ทิเบตวิจัย 'โบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์' ก้าวหน้า
ข่าววันนี้ 20 เม.ย. (ซินหัว) -- เขตปกครองตนเองทิเบต (ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน บรรลุความก้าวหน้าในการวิจัยทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ เนื่องด้วยการมุ่งมั่นวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมยุคหินเก่า ต้นกำเนิดมนุษย์ และเส้นสายทางวัฒนธรรมของโบราณคดี
สำนักมรดกวัฒนธรรมทิเบตระบุว่าทิเบตดำเนินโครงการตรวจสอบและขุดค้นทางโบราณคดีทั้งหมด 21 โครงการ และทำการสำรวจพิเศษในวัดถ้ำหินแกะสลัก 277 แห่งในปี 2021 รวมถึงจัดตั้งกรอบเวลา-พื้นที่ของวัฒนธรรมโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์
คณะนักโบราณคดีได้ขุดค้นหลุมศพ หลุมบ่อ และสถานที่อยู่อาศัยของมนุษย์ 10 แห่ง ณ แหล่งโบราณวัตถุหม่าปู้ชั่วในอำเภอคังหม่า ซึ่งมีความเก่าแก่ราว 4,000 ปี ในปี 2020 และ 2021
เซี่ยเก๋อว่างตุย นักวิจัยจากสถาบันคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมทิเบต กล่าวว่าแหล่งโบราณวัตถุหม่าปู้ชั่วเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่สุดที่ถูกค้นพบในใจกลางทิเบต รวมถึงมีรูปแบบวัฒนธรรมการตกปลาและการล่าสัตว์ริมทะเลสาบอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
การค้นพบนี้มีนัยสำคัญยิ่งยวดต่อการสำรวจวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ และวิธีที่มนุษย์ปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศหนาวเย็นและภาวะขาดแคลนออกซิเจนบนที่ราบสูง
ทั้งนี้ ทิเบตจะดำเนินงานวิจัยโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ต่อไป โดยมุ่งสรุปโครงการโบราณคดีมากกว่า 10 โครงการในปี 2022