นักวิจัยเหล่านี้ยังทดลองให้ AI เล่นเกมแมวจับหนูอย่างต่อเนื่องโดยปราศจากการแทรกแซงของมนุษย์ และให้ผู้ประเมิน AI ตรวจสอบผลการแข่งขันในแต่ละรอบ โดยมอบรางวัลและบทลงโทษตัวอย่างที่ทำให้ฝ่ายผู้ล่าต้องเสียค่าปรับ ก็คือการใช้กำลังหนักขึ้น ใช้เวลามากเกินไป หรือการชนกับเพื่อนร่วมทีม ซึ่งหากเกิดปัญหาเหล่านี้ ฝ่ายตรงข้ามจะได้รับคะแนนพิเศษ
  11.  
  12. ในการฝึกซ้อม 10,000 รอบแรก ทั้ง 2 ฝ่ายประสบปัญหา โดยจำนวนบทลงโทษทั้งหมดมีมากกว่ารางวัลหลายเท่า แต่หลังจากการฝึกฝนผ่านไปประมาณ 20,000 รอบ ดาวเทียมผู้ล่ามีอัตราการเรียนรู้ที่เร็วขึ้น โดย ศ. ตั้ง ชี้ว่า อาจเป็นเพราะการทำงานเป็นทีม
  13.  
  14. หลังจากความพ่ายแพ้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในไม่ช้า ดาวเทียมฝ่ายถูกล่า ก็เริ่มเรียนรู้ที่จะรู้จักกลยุทธ์ง่าย ๆ ของดาวเทียมผู้ล่า และยกระดับความสามารถในการหลบเลี่ยงการถูกไล่ล่าของตนเอง และกฎของเกมก็เริ่มเปลี่ยนไป และถูกปรับใช้ด้วยเทคนิคที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การทำงานเป็นทีม การวางแผน และการหลอกล่อ ซึ่งเพิ่มโอกาสในการจับกุมตัวมากขึ้น
  15.  
  16. ศ. ตั้ง ยังเผยว่า  “หลังจากการฝึกฝนมากกว่า 220,000 รอบ ฝ่ายถูกไล่ล่า ก็ไม่ทำผิดพลาดอีกต่อไป” 
  17.  

ที่มาของข้อมูล eurasiantimes.com

ที่มาของรูปภาพ Twitter

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง